BF Economic Research
- ฟิลิปปินส์: GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เติบโตที่ 6.1% YoY ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.0% YoY และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์
- สิงคโปร์: อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ขยายตัว 0.5% YoY ในเดือนธ.ค. 2018 ที่ผ่านมา (Prev. +0.3% YoY) เป็นผลจากราคาภาคบริการและค้าปลีกที่ขยายตัวขึ้น
ASEAN UPDATE
ฟิลิปปินส์: GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เติบโตที่ 6.1% YoY ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.0% YoY และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.3% YoY
ส่งผลให้ในปี 2018 GDP ของฟิลิปปินส์ขยายตัวที่ 6.2 % ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ล่าสุดที่ 6.5-6.9% (เป้าหมายเดิมตั้งไว้ที่ 7-8%) ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวที่ลดลงนั้นเป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโตชะลอลงเป็นตัวฉุดรั้งหลัก เนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา ขณะที่ การส่งออกสุทธิ (Net Export) ที่ลดลงก็เป็นอีกปัจจัยกดดันเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในปีที่ผ่านมาเช่นกัน
ทั้งนี้ อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าคาด ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลง น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.75 %ในไตรมาส 1 ปี 2019 นี้
สิงคโปร์: อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ขยายตัว 0.5% YoY ในเดือนธ.ค. 2018 ที่ผ่านมา (Prev. +0.3% YoY) เป็นผลจากราคาภาคบริการและค้าปลีกที่ขยายตัวขึ้น สำหรับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (MAS Core Inflation) ซึ่งไม่รวมต้นทุนค่าที่อยู่อาศัยและต้นทุนการขนส่งทางถนนส่วนบุคคลขยายตัวเร่งขึ้นเช่นเดียวกันที่ 1.9 % YoY (Prev. +0.3% YoY)
ทั้งนี้ อัตราเฟ้อของสิงคโปร์ที่ปี 2018 ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.4% (vs. +0.6% ในปี 2017) ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (MAS Core Inflation) ขยายตัวต่อเนื่องที่ 1.7% (vs. +1.5% ในปี 2017) สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014
สำหรับปี 2019 นี้ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์น่าจะได้รับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน อย่างไรก็ดี ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มทรงตัวหลังจากที่เริ่มชะลอลงในไตรมาสที่ 4 ปี 2018 ที่ผ่านมา น่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่เร่งตัวสูงขึ้นมากนัก