BF Economic Research
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. โต 1.23% YoY (เทียบกับ 1.24% ในเดือน มี.ค.)
• หนุนโดยราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน (2.33% YoY vs prev 2.07% YoY ) ปรับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2018 สอดคล้องกับราคาน้ำมันโลก• ด้านราคาอาหารโต 2.2% YoY( vs prev 2.38%) หนุนจากราคาข้าว ผักผลไม้ และเนื้อสัตว์ ผลจากการเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งแล้งกว่าปีก่อน
• ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่ 0.87% YTD เป็นการขยับอย่างต่อเนื่องและเราคาดว่า เงินเฟ้อ YTD น่าจะแตะอัตรา 1.1% ปลายไตรมาส 2/2019 ก่อนที่จะขยับลงในช่วงไตรมาส 3/2019 เนื่องจากฐานสูงปีก่อน
ด้วยโมเมนตัมที่ Soft ลง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2019
โดยแบ่งมาตรการออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก เป็นมาตรการพยุงเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คาดใช้งบประมาณ 13,200 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ กลุ่มแรก เป็นมาตรการพยุงเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คาดใช้งบประมาณ 13,200 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ
• การเพิ่มเบี้ยให้ผู้พิการ ได้รับเบี้ยเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 200 บาท/คน/เดือน ผ่านช่องทาง e-Money ภายในวันที่ 15 ของเดือน ซึ่งเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ดูแลสุขภาพ และด้านการเดินทาง โดยคาดว่าจะมีผู้พิการที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับประโยชน์ 1.16 ล้านคน ใช้งบประมาณ 1,160 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ พ.ค.-ก.ย.19
• การช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่จำเป็นในช่วงที่ราคาได้เกษตรหดตัว และสินค้าเกษตรมีราคาผันผวน โดยจะได้รับเงินคนละ 1,000 บาท (รับครั้งเดียว) ผ่านช่องทาง e-Money ภายในวันที่ 15 พ.ค.19 คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับประโยชน์ 4.1 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4,100 ล้านบาท ระยะเวลามาตรการ พ.ค.19
• การช่วยเหลือผู้ปกครองเรื่องค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การศึกษา โดยจะให้เงินช่วยเหลือแก่บิดา หรือมารดาที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท/บุตร 1 คน ผ่านช่องทาง e-Money ภายในวันที่ 15 พ.ค.19 (รับครั้งเดียว) คาดว่าจะมีจำนวนบุตรของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับประโยชน์ 2.7 ล้านคน ใช้งบประมาณ 1,350 ล้านบาท
• การช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้ง 14.6 ล้านคน เพื่อบรรเทาปัญหาปากท้องและรักษากำลังซื้อของเศรษฐกิจฐานราก โดยจะเพิ่มเพดานในช่องทางการซื้อสินค้าร้านธงฟ้าให้เป็นคนละ 500 บาท/เดือนเท่ากันหมด (จากเดิมที่ได้คนละ 200 หรือ 300 บาท/เดือนแล้วแต่กรณี) ระยะเวลามาตรการ 2 เดือน ตั้งแต่ พ.ค.-มิ.ย.19 ใช้งบประมาณ 6,600 ล้านบาท
สำหรับมาตรการพยุงเศรษฐกิจในกลุ่มที่สอง จะเป็นมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศ และระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) ประกอบด้วย
• มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษา และกีฬา โดยจะลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตั้งแต่ 1 พ.ค.-30 มิ.ย.19
• มาตรการภาษีเพื่อส่งเสิรมการอ่าน เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าซื้อหนังสือ รวมทั้งค่าบริการ e-Book ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.19
• มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย (OTOP) โดยจะลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าซื้อสินค้า OTOP ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตั้งแต่ 30 เม.ย.- 30 มิ.ย.19)
• มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยจะลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าบริการนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม โฮมสเตย์ในเมืองหลัก ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และในเมืองรอง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาท ตั้งแต่ 30 เม.ย. – 30 มิ.ย.19
• มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยจะลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือคอนโดมิเนียมที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ตั้งแต่ 30 เม.ย.- 31 ธ.ค.19 ทั้งนี้จะต้องเป็นบ้านหลังแรก และเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียน
• มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน e-Tax โดยจะให้นิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายลงทุนใน e-Tax ได้ 2 เท่าสำหรับการใช้ Point of Sale, e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Withholding Tax ตั้งแต่ 30 เม.ย. – 31 ธ.ค.19
เราได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2019 ลงเป็น 3.6% (จาก 4.1% ในปี 2018) เนื่องจากการส่งออกได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าในเวทีโลก อีกทั้งเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังเลือกตั้งอาจทำให้การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนสะดุด เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวสุดท้ายซึ่งคือการบริโภคในประเทศก็ขึ้นอยู่กับการซื้อสินค้าคงทน อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ เราเชื่อว่าการบริโภคในประเทศจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออก และการลงทุนได้บางส่วน
สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยนั้นยังคงยืนอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่น่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อนๆ ซึ่งแต่เดิมในปี 2018 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอยู่ที่ 10% ของ GDP แต่ในปี 2019 ดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะอยู่ที่ราว 6-7% ของ GDP เหตุจากความเสี่ยงด้านการค้าที่อาจกระทบการส่งออกและดุลการค้าของไทย
ด้วยภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ทั้งปี 2019