ในเดือน มี.ค. ปัจจัยต่างประเทศถูกขับเคลื่อนโดยการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากที่เดิมคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงิน รวมทั้งยังชะลอการปรับลดงบดุลในเดือน พ.ค. จากระดับ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหลือ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ก่อนจะยุติการปรับลดงบดุลในเดือน ก.ย. ส่งผลให้แนวโน้มการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากขึ้น และมีผลในเชิงบวกต่อตลาดทุนหลายแห่ง ขณะที่ทิศทางราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นที่คลายความกังวลลง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) ที่มีการขอผ่อนผันเลื่อนระยะเวลาออกไป จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 29 มี.ค. 2019 เป็นวันที่ 12 เม.ย. เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากการที่ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจทั้งของสหราชอาณาจักร และ EU ดังนั้นยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
ด้านปัจจัยภายในประเทศ ยังคงถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง หลังยังไม่มีความชัดเจนต่อทิศทางการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ว่ากลุ่มการเมืองใดจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งจะส่งผลให้การขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจต่างๆ จากทางภาครัฐชะงักงันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะสั้น แม้แนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการจะลดลงตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ส่วนในอนาคตการส่งออกสินค้าของไทยอาจได้ปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการบางรายมายังไทย และการย้ายคำสั่งซื้อสินค้าจากจีนมายังไทย
ตลาดหุ้นไทยในเดือน มี.ค. มีทิศทางอ่อนตัวลง และแกว่งตัวในกรอบค่อนข้างแคบ โดยทำระดับสูงสุดที่ 1,646.29 จุด และต่ำสุดที่ 1,617.57 จุด นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิที่ 16,397.38 ล้านบาท เนื่องจากกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศของไทยในช่วงใกล้การเลือกตั้ง
แนวโน้มการลงทุนในปีนี้ยังคงมีความท้าทาย ท่ามกลางกระแสความไม่แน่นอนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบที่จำกัด จนกว่าสถานการณ์การเมืองภายในประเทศจะมีความชัดเจนขึ้น โดยเราจะคอยติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะยังคงยึดมั่นต่อความพิถีพิถันในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัว เพื่อเฟ้นหาหุ้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะผ่านปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆในระยะสั้น เพื่อแสดงศักยภาพของการเติบโตต่อไปในระยะยาว ภายใต้ราคาที่เหมาะสม
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ในเดือน มี.ค. ปัจจัยต่างประเทศถูกขับเคลื่อนโดยการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากที่เดิมคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงิน รวมทั้งยังชะลอการปรับลดงบดุลในเดือน พ.ค. จากระดับ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหลือ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ก่อนจะยุติการปรับลดงบดุลในเดือน ก.ย. ส่งผลให้แนวโน้มการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากขึ้น และมีผลในเชิงบวกต่อตลาดทุนหลายแห่ง ขณะที่ทิศทางราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นที่คลายความกังวลลง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) ที่มีการขอผ่อนผันเลื่อนระยะเวลาออกไป จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 29 มี.ค. 2019 เป็นวันที่ 12 เม.ย. เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากการที่ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจทั้งของสหราชอาณาจักร และ EU ดังนั้นยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
ด้านปัจจัยภายในประเทศ ยังคงถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง หลังยังไม่มีความชัดเจนต่อทิศทางการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ว่ากลุ่มการเมืองใดจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งจะส่งผลให้การขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจต่างๆ จากทางภาครัฐชะงักงันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะสั้น แม้แนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการจะลดลงตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ส่วนในอนาคตการส่งออกสินค้าของไทยอาจได้ปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการบางรายมายังไทย และการย้ายคำสั่งซื้อสินค้าจากจีนมายังไทย
ตลาดหุ้นไทยในเดือน มี.ค. มีทิศทางอ่อนตัวลง และแกว่งตัวในกรอบค่อนข้างแคบ โดยทำระดับสูงสุดที่ 1,646.29 จุด และต่ำสุดที่ 1,617.57 จุด นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิที่ 16,397.38 ล้านบาท เนื่องจากกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศของไทยในช่วงใกล้การเลือกตั้ง
แนวโน้มการลงทุนในปีนี้ยังคงมีความท้าทาย ท่ามกลางกระแสความไม่แน่นอนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบที่จำกัด จนกว่าสถานการณ์การเมืองภายในประเทศจะมีความชัดเจนขึ้น โดยเราจะคอยติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะยังคงยึดมั่นต่อความพิถีพิถันในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัว เพื่อเฟ้นหาหุ้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะผ่านปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆในระยะสั้น เพื่อแสดงศักยภาพของการเติบโตต่อไปในระยะยาว ภายใต้ราคาที่เหมาะสม