อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +0.03% แต่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 10 ปีปรับลดลง -0.03% ซึ่งเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยในช่วงแรกอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุจากความกังวลของตลาดต่อนโยบายเศรษฐกิจของ Donald Trump ที่จะทำให้ตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในช่วงต่อมา ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการที่ Donald Trump เตรียมเสนอชื่อ นาย Scott Bessent เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งนาย Scott Bessent มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับในตลาดการเงินมาอย่างยาวนาน ทำให้นักลงทุนเชื่อว่า การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจจะเป็นผลบวกต่อตลาดมากขึ้นทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในทุกช่วงอายุ -0.04% ถึง -0.20% เป็นการปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงปลายเดือนตามการเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่อแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ในอนาคต หลังอัตราเงินเฟ้อไทยในเดือนต.ค.ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำเพียง 0.83% ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธปท.ที่ระดับ 1-3% ทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ สำหรับตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2567 ขยายตัวที่ 3.0% จากปัจจัยสนับสนุนของการฟื้นตัวในธุรกิจท่องเที่ยว การใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชนที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนมีสัญญาณการชะลอตัวลง ทั้งนี้ สศช.คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 และ 2568 จะขยายตัวได้ในระดับ 2.6% และ 2.3% – 3.3% ตามลำดับ
สำหรับในระยะต่อไปยังคงคาดว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงได้รับปัจจัยบวกจากความคาดหวังของตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ในอนาคต จากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังขยายตัวอย่างช้าๆ ขณะที่ ตลาดอาจมีความผันผวนตามทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +0.03% แต่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 10 ปีปรับลดลง -0.03% ซึ่งเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยในช่วงแรกอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุจากความกังวลของตลาดต่อนโยบายเศรษฐกิจของ Donald Trump ที่จะทำให้ตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในช่วงต่อมา ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการที่ Donald Trump เตรียมเสนอชื่อ นาย Scott Bessent เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งนาย Scott Bessent มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับในตลาดการเงินมาอย่างยาวนาน ทำให้นักลงทุนเชื่อว่า การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจจะเป็นผลบวกต่อตลาดมากขึ้นทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในทุกช่วงอายุ -0.04% ถึง -0.20% เป็นการปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงปลายเดือนตามการเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่อแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ในอนาคต หลังอัตราเงินเฟ้อไทยในเดือนต.ค.ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำเพียง 0.83% ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธปท.ที่ระดับ 1-3% ทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ สำหรับตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2567 ขยายตัวที่ 3.0% จากปัจจัยสนับสนุนของการฟื้นตัวในธุรกิจท่องเที่ยว การใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชนที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนมีสัญญาณการชะลอตัวลง ทั้งนี้ สศช.คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 และ 2568 จะขยายตัวได้ในระดับ 2.6% และ 2.3% – 3.3% ตามลำดับ
สำหรับในระยะต่อไปยังคงคาดว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงได้รับปัจจัยบวกจากความคาดหวังของตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ในอนาคต จากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังขยายตัวอย่างช้าๆ ขณะที่ ตลาดอาจมีความผันผวนตามทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 เป็นต้นไป