เศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค. ขยายตัวดี ตามการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวดีและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิต ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน กลุ่มยานยนต์ เคมี และ HDD ยังเติบโตแข็งแกร่ง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในทุกหมวดแต่ชะลอจากเดือน เม.ย. ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากผลของเทศกาลฟุตบอลและรอมฎอนเหลื่อมปี
การบริโภคภาคเอกชน
ขยายตัวที่ 5.6% YoY (prev. 5.3% YoY) หรือ 0.9% MoM sa ตามการใช้จ่ายในทุกหมวด ภาพรวมของกำลังซื้อโดยรวมมีทิศทางปรับดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยรายได้ ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมและรายได้รวมลูกจ้างนอกภาคเกษตรกรรม ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน
- การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัว 9.5% YoY (prev. 11.2% YoY) หรือ 0.3% MoM sa จากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ ขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์หดตัว
- การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 2.9% YoY (prev. 4.2% YoY) หรือ 0.1% MoM sa ตามปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม และ ปริมาณการค้าปลีกสินค้ากึ่งคงทนภายในประเทศโดยเฉพาะในกลุ่ม อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์
- การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.2% YoY ทรงตัวจากปีก่อน หรือ -0.3% MoM sa ตามยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภค ในเกือบทุกหมวดและปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัว ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหดตัวจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น
- การใช้จ่ายในหมวดบริการ ขยายตัวต่อเนื่องที่ 8.5% YoY (prev. 8.0% YoY) หรือ 0.9%MoM sa จากหมวดโรงแรมและภัตตาคาร และหมวดขนส่ง สอดคล้องกับ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชน
ขยายตัว 2.4% YoY (prev. 5.4% YoY) หรือ 0.9% MoM sa ในรายองค์ประกอบ
- การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวชะลอลง (1.5% YoY vs. prev. 10.3% YoY)ตามการนำเข้าสินค้าทุนของภาคเอกชน
- ยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ ขยายตัว 4.6% YoY (prev. 7.5% YoY) ชะลอตามหมวดคอมพิวเตอร์ และหมวดมอเตอร์และเครื่อง กำเนิดไฟฟ้า ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวที่ 4.4% YoY (prev. 12.1% YoY)
- การลงทุนด้านการก่อสร้าง ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัว 2.3% YoY จากที่ไม่ขยายตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า
- การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ 3.2% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 3.1% YoY หรือ 1.8% MoM sa โดยหมวดยานยนต์ เคมีภัณฑ์ HDD ขยายตัวได้แข็งแกร่ง ส่วนหมวดซีเมนต์กลับพลิกตัวเป็นบวกที่ 6.8% YoYจากที่หดตัว -1.0% YoY ในเดือนก่อนหน้า
นักท่องเที่ยวต่างชาติ มีจำนวน 2.755 ล้านคน
- ชะลอลงที่ 6.4% YoY (prev. 9.4% YoY) หรือ -1.5% MoM sa โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีน ฮ่องกง กลุ่มอาเซียนที่ไม่รวมมาเลเซีย และเอเชียใต้โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากอินเดีย ขยายตัวดีขณะที่นักท่องเที่ยวมาเลเซียและและตะวันออกกลางโดยเฉพาะจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเทศกาลรอมฎอนที่ในปีนี้ เริ่มเร็วกว่าปีก่อน และนักท่องเที่ยวรัสเซียหดตัวจากการชะลอการท่องเที่ยวก่อนเทศกาลฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นที่ประเทศรัสเซีย
รายได้เกษตรกรขยายตัวเร่งขึ้นที่ 10.3% YoY (prev 8.7% YoY)
- จากด้านผลผลิตที่ขยายตัวดีในทุกหมวดหลักโดยเฉพาะยางพารา อ้อย และข้าว เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากจาก สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวน้อยลงตามราคายางพาราจากผลของฐานราคาที่สูงจากเหตุการณ์อุทกภัยในภาคใต้ในปีก่อนทยอยหมดลง ประกอบกับได้รับผลบวกจากราคาข้าวที่ขยายตัวทั้งข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ ตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากประเทศฟิลิปปินส์
การส่งออก
ขยายตัวต่อเนื่องที่ 13.1% YoY (prev. 14.2% YoY)หรือ 1.1% MoM sa และหากหักทองคำขยายตัว 12.2% YoY (prev. 13.7% YoY) หรือ 1.5% MoM sa โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องในหลายหมวดสินค้า จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ดีต่อเนื่องและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น โดย
- สินค้าที่มูลค่าการส่งออกเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบ ขยายตัวดีทั้งด้านปริมาณและด้านราคา จากการส่งออกปิโตรเคมีไปจีน เวียดนาม และญี่ปุ่น ตามความต้องการของตลาดที่ยังมีต่อเนื่อง ประกอบกับ ผลจากการย้ายฐานการผลิตเข้ามาไทยในช่วงก่อนหน้า และการส่งออก เคมีภัณฑ์ไปจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมไปกัมพูชา มาเลเซีย และอินเดีย
- ยานยนต์และชิ้นส่วน จากการส่งออกรถยนต์นั่งและรถกระบะ ตามความต้องการที่มีต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ที่ขยายตัวดีตามการส่งออกยางล้อไป สหรัฐฯ กระปุกเกียร์ไปจีน และเครื่องยนต์ไปแอฟริกาใต้และ
- สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวตามการส่งออก HDD ที่ได้รับผลดีจากการ ขยายกำลังการผลิตในช่วงก่อนหน้า และการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟฟ้าและสายไฟที่ใช้ในรถยนต์
- การส่งออกสินค้าเกษตรลดลงตามการส่งออกยางพาราและผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน โดยเป็นผลจากฐานที่สูงในระยะเดียวกันปีก่อน
การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทย ขยายตัว 12.7% YoY (prev. 25.8% YoY) หรือ -0.5% MoM sa และหากหักทองคำขยายตัว 12.5% YoY (prev. 26.0% YoY) หรือ -1.9% MoM sa โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องในหลายหมวดสินค้า ได้แก่
- หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางขยายตัวตามการนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ขณะที่ด้านปริมาณหดตัว ตามการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางแห่ง ส่วนการนำเข้าโลหะ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภท HDD และ IC ขยายตัวดีสอดคล้องกับภาคการส่งออก ในหมวดดังกล่าว
- หมวดสินค้าทุน ขยายตัวต่อเนื่องตามการนำเข้า อุปกรณ์โทรคมนาคม อาทิ โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์สอดคล้องกับ ทิศทางการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัว
- หมวดสินค้าอุปโภค บริโภคขยายตัวตามการนำเข้าสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว และ
- หมวดยานยนต์ขยายตัวดีจาก การนำเข้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล และชิ้นส่วนยานยนต์ สอดคล้องกับยอดจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง
ดุลการชำระเงิน
ดุลการชำระเงินเกินดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่ 0.9 พันล้านดอลลาร์ฯ ตามดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลลดลง (1.0 พันล้านดอลลาร์ฯ) จากดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ที่ขาดดุล (-1.7 พันล้านดอลลาร์ฯ)ตามการจ่ายกำไรและเงินปันผลตามฤดูกาลของบรรษัทข้ามชาติให้กับนักลงทุนต่างชาติตามทิศทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ประกอบกับรายรับจากภาคการท่องเที่ยวชะลอตัว อย่างไรก็ดี ดุลการค้ายังคงเกินดุลที่ 2.7 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ฯ) จากมูลค่า การส่งออกสุทธิที่ขยายตัวดี
ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ค่อนข้างสมดุลที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ โดยด้านสินทรัพย์เป็นการไหลเข้าสุทธิ จาก
- การถอนเงิน ฝากที่ครบกำหนดของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF) และการถอนเงินฝากของสถาบันที่รับฝากเงิน (ODC) เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ
- การขายหลักทรัพย์ ทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนของกองทุน FIF ในต่างประเทศ ขณะที่ด้านหนี้สินเป็นการไหลออกสุทธิจากการขายหลักทรัพย์สุทธิของนักลงทุน ต่างชาติทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน ตามผลตอบแทนที่ปรับลดลง สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ส่วนหนึ่งจาก แนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯ และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ระยะ 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น