ตลาดหุ้นโลกในเดือนมิถุนายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เคลื่อนไหวผันผวน ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งยังคงเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญหลายด้าน ทั้งการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการเงิน และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ล่าสุดทางสหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงด้านภาษีระหว่างสองฝ่าย รวมถึงการคลี่คลายมาตรการห้ามส่งออกแร่หายาก เป็นปัจจัยบวกต่อซัพพลายเชนด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าจากประเทศอื่นเพิ่มเติม เช่น เวียดนาม ซึ่งจะมีอัตราสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ 20% สำหรับสินค้าตรง เป็นต้น ขณะที่ การเจรจากับประเทศอื่นๆ ยังคงเดินหน้าต่อไป
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน มีสัญญาณที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่วน Nonfarm Payrolls เดือนพฤษภาคมออกมาสูงกว่าคาด ขณะที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และ Core CPI ยังอยู่ในระดับที่ไม่กดดันให้เกิดการปรับลดดอกเบี้ยในระยะสั้น ทั้งนี้ Fed ยังส่งสัญญาณผ่าน Dot Plot ว่า ยังไม่รีบลดดอกเบี้ย และประธาน Jerome Powell ย้ำจุดยืนระมัดระวังต่อการดำเนินนโยบายการเงิน
ในทางกลับกัน ตลาดหุ้นไทยในเดือนมิถุนายน ปรับตัวลดลงสวนทางกับตลาดโลก โดยถูกแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ด้านปัจจัยในประเทศด้านเสถียรภาพทางการเมือง ยังเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากกรณีคลิปเสียงสนทนาระหว่างนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับผู้นำกัมพูชา ซึ่งส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 อีกทั้งการถอนตัวของพรรคภูมิใจไทยจากพรรคร่วมรัฐบาล อาจนำไปสู่ภาวะสุญญากาศทางนโยบายและการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งจะมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้นถึงกลาง
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้ประกาศจะเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยที่อัตรา 36% โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 สิงหาคม 2568 ซึ่งถ้าหากถูกใช้จริงจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยหลายสินค้า โดยเฉพาะการส่งออกกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์จากยาง สินค้าทะเล หรืออาหารสัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ทางการไทยยังมีเวลาที่จะเร่งเจรจาอัตราภาษีต่อไป นอกจากนี้ ความตึงเครียดชายแดนไทย-กัมพูชาที่ปะทุขึ้นกลางเดือน ก็จะส่งผลกระทบบางส่วนต่อสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังประเทศกัมพูชา ซึ่งปัจจัยดังล่าวมานี้ จะยิ่งกระทบเพิ่มเติมไปจากตัวเลขเศรษฐกิจไทย ล่าสุดยังสะท้อนสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะภาคบริการและอุตสาหกรรม ขณะที่ รายได้เกษตรกรและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค
เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ เราคงมุมมองว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีแนวโน้มผันผวนจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และแรงกดดันจากภายนอกประเทศ โดยปัจจัยที่เราต้องติดตามจากนี้ คือ ผลการเจรจาการค้าของไทยและสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้น รวมถึงประเด็นทิศทางการเมืองต่อจากนี้ ดังนั้น เรามองว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวน และการฟื้นตัวของตลาดต่อจากนี้ยังมีอยู่จำกัด
Fund Comment
Fund Comment มิถุนายน 2025: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนมิถุนายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เคลื่อนไหวผันผวน ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งยังคงเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญหลายด้าน ทั้งการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการเงิน และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ล่าสุดทางสหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงด้านภาษีระหว่างสองฝ่าย รวมถึงการคลี่คลายมาตรการห้ามส่งออกแร่หายาก เป็นปัจจัยบวกต่อซัพพลายเชนด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าจากประเทศอื่นเพิ่มเติม เช่น เวียดนาม ซึ่งจะมีอัตราสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ 20% สำหรับสินค้าตรง เป็นต้น ขณะที่ การเจรจากับประเทศอื่นๆ ยังคงเดินหน้าต่อไป
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน มีสัญญาณที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่วน Nonfarm Payrolls เดือนพฤษภาคมออกมาสูงกว่าคาด ขณะที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และ Core CPI ยังอยู่ในระดับที่ไม่กดดันให้เกิดการปรับลดดอกเบี้ยในระยะสั้น ทั้งนี้ Fed ยังส่งสัญญาณผ่าน Dot Plot ว่า ยังไม่รีบลดดอกเบี้ย และประธาน Jerome Powell ย้ำจุดยืนระมัดระวังต่อการดำเนินนโยบายการเงิน
ในทางกลับกัน ตลาดหุ้นไทยในเดือนมิถุนายน ปรับตัวลดลงสวนทางกับตลาดโลก โดยถูกแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ด้านปัจจัยในประเทศด้านเสถียรภาพทางการเมือง ยังเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากกรณีคลิปเสียงสนทนาระหว่างนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับผู้นำกัมพูชา ซึ่งส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 อีกทั้งการถอนตัวของพรรคภูมิใจไทยจากพรรคร่วมรัฐบาล อาจนำไปสู่ภาวะสุญญากาศทางนโยบายและการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งจะมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้นถึงกลาง
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้ประกาศจะเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยที่อัตรา 36% โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 สิงหาคม 2568 ซึ่งถ้าหากถูกใช้จริงจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยหลายสินค้า โดยเฉพาะการส่งออกกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์จากยาง สินค้าทะเล หรืออาหารสัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ทางการไทยยังมีเวลาที่จะเร่งเจรจาอัตราภาษีต่อไป นอกจากนี้ ความตึงเครียดชายแดนไทย-กัมพูชาที่ปะทุขึ้นกลางเดือน ก็จะส่งผลกระทบบางส่วนต่อสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังประเทศกัมพูชา ซึ่งปัจจัยดังล่าวมานี้ จะยิ่งกระทบเพิ่มเติมไปจากตัวเลขเศรษฐกิจไทย ล่าสุดยังสะท้อนสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะภาคบริการและอุตสาหกรรม ขณะที่ รายได้เกษตรกรและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค
เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ เราคงมุมมองว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีแนวโน้มผันผวนจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และแรงกดดันจากภายนอกประเทศ โดยปัจจัยที่เราต้องติดตามจากนี้ คือ ผลการเจรจาการค้าของไทยและสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้น รวมถึงประเด็นทิศทางการเมืองต่อจากนี้ ดังนั้น เรามองว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวน และการฟื้นตัวของตลาดต่อจากนี้ยังมีอยู่จำกัด