สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค. พบโมเมนตัมชะลอลง

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค. พบโมเมนตัมชะลอลง

BF Economic Research

เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค.ยังขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบรายเดือนพบสัญญาณชะลอลงในส่วนของ การส่งออกทำให้เกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีชำระเงินลดลง ส่วนการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดีจากการบริโภคสินค้าคงทนเป็นหลัก การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวแต่ชะลอลงจากพื้นที่ก่อสร้าง ภาคการท่องเที่ยวชะลอลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือท่องเที่ยวล่มที่จังหวัดภูเก็ต

การบริโภคภาคเอกชน

การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 4.7% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 3.7% YoY (แต่โมเมนตัมรายเดือน ค่อนข้าง Flat ที่ 0.4% MoM sa) เมื่อแยกรายประเภทการบริโภคสินค้าไม่คงทนยัง Flat

  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนและกึ่งคงทน การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวสูงต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน (11.5% YoY vs. prev. 10.7% YoY) จากปริมาณจำหน่ายทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ แต่ ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์หดตัว เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงจากเดือนก่อน(-0.8%MoM sa) หลังจาก เร่งไปมากในช่วงก่อนหน้า
  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน (2.9% YoY vs. 2.1% YoY) ตามปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและ เครื่องนุ่งห่ม และปริมาณการค้าปลีกสินค้ากึ่งคงทนโดยเฉพาะในกลุ่ม อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์อย่างไรก็ดี เมื่อขจัด ผลของฤดูกาลแล้วลดลงจากเดือนก่อนเช่นกันที่ -0.7% MoM sa
  • การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนค่อนข้างFlat ที่ 0.3% YoY ตามยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภค ในเกือบทุกหมวดและปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหดตัวจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับ เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนหดตัวที่ -0.3% MoM sa ตามปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ 2.7% YoY (เดือนก่อนที่ 5.1% YoY) เมื่อเทียบรายเดือน การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมปรับลดลงจาก เดือนก่อนค่อนข้างมากที่ -5.4% MoM sa ตามการนำเข้าสินค้าหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัว

  • การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยยอดจำหน่ายเครื่องจักร ในประเทศขยายตัวที่ 8.1% YoY (เดือนก่อนที่ 8.7% YoY) จากคอมพิวเตอร์ เครื่องยนต์และกังหัน รวมถึงมอเตอร์และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการลงทุนขยายตัวที่ 13.8% YoY จากเดือนก่อนที่ 5.3% YoY โดยเฉพาะ รถบรรทุกและรถยนต์รับจ้างบรรทุกคน (โดยสารไม่เกิน 7 คน)
  • การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวที่ -2.5% YoY (จากเดือนก่อนที่ 8.8% YoY)จากหมวดเครื่องบิน เรือ และแท่นขุดเจาะ และการนำเข้าสินค้าทุนอื่นๆ ส่วนหนึ่งจากฐานสูงในปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อขจัดผล ของฤดูกาลแล้วการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลงจากเดือนก่อนที่ -6.5% MoM sa ตามการนำเข้าสินค้าทุนที่หดตัว

นักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวน 3.2 ล้านคน

นักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 3.2 ล้านคน (เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 3.0 ล้านคน)ชะลอลง 2.8% YoY (เดือนก่อนขยายตัวที่ 11.8% YoY) จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวจากเหตุการณ์เรือท่องเที่ยวล่มที่จังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ดี นอกจากนี้ จำ ก็นวนนักท่องเที่ยวยุโรปหดตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซียจากการชะลอการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก ส่วนนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง ไต้หวัน และมาเลเซียยังขยายตัวได้ดี สำหรับตัวเลขท่องเที่ยวเมื่อปรับฤดูกาลแล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัว -8.0% MoM sa

รายได้เกษตรกร ขยายตัวที่ 6.5% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 3.3% YoY

  • รายได้เกษตรขยายตัวที่ 6.5% YoY (จากเดือนก่อนที่ 3.3% YoY) จากด้านผลผลิตที่ขยายตัว (7.4% YoY จากเดือนก่อนที่ 7.1% YoY)โดยเฉพาะยางพารา ข้าว และปาล์มน้ำมัน จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมยังหดตัว (-0.9% YoY จากเดือนก่อนที่ -3.5% YoY) แต่มีทิศทางที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้ราคายางพาราที่หดตัวเป็นปัจจัยฉุดรั้งสำคัญ ขณะที่ราคาข้าวหอมมะลิขยายตัวดีจากอุปสงค์ที่ดีต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณผลผลิตมีจำกัด ส่วนราคาปาล์มน้ำมันทรงตัว YoY

การส่งออก

การส่งออกชะลอลงที่ 8.3% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 10.0% YoY หากหักทองคำ ขยายตัว 8.2% YoY prev. 10.0% YoY) โดยเป็นการขยายตัวในหลายหมวดสินค้าโดยเฉพาะ สินค้าอุตสาหกรรม จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ดีต่อเนื่อง ได้แก่

  • สินค้าที่มูลค่าการส่งออกเคลื่อนไหวตามราคานำมันดิบขยายตัวทั้งด้านราคาและ ด้านปริมาณ ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไปสิงคโปร์และกัมพูชา การส่งออกเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ไปจีน และ การส่งออกปิโตรเคมีโดยเฉพาะเม็ดพลาสติกไปจีน ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย
  • ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ขยายตัวตามการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะยางล้อไปสหรัฐฯ และกระปุกเกียร์ไปจีน การส่งออกรถยนต์นั่ง ไปฟิลิปปินส์และเวียดนาม และรถกระบะไปตะวันออกกลาง
  • สินค้าเกษตร แปรรูปขยายตัวจากด้านปริมาณเป็นหลัก ตามการส่งออกน้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์ยาง
  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวตามการส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไปฮ่องกง จีน และสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากการขยาย กำลังการผลิตในช่วงก่อนหน้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อุปกรณ์ ควบคุมไฟฟ้าไปญี่ปุ่น และแผงวงจรพิมพ์ไปจีน อย่างไรก็ดี การส่งออก สินค้าเกษตรหดตัวจากด้านปริมาณ ส่วนหนึ่งจากการขาดแคลน ผลผลิตมันสำปะหลัง

การนำเข้า

การนำเข้าขยายตัว 12.4% YoY (prev. 12.9% YoY)หากหักทองคำขยายตัว 15.3% YoY (prev. 16.1% YoY) โดยเป็นการขยายตัวในหลายหมวดสินค้า ได้แก่

  • หมวด วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางขยายตัวตามการนำเข้าเชื้อเพลิงจากด้านราคา การนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรรวมขยายตัวดีสอดคล้องกับภาคการส่งออกในหมวดดังกล่าว และการนำเข้าโลหะขยายตัวจากการนำเข้าเหล็กเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง
  • หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวตามการนำเข้าสินค้าคงทนและสินค้า ไม่คงทน สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว
  • หมวดสินค้าทุน ที่ไม่รวมเครื่องบิน เรือ และแท่นขุดเจาะขยายตัวต่อเนื่องตามการนำเข้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องหล่อพลาสติกและเครื่องจักรเพื่อการก่อสร้าง สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว
  • หมวดยานยนต์และ ชิ้นส่วนขยายตัวจากการนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ สอดคล้อง กับภาคการผลิตและยอดจำหน่ายยานยนต์ทั้งในและต่างประเทศที่ขยายตัว ต่อเนื่อง

ดุลการชำระเงิน

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment)ขาดดุล -0.9 พันล้านดอลลาร์ฯ จากที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ลดลง (1.1 พันล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนที่เกินดุล 4.1พันล้านดอลลาร์ฯ) จากทั้งดุลการค้า(0.9 พันล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนที่เกินดุล 2.9 พันล้านดอลลาร์ฯ) และดุลบริการ รายได้ และเงินโอน (เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนที่เกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์ฯ) โดย

  • ดุลการค้าเกินดุลลดลงจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวชะลอลง ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวสูง ประกอบกับดุลบริการฯ เกินดุลลดลง ตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทข้ามชาติ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 205.5 พันล้านดอลลาร์ฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 206.8 พันล้านดอลลาร์ฯ
  • ดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิที่ -705 ล้านดอลลาร์ฯ (จากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -7.0 พันล้านดอลลาร์ฯ) จากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน โดยด้านสินทรัพย์เป็นการไหลออกสุทธิจาก  1) การออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย ในธุรกิจบริการทางการเงินในเวียดนาม และ 2) การให้สินเชื่อทางการค้าของ ผู้ส่งออกไทยกับคู่ค้าในต่างประเทศตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวดีสำหรับ ด้านหนี้สินเป็นการไหลออกสุทธิจาก 1) การขายหลักทรัพย์สุทธิของนักลงทุน ต่างชาติทั้งตราสารหนี้ และตราสารทุน ส่วนหนึ่งจากแนวโน้มการแข็งค่าของเงิน ดอลลาร์ฯ และ 2) การชำระคืนสินเชื่อทางการค้าของผู้นำเข้ากับคู่ค้าใน ต่างประเทศ