ประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนธ.ค. คือ การประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสิ่งที่ตลาดจับตามองมากที่สุด คือ การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เนื่องจากจะออก Dot plot ชุดใหม่ ซึ่งจะเป็นการบ่งชี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนนี้ หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาค่อนข้างดีกว่าคาด โดยเฉพาะตัวเลข PPI (ดัชนีราคาผู้ผลิต) ในเดือนพ.ย. ที่ออกมา 3.0% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2023 ส่งผลให้ Yield ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องด้วยความหวังของตลาดว่า Fed น่าจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ซึ่งได้เป็นไปตามผลการประชุมชองธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ออกมา โดยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาสู่ระดับ 4.25%-4.50% ตามที่ตลาดคาดไว้ และ Dot plot ชุดใหม่ที่ออกมาบ่งชี้ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าเพียง 2 ครั้งหรือ 0.50% จากเดิม 4 ครั้ง หรือ 1.00% ตามที่ Fed เคยประมาณการไว้เมื่อการประชุมเดือนก.ย. ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.05% มาอยู่ที่ 4.24% และ รุ่น 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.30% มาอยู่ที่ 4.55%
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในกลุ่มอายุคงเหลือระยะสั้นและยาว ในช่วง -0.02% ถึง
-0.20% โดยเฉพาะช่วงระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ปรับลดลงมากกว่า 0.15% ขณะที่ช่วงอายุ 2-8 ปีที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.02% โดยในเดือนนี้ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนพ.ย. ขยายตัวที่ 0.95%YoY จาก 0.83%YoY ในเดือนต.ค. แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1%-3% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นอกจากนี้ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบสุดท้ายของปี ได้มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เมื่อเดือนต.ค. โดยการคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ กนง. ให้ความเห็นว่า ระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ นำพาเงินเฟ้อกลับเข้ากรอบเป้าหมาย และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy space) ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่มีเพิ่มมากขึ้น จากนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะนโยบายด้านการค้า
สำหรับในระยะต่อไปยังคงคาดว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงได้รับปัจจัยบวกจากความคาดหวังของตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. ในอนาคตจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังขยายตัวอย่างช้าๆ ขณะที่ ตลาดตราสารหนี้ยังอาจเผชิญกับความผันผวนตามทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค. 2025 เป็นต้นไป
Fund Comment
Fund Comment ธันวาคม 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนธ.ค. คือ การประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสิ่งที่ตลาดจับตามองมากที่สุด คือ การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เนื่องจากจะออก Dot plot ชุดใหม่ ซึ่งจะเป็นการบ่งชี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนนี้ หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาค่อนข้างดีกว่าคาด โดยเฉพาะตัวเลข PPI (ดัชนีราคาผู้ผลิต) ในเดือนพ.ย. ที่ออกมา 3.0% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2023 ส่งผลให้ Yield ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องด้วยความหวังของตลาดว่า Fed น่าจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ซึ่งได้เป็นไปตามผลการประชุมชองธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ออกมา โดยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาสู่ระดับ 4.25%-4.50% ตามที่ตลาดคาดไว้ และ Dot plot ชุดใหม่ที่ออกมาบ่งชี้ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าเพียง 2 ครั้งหรือ 0.50% จากเดิม 4 ครั้ง หรือ 1.00% ตามที่ Fed เคยประมาณการไว้เมื่อการประชุมเดือนก.ย. ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.05% มาอยู่ที่ 4.24% และ รุ่น 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.30% มาอยู่ที่ 4.55%
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในกลุ่มอายุคงเหลือระยะสั้นและยาว ในช่วง -0.02% ถึง
-0.20% โดยเฉพาะช่วงระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ปรับลดลงมากกว่า 0.15% ขณะที่ช่วงอายุ 2-8 ปีที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.02% โดยในเดือนนี้ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนพ.ย. ขยายตัวที่ 0.95%YoY จาก 0.83%YoY ในเดือนต.ค. แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1%-3% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นอกจากนี้ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบสุดท้ายของปี ได้มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เมื่อเดือนต.ค. โดยการคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ กนง. ให้ความเห็นว่า ระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ นำพาเงินเฟ้อกลับเข้ากรอบเป้าหมาย และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy space) ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่มีเพิ่มมากขึ้น จากนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะนโยบายด้านการค้า
สำหรับในระยะต่อไปยังคงคาดว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงได้รับปัจจัยบวกจากความคาดหวังของตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. ในอนาคตจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังขยายตัวอย่างช้าๆ ขณะที่ ตลาดตราสารหนี้ยังอาจเผชิญกับความผันผวนตามทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค. 2025 เป็นต้นไป