ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียน กันยายน-ตุลาคม 2018

ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียน กันยายน-ตุลาคม 2018

BF Monthly Economic Review Sep-Oct 2018

By…BF Economic Research

ASEAN THIS MONTH

อินโดนีเซีย

  • อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้น +3.20% YoY ในเดือนส.ค. หลังจากที่ขยายตัว +3.18% ในเดือนก่อนหน้า โดยยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอินโดนีเซียซึ่งกำหนดไว้ที่ 2.5-4.5% เนื่องจากราคาอาหารปรับตัวลดลง ซึ่งรวมถึงราคาเนื้อไก่และพริก ส่งผลให้อ้ตราเงินเฟ้อไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวลของอินโดนีเซีย ท่ามกลางความเสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ที่ส่งผลให้ค่าเงินรูเปียะห์อ่อนค่าลงถึง -9% นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

สิงคโปร์

  • การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือนก.ค. 2018 ชะลอลง +6.0% YoY (prev. +8.0% YoY) ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2017
  • ส่วนยอดค้าปลีกเดือนก.ค. หดตัวที่ -2.6% YoY ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว +2.2% YoY เนื่องจากยอดขายยานพาหนะปรับตัวลงแรง -15.2% YoY (Prev. +9.7%) ทั้งนี้ หากไม่รวมยานพาหนะยอดค้าปลีกสิงคโปร์ขยายตัวที่ +0.2% YoY ค่อนข้างคงที่จากเดือนที่แล้วที่ +0.3% YoY เมื่อเทียบรายเดือนยอดค้าปลีกสิงคโปร์หดตัว -2.9% MoM sa (prev. +1.3% MoM sa)

ฟิลิปปินส์

  • อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ +6.4% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว +5.7% YoY และเหนือกรอบเงินเฟ้อเดือนส.ค.ที่ BSP ประมาณการไว้ที่ 5.5-6.2% โดยหลุดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางการฟิลิปปินส์ได้ตั้งไว้ที่ 2-4% เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน
  • อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเหนือคาดดังกล่าวได้รับแรงกดดันมาจากราคาพลังงานเป็นหลัก โดยราคาน้ำมันและไฟฟ้าของฟิลิปปินส์ปรับตัวสูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มอาหารโดยเฉพาะข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเป็นผลมาจากอุปทานที่ลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวนของฟิลิปปินส์และความล่าช้าในการนำเข้าข้าวราคาถูกจากต่างประเทศ

มาเลเซีย

  • มาเลเซียประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 1,050 ริงกิตต่อเดือนทั่วประเทศเท่ากันหมด จากเดิมที่ในแหลมมลายูมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000 ริงกิตต่อเดือน และ 920 ริงกิตต่อเดือนในรัฐซาราวัก ซาบาห์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เป็น 1,500 ริงกิตต่อเดือนภายในระยะเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นในครั้งนี้รัฐบาลยังไม่จ่ายเงินอุดหนุนให้กับนายจ้างตามที่เคยกล่าวไว้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณหลังภาระหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง