1 พ.ย. 2018 เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอจากเกือบทุกเครื่องชี้

1 พ.ย. 2018 เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอจากเกือบทุกเครื่องชี้

BF Economic Research

เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอจากยอดขายรถยนต์ การลงทุนภาคเอกชนไม่ขยายตัว การส่งออกสินค้าหดตัว กระทบการผลิตภาคอุตสาหกรรม  ส่วนการท่องเที่ยวชะลอเช่นกันเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น ตามการลดลงของการนำเข้าทองคำเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอจากยอดขายรถยนต์ การลงทุนภาคเอกชนไม่ขยายตัว การส่งออกสินค้าหดตัว กระทบการผลิตภาคอุตสาหกรรม  ส่วนการท่องเที่ยวชะลอเช่นกันเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น ตามการลดลงของการนำเข้าทองคำ


ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ Manufacturing Production Index (MPI)  หดตัว -2.6% YoY (prev. 0.8 %YoY) จาก

• หมวดยานยนต์ที่หดตัว -4.5% YoY สอดคล้องกับภาวะการส่งออกยานยนต์ที่หดตัว

• หมวดยางและพลาสติกหดตัว -8.9% YoY ตามการส่งออกยางแผ่นที่ลดลง

• หมวดเครื่องจักรที่หดตัวตามการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า

• หมวดอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวได้ที่ 7.1% YoY แต่ชะลอจากเดือนก่อน  หนุนโดยความต้องการใช้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ Internet of Things (IoT) ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแทบไม่ขยายตัว ทั้งนี้ เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมลดลง -1.2% MoM sa
การบริโภคภาคเอกชนชะลอที่ 4.4% YoY (prev. 7.4% YoY) โดย

• หมวดสินค้าไม่คงทน หดตัว -1.6% YoY (prev. 0.5% YoY) ตามการหดตัวของยอดขายสินค้าอุปโภค บริโภคโดยเฉพาะในหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ ส่วนหนึ่งจากผลของฐานสูงในปีก่อนที่มีการเร่งซื้อก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ประกอบกับปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหดตัวจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ที่เพิ่มขึ้น เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนลดลง -0.5% MoM sa

• การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนชะลอที่ 6.1% YoY (prev. 14.5% YoY) จากยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ หดตัว เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลง -1.3% MoM sa

• การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 3.8%  YoY (prev. 2.1% YoY) ตามปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม และ ปริมาณการค้าปลีกสินค้ากึ่งคงทนโดยเฉพาะในกลุ่มอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งนี้เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.9% MoM sa

• การใช้จ่ายภาคบริการขยายตัวต่อเนื่องที่ 5.9% YoY (prev. 5.7% YoY) หนุนจากการใช้จ่ายในหมวด โรงแรมและภัตตาคารและหมวดขนส่ง ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่  0.8% MoM sa

การลงทุนภาคเอกชนไม่ขยายตัวที่ 0.0% YoY (prev. 4.2% YoY) โดย เครื่องชี้การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ชะลอ ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนด้านก่อสร้างหดตัว และ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมลดลงจากเดือนก่อน -1.7% MoM sa

• ในรายองค์ประกอบ ยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศชะลอที่ 5.1% (prev. 8.3% YoY) โดยยอดจดทะเบียน รถยนต์เพื่อการลงทุนโดยเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง หดตัว -11.5% YoY (prev. 19.7% YoY) จากผลของฐานสูงในปีก่อนที่มีการเร่งจดทะเบียนรถยนต์ก่อนบังคับใช้กฏหมาย รถป้ายแดงปี 2017

• การนำเข้าสินค้าทุนหดตัว -1.8% YoY (prev. 2.2% YoY ) จาก หมวดเครื่องบิน เรือ และแท่นขุดเจาะของภาคเอกชน• พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างหดตัว -6.6% YoY (prev. -3.2% YoY) ส่วนดัชนีวัสดุก่อสร้างชะลอที่ 0.1% YoY (prev. 6.2% YoY)

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือนก.ย.อยู่ที่  2.7 ล้านคน (prev. 3.2 ล้านคน) ชะลอ 2.1% YoY (prev. 1.3% YoY) เมื่อเทียบรายเดือน -0.1% MoM sa สะท้อนว่าโมเมนตัมของจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่สู้ดี เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีน(มีสัดส่วนเกือบ 30% ของจำนวนนักท่องเที่ยวรวม) ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องที่  -14.9% YoY (prev. -11.8% YoY) ณ ขณะนี้รัฐบาลเตรียมเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเตรียมผลักดันมาตรการฟรีค่าธรรมเนียม  Visa on arrival และลดค่าธรรมเนียม Double-entry visa

รายได้เกษตรกร หดตัว -4.0% YoY (prev. 2.7% YoY)

• รายได้เกษตรกร หดตัว -4.0% YoY (prev. 2.7% YoY) ตามการหดตัวของราคาสินค้าเกษตร (-6.0% YoY, prev. -3.0% YoY) ที่มากกว่าการขยายตัวของผลผลิต (2.1% YoY, prev. 5.9% YoY) จากราคายางพารา เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากตาม พื้นที่เปิดกรีดใหม่ ประกอบกับราคาปาล์มน้ำมันที่หดตัวจากผลผลิตที่ขยายตัวต่อเนื่อง

การส่งออกหดตัว.- 5.5% YoY (prev. 5.8% YoY) หากหักทองคำหดตัว -1.0% YoY (prev. 9.6% YoY) จาก

• การเร่งส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียในช่วงก่อนหน้า

• ผลกระทบของวาตภัยต่อการขนส่งสินค้าไปประเทศคู่ค้า อาทิ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง

• ผลของฐานสูงจากการส่งออกโทรศัพท์มือถือตาม การเปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ในปีก่อน

• การเร่งส่งออกโซลาร์เซลล์ และเครื่องซักผ้าก่อนการใช้มาตรการ Safeguard ของสหรัฐฯ

การนำเข้าชะลอที่ 14.3% YoY (prev. 24.2% YoY) ตามการลดลงของการนำเข้าทองคำ หากหักทองคำการนำเข้าชะลอลงที่ 12.5% YoY (prev. 14.6% YoY) โดยการนำเข้าสินค้ากลุ่มวัตถุดิบและสินค้าอุปโภคบริโภคชะลอลง ส่วนการนำเข้าสินค้าทุนหดตัวที่ -12.0% YoY (prev. 1.3% YoY)

ดุลการชำระเงินเกินดุล 1.0 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. 0.2 พันล้านดอลลาร์ฯ)

ดุลการชำระเงินเกินดุล 1.0 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. 0.2 พันล้านดอลลาร์ฯ) จาก

• ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเพิ่มขึ้น 2.4 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. 0.8 พันล้านดอลลาร์ฯ) จากการนำเข้าทองคำที่ลดลงทำให้ดุลการค้าบวกที่ 2 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. 0.6 พันล้านดอลลาร์ฯ) และจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ที่เพิ่มขึ้น 0.4 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. 0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ)

• ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เกินดุลสุทธิที่  0.2 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. -1.2 พันล้านดอลลาร์ฯ) จากด้านหนี้สิน ตาม 1) การลงทุนในหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุน ต่างชาติ โดยเฉพาะในตราสารหนี้ระยะยาวของภาครัฐ 2) การกู้ยืมระยะสั้น ของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน และ 3) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ด้านสินทรัพย์เป็นการไหลออกสุทธิ จาก 1) การลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย 2) การนำเงินออกไปฝากในต่างประเทศของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน และ 3) การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศของกองทุนรวมที่ ลงทุนในต่างประเทศ (FIF)

• สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ที่  2.05 แสนล้านดอลลาร์ฯ