BF Economic Research
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนมิ.ย.ขยายตัวที่ 1.38% YoY (prev. 1.5% YoY ) เมื่อเทียบรายเดือนหดตัว -0.09% MoM sa (prev. 0.56% MoM sa) โดยปัจจัยบวกที่ช่วยให้ระดับราคายังยืนเหนือ 1.0% ได้มาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ปัจจัยลบที่เป็นตัวฉุดระดับราคาคือ ราคาผักผลไม้สดที่พลิกกลับมาหดตัวในเดือน มิ.ย.
สำหรับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) หรืออัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน ขยายตัวที่ 0.83% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่ 0.8% YoY) เมื่อเทียบรายเดือนอยู่ที่ 0.11% MoM sa
สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2018 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.97% AoA ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.69% AoA
ในรายองค์ประกอบ
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง -0.03% YoY (prev. 0.74% YoY) จากการลดลงของผักสด -8.15% YoY (ผักคะน้า ผักกาดขาว) ผลไม้สด ลดลง -1.85% YoY (มะม่วง กล้วยน้ำว้า เงาะ สัปปะรด) ส่งผลให้หมวดผักและผลไม้ ลดลง -5.86% YoY หมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ลดลง -1.03% YoY (เนื้อสุกร ไก่สด กุ้งขาว) ไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลง -0.71% YoY (ไข่ไก่ นมข้นหวาน นมถั่วเหลือง) ขณะที่หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 2.69% YoY (ข้าวสารเจ้า ขนมอบ ขนมจีน) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.60% YoY (กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กาแฟร้อน/เย็น ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม) สวนทางกับรายได้ภาคเกษตรที่ขยายตัวสูงที่ 7.9% YoY
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 2.20% YoY (prev. 1.93% YoY) ตามการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร 4.14% YoY โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้น 12.90% YoY ตามการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทและก๊าซรถยนต์ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 5.86% YoY (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) หมวดเคหสถานสูงขึ้น 1.12% YoY (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม)
กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 2018 ให้ อยู่ระหว่าง 0.8-1.6% จากเดิม 0.7-1.7% กองทุนบัวหลวงมองว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.2% และ ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ทั้งปี 2018 นี้