Fund Comment, มิถุนายน 2561
ภาพรวมตลาดหุ้น
กระแสเงินลงทุนไหลออกจากต่างชาติยังเป็นแรงกดดันให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่าและธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น รวมถึงความกังวลเรื่อง Trade war ทำให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอยู่ในโหมด Risk off ส่งผลให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.00 ถึง 7.50 ในเดือน มิ.ย.
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มค้าปลีก ลดลงร้อยละ 9.88 จากความผิดหวังของตัวเลขการเติบโตยอดขายในสาขาเดิมของบางบริษัทขนาดใหญ่ ตามด้วยกลุ่มสื่อสารปรับตัวลดลงร้อยละ 9.06 จากความไม่แน่นอนในการประมูลคลื่นความถี่ และกลุ่มพลังงาน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.57 เพราะที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่ากลุ่มอื่น จึงถูกขายทำกำไร
แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำอย่างสหรัฐอเมริกา จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงและ ความตึงตัวทางการค้าโลก (Trade Tension) ยังเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ผลตอบแทนของเงินปันผลจากตลาดหุ้นยังคงให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 เติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยหากผลประกอบการในไตรมาส 2 ออกมาผิดหวังกว่าคาด ตลาดอาจจะมีการตอบรับในเชิงลบ กลยุทธ์การเลือกหุ้นรายตัวจึงมีความสำคัญต่อการลงทุนในระยะนี้
ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ซึ่งกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติมีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างสูง ตลอดเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ จนเป็นแรงผลักดันให้ผลตอบแทนตลาดติดลบ อย่างไรก็ตาม เมื่อผลประกอบการกลับมาฟื้นตัวดีอีกครั้ง เราคาดการณ์ว่า กระแสเงินลงทุนจะกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้นของภูมิภาคอาเซียน โดยที่ผ่านมาอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) ลดลงจากระดับ 17.5 เท่าในต้นเดือน มิ.ย. ลงมาอยู่ที่ระดับ 15 เท่าในช่วงสิ้นเดือน มิ.ย. เรามองว่าเป็นระดับที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในระยะกลางถึงยาวของตลาดหุ้นไทย
Fund Comment
ตลาดหุ้นอาเซียน เดือน มิ.ย. ลดลง 3-7.5%
Fund Comment, มิถุนายน 2561
ภาพรวมตลาดหุ้น
กระแสเงินลงทุนไหลออกจากต่างชาติยังเป็นแรงกดดันให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่าและธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น รวมถึงความกังวลเรื่อง Trade war ทำให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอยู่ในโหมด Risk off ส่งผลให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.00 ถึง 7.50 ในเดือน มิ.ย.
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มค้าปลีก ลดลงร้อยละ 9.88 จากความผิดหวังของตัวเลขการเติบโตยอดขายในสาขาเดิมของบางบริษัทขนาดใหญ่ ตามด้วยกลุ่มสื่อสารปรับตัวลดลงร้อยละ 9.06 จากความไม่แน่นอนในการประมูลคลื่นความถี่ และกลุ่มพลังงาน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.57 เพราะที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่ากลุ่มอื่น จึงถูกขายทำกำไร
แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำอย่างสหรัฐอเมริกา จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงและ ความตึงตัวทางการค้าโลก (Trade Tension) ยังเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ผลตอบแทนของเงินปันผลจากตลาดหุ้นยังคงให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 เติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยหากผลประกอบการในไตรมาส 2 ออกมาผิดหวังกว่าคาด ตลาดอาจจะมีการตอบรับในเชิงลบ กลยุทธ์การเลือกหุ้นรายตัวจึงมีความสำคัญต่อการลงทุนในระยะนี้
ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ซึ่งกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติมีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างสูง ตลอดเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ จนเป็นแรงผลักดันให้ผลตอบแทนตลาดติดลบ อย่างไรก็ตาม เมื่อผลประกอบการกลับมาฟื้นตัวดีอีกครั้ง เราคาดการณ์ว่า กระแสเงินลงทุนจะกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้นของภูมิภาคอาเซียน โดยที่ผ่านมาอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) ลดลงจากระดับ 17.5 เท่าในต้นเดือน มิ.ย. ลงมาอยู่ที่ระดับ 15 เท่าในช่วงสิ้นเดือน มิ.ย. เรามองว่าเป็นระดับที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในระยะกลางถึงยาวของตลาดหุ้นไทย