2 ม.ค. 2019 เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย.

2 ม.ค. 2019 เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย.

BF Economic Research

เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย. ให้ภาพที่แผ่วลงโดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากรายได้เกษตรที่หดตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีจากการย้ายฐานการผลิตกลุ่ม HDD มาไทย ประกอบกับโครงการก่อสร้างภาครัฐได้เริ่มก่อสร้างทำให้ยอดขายซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างขยายตัวดี การส่งออกถูกกระทบจากฐานที่สูงและการกีดกันทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เป็นผลให้การผลิตเพื่อการส่งออกในสินค้าบางกลุ่มถูก  Disrupt เช่นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีการเร่งการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นภายหลังจากที่สหรัฐฯและจีนยืดระยะเวลาการต่อรองออกไป ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอลงจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงกว่าครึ่ง

ที่มา :ธปท, SCBT

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ชะลอจากเดือนก่อนที่ 1.0%  (เดือนก่อน 5.8% YoY)

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ชะลอจากเดือนก่อนที่ 1.0%  (เดือนก่อน 5.8% YoY) เมื่อเปรียบเทียบรายเดือนอยู่ที่ 1.5% MoM sa โดยภาพรวมการผลิตชะลอในทุกหมวด  โดยหมวดที่ยังหดตัวสูงจากเดือนก่อนคือ ยางพาราและพลาสติก (-12.7% YoY จากเดือนก่อน -14.5% YoY) จากการชะลอคำสั่งซื้อ ของผู้ประกอบการจีน ประกอบกับสินค้าคงคลังในจีนยังอยู่ในระดับสูง, เสื้อผ้าและสิ่งทอ (-2.2% YoY เท่ากับเดือนก่อน) ส่วนหมวดการผลิตที่ยังขยายตัวได้แต่เห็นโมเมนตัมการชะลอลงอย่างชัดเจนคือหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน (6.4% YoY จากเดือนก่อน 22.7% YoY) โดยเป็นการชะลอในทุกหมวดย่อย (รถยนต์นั่ง, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์,และเครื่องยนต์) ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มชะลอเช่นกันที่ 3.5% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 8.4% YoY ตามธุรกิจท่องเที่ยวที่ชะลอลง ทั้งนี้หมวดที่พลิกกลับมาเป็นบวกคือกลุ่ม IC และ Semiconductors ที่ขยายตัว 6.4% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ -3.1% YoY

การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ 4.4% YoY ชะลอจากเดือนก่อนหน้าที่ 6.8% YoY

การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ 4.4% YoY ชะลอจากเดือนก่อนหน้าที่ 6.8% YoY จากปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อ โดยรวมแผ่วลง สะท้อนจากรายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมที่หดตัว YoY ทั้งด้านผลผลิตและราคา ขณะที่รายได้รวมลูกจ้างนอก ภาคเกษตรกรรมทรงตัว ในรายองค์ประกอบ

• การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน ขยายตัวที่ 2.6% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 2.9% YoY ตามการขยายตัวของหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ, การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สอดคล้องกับ ยอดขายรถยนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนปรับลดลง -0.5% MoM sa

• การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนชะลอที่ 3.4% YoY จาก 5.9% YoY หรือ -0.8% MoM sa  ตามปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและ เครื่องนุ่งห่ม และกลุ่ม อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์• การใช้จ่ายสินค้าคงทนขยายตัว 7.7% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 10.8% YoY เมื่อเทียบรายเดือนขยายตัว 1.1% MoM sa จากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เชิงพาณิชย์

• การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัว 3.6% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 4.5% YoY เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ชะลอลงต่อเนื่องจาก การใช้จ่ายในหมวด โรงแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวในไทยที่ชะลอลงเมื่อเทียบรายเดือนเกือบ Flat ที่  0.5% MoM sa

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ 3.1% YoY ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 3.2% YoY

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ 3.1% YoY ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 3.2% YoY หรือ 0.7% MoM sa เมื่อเทียบรายเดือน การลงทุนด้านเครื่องจักรและสินค้าทุน

• การนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัว 6.5% YoY จาก 2.4% YoY เดือนก่อน หนุนโดยการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องจักรเพื่อใช้ใน การตรวจสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจ ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มายังไทย และการนำเข้าขบวนรถไฟ สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ บางปู

• ยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศชะลอลงที่ 3.9% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 5.3% YoY จากคอมพิวเตอร์ เครื่องจักรทั่วไป เครื่องยนต์และเครื่องกังหัน และ เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน

• ยอดจดทะเบียนรถยนต์โดยรวมชะลอที่ 2.6% YoY จาก 7.5% YoY เดือนก่อน