ตลาดหุ้นโลกในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากเดือนก่อนหน้าและมีความผันผวนมาก จากความกังวลของสงครามการค้าที่รุนแรงกว่าตลาดคาด โดยเฉพาะการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ กับทุกประเทศคู่ค้าในอัตราสูง ซึ่งแตกต่างจากที่ตลาดคาดมาก ว่า จะเน้นเฉพาะที่ประเทศจีน แต่สิ่งที่เป็นประเด็นซึ่งทำให้ตลาดกังวลมากขึ้น คือ ท่าทีการตอบโต้ ด้วยการขู่จะขึ้นภาษีกลับของหลายประเทศ แทนที่จะเป็นการประนีประนอม เพราะอาจนำไปสู่การชะงักงันของการค้าโลกและวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
โดยเริ่มจากการที่สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นของสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโก และต่อมาเกิดการตอบโต้จากฝั่งแคนาดา ด้วยการขู่ขึ้นภาษีไฟฟ้า ทำให้เกิดการโต้กลับจากทางฝั่งสหรัฐฯ โดยการขู่ขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมต่อแคนาดา เพิ่มขึ้นเป็น 50% แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้ยกเลิกรายการเพิ่มเติมดังกล่าวในภายหลัง
และในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา สหรัฐฯ การประกาศตั้งกำแพงภาษีครั้งใหญ่ขึ้น โดยมีเกือบ 60 ประเทศที่ต้องเผชิญกับอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้ ระหว่าง 10-49% ขึ้นอยู่กับยอดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศนั้นๆ เพื่อเร่งการเจรจาการค้าขึ้นภาษีดังกล่าว แต่ประเทศขนาดใหญ่ อย่างจีน ที่มีท่าทีที่แข็งกร้าว และตอบโต้ภาษีกลับไปยังสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่ากันที่ 34% และล่าสุด ปรับเพิ่มเป็น 104% ส่งผลให้ตลาดโลกเกิดความผันผวนอย่างมาก ก่อนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์จะประกาศเลื่อนการเก็บภาษีส่วนที่เกินจาก 10% ออกไปอีก 90 วันสำหรับประเทศอื่นนอกจากจีน ซึ่งทำให้ตลาดคลายความกังวลไปได้มาก จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะเกิดขึ้น ถ้ามาตรการดังกล่าวมีผลใช้จริง ซึ่งหลังจากนี้ ตลาดก็ยังคงมีความผันผวนในระหว่างที่สหรัฐฯ ดำเนินการเจรจาการค้ากับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีนด้วย
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาระหว่างเดือน เช่น ตัวเลขการจ้างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน PCE เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยและสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยจากคำแถลงการณ์หลังจากการประชุม FED ครั้งล่าสุด ปรับลดการคาดการณ์ของ GDP ลงแล้ว เหลือ 1.7% ในขณะที่ เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าที่คาด สะท้อนถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในอนาคต ถ้าหากการเจรจาทางภาษีไม่สำเร็จ หรือหากปรับขึ้นภาษีตามมาในที่สุด จะส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศและเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ซึ่งเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดโลก โดยตลาดได้เผชิญกับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าที่ลุกลามบานปลาย และล่าสุดไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่โดนภาษีนำเข้าตอบโต้สูงถึง 36% เนื่องจากไทยมีมูลค่าการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงถึง 4.56 หมื่นล้านดอลลาร์ จากสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร และอาหารแปรรูป แม้ว่าจะเลื่อนการใช้ภาษีระดับสูงนั้นออกไปอีก 90 วัน แต่ผลที่จะออกมานั้นก็ยังมีความไม่แน่นอน
โดยจากการประเมินผลกระทบต่อ GDP ไทยในหลายสำนัก พบว่า จากการขึ้นภาษีเต็มรูปแบบดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยประมาณ 1% ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะลดลงเหลือ 1.3-1.4% ซึ่งจากการประเมินดังกล่าวยังไม่ได้นับรวมถึงผลจากการที่รัฐบาลไทยเตรียมไปเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ อาทิ การนำเข้าสินค้าเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ เช่น พลังงาน เครื่องบิน สินค้าเกษตร รวมถึงเสนอส่งเสริมการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ พร้อมลดเงื่อนไขการนำเข้าต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องกันและปราบปรามการสวมสิทธิของต้นกำเนิดสินค้าที่ใช้ไทยเป็นทางผ่าน เพื่อเป็นการเจรจาต่อรองแลกกับการไม่ขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ ซึ่งยังต้องติดตามกันต่อไป
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยยังถูกกระทบจากปัจจัยภายในที่สำคัญ อย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับตึกสูงในประเทศไทยเป็นวงกว้าง โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหลักจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ โดยเฉพาะผู้ที่มีสัดส่วนการขายคอนโดสูง จะมีแนวโน้มยอดขายที่จะชะลอตัวลงจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงต่อจากนี้ ส่วนกลุ่มประกันจะมีอัตราการเคลมประกันที่สูงขึ้น ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวคาดว่า นักท่องเที่ยวจะลดลงในระยะสั้น โดยเรามองว่า ตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ ยังคงมีความเสี่ยงที่ยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายปัจจัย ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้ สำหรับการลงทุนหุ้นไทยต่อจากนี้ เรามองว่า ควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic และ Defensive เป็นหลัก
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2025: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากเดือนก่อนหน้าและมีความผันผวนมาก จากความกังวลของสงครามการค้าที่รุนแรงกว่าตลาดคาด โดยเฉพาะการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ กับทุกประเทศคู่ค้าในอัตราสูง ซึ่งแตกต่างจากที่ตลาดคาดมาก ว่า จะเน้นเฉพาะที่ประเทศจีน แต่สิ่งที่เป็นประเด็นซึ่งทำให้ตลาดกังวลมากขึ้น คือ ท่าทีการตอบโต้ ด้วยการขู่จะขึ้นภาษีกลับของหลายประเทศ แทนที่จะเป็นการประนีประนอม เพราะอาจนำไปสู่การชะงักงันของการค้าโลกและวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
โดยเริ่มจากการที่สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นของสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโก และต่อมาเกิดการตอบโต้จากฝั่งแคนาดา ด้วยการขู่ขึ้นภาษีไฟฟ้า ทำให้เกิดการโต้กลับจากทางฝั่งสหรัฐฯ โดยการขู่ขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมต่อแคนาดา เพิ่มขึ้นเป็น 50% แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้ยกเลิกรายการเพิ่มเติมดังกล่าวในภายหลัง
และในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา สหรัฐฯ การประกาศตั้งกำแพงภาษีครั้งใหญ่ขึ้น โดยมีเกือบ 60 ประเทศที่ต้องเผชิญกับอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้ ระหว่าง 10-49% ขึ้นอยู่กับยอดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศนั้นๆ เพื่อเร่งการเจรจาการค้าขึ้นภาษีดังกล่าว แต่ประเทศขนาดใหญ่ อย่างจีน ที่มีท่าทีที่แข็งกร้าว และตอบโต้ภาษีกลับไปยังสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่ากันที่ 34% และล่าสุด ปรับเพิ่มเป็น 104% ส่งผลให้ตลาดโลกเกิดความผันผวนอย่างมาก ก่อนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์จะประกาศเลื่อนการเก็บภาษีส่วนที่เกินจาก 10% ออกไปอีก 90 วันสำหรับประเทศอื่นนอกจากจีน ซึ่งทำให้ตลาดคลายความกังวลไปได้มาก จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะเกิดขึ้น ถ้ามาตรการดังกล่าวมีผลใช้จริง ซึ่งหลังจากนี้ ตลาดก็ยังคงมีความผันผวนในระหว่างที่สหรัฐฯ ดำเนินการเจรจาการค้ากับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีนด้วย
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาระหว่างเดือน เช่น ตัวเลขการจ้างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน PCE เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยและสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยจากคำแถลงการณ์หลังจากการประชุม FED ครั้งล่าสุด ปรับลดการคาดการณ์ของ GDP ลงแล้ว เหลือ 1.7% ในขณะที่ เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าที่คาด สะท้อนถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในอนาคต ถ้าหากการเจรจาทางภาษีไม่สำเร็จ หรือหากปรับขึ้นภาษีตามมาในที่สุด จะส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศและเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ซึ่งเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดโลก โดยตลาดได้เผชิญกับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าที่ลุกลามบานปลาย และล่าสุดไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่โดนภาษีนำเข้าตอบโต้สูงถึง 36% เนื่องจากไทยมีมูลค่าการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงถึง 4.56 หมื่นล้านดอลลาร์ จากสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร และอาหารแปรรูป แม้ว่าจะเลื่อนการใช้ภาษีระดับสูงนั้นออกไปอีก 90 วัน แต่ผลที่จะออกมานั้นก็ยังมีความไม่แน่นอน
โดยจากการประเมินผลกระทบต่อ GDP ไทยในหลายสำนัก พบว่า จากการขึ้นภาษีเต็มรูปแบบดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยประมาณ 1% ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะลดลงเหลือ 1.3-1.4% ซึ่งจากการประเมินดังกล่าวยังไม่ได้นับรวมถึงผลจากการที่รัฐบาลไทยเตรียมไปเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ อาทิ การนำเข้าสินค้าเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ เช่น พลังงาน เครื่องบิน สินค้าเกษตร รวมถึงเสนอส่งเสริมการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ พร้อมลดเงื่อนไขการนำเข้าต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องกันและปราบปรามการสวมสิทธิของต้นกำเนิดสินค้าที่ใช้ไทยเป็นทางผ่าน เพื่อเป็นการเจรจาต่อรองแลกกับการไม่ขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ ซึ่งยังต้องติดตามกันต่อไป
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยยังถูกกระทบจากปัจจัยภายในที่สำคัญ อย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับตึกสูงในประเทศไทยเป็นวงกว้าง โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหลักจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ โดยเฉพาะผู้ที่มีสัดส่วนการขายคอนโดสูง จะมีแนวโน้มยอดขายที่จะชะลอตัวลงจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงต่อจากนี้ ส่วนกลุ่มประกันจะมีอัตราการเคลมประกันที่สูงขึ้น ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวคาดว่า นักท่องเที่ยวจะลดลงในระยะสั้น โดยเรามองว่า ตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ ยังคงมีความเสี่ยงที่ยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายปัจจัย ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้ สำหรับการลงทุนหุ้นไทยต่อจากนี้ เรามองว่า ควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic และ Defensive เป็นหลัก