กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

มุมมองต่อตราสารทุนจำแนกรายประเทศ

(Global equity view by Nanette Abuhoff Jacobson, Global Investment strategist, Wellington Management)

“กองทุนหลักยังคงมุมมองต่อตราสารทุนไตรมาสสองเช่นเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า เชื่อว่าด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯแม้ระดับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะลดลง นโยบายการเงินสหรัฐฯที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้และนโยบายการคลังที่ตึงตัวขึ้นเล็กน้อย ระดับมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นแต่ยังไม่สุดโต่ง จึงเห็นว่าควรปรับลด/แต่ไม่หนีออกจากสินทรัพย์เสี่ยง โดยเน้นหุ้น (Defensive US Equity) มากกว่าตราสารหนี้”

สหรัฐฯ

ในปี 2018 บริษัทสหรัฐฯ ได้ใช้เงินไปกว่า 1.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการซื้อหุ้นคืน 797.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินปันผล 456.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ยอดสะสมของตัวเลขข้างต้นนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินปี 2008 พุ่งเฉียด 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

การซื้อหุ้นคืนในปริมาณที่มากเช่นนี้เคยได้รับการท้วงติงจากวุฒิสภา สังกัดพรรคเดโมแครท นายซัค ชูเมอร์ และนายเบอร์นี่ แซนเดอร์ ทั้งสองได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อกีดกันการซื้อหุ้นคืนของบริษัท หากบริษัทยังไม่สามารถจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้กับพนักงานได้ในอัตราไม่น้อยกว่า 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง และหากบริษัทยังไม่สามารถมอบสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงานของตนเองก่อน ทางฝั่งพรรครีพลับบลิกันโดยนายมาร์โค รูบิโอ ก็ออกแรงสนับสนุนเช่นกัน โดยเคยเสนอให้เปลี่ยนแปลงระบบภาษีบริษัทเพื่อลดแรงจูงใจในการซื้อหุ้นคืน ด้านนักลงทุนนั้นมองว่าการซื้อหุ้นคืนเป็นทางเลือกที่ถูกเพราะเป็นการใช้เงินสดที่คุ้มค่าของกิจการ

การซื้อหุ้นคืนเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร ยุโรป และญี่ปุ่น เช่นกัน ตลาดของประเทศเหล่านี้พบปริมาณเงินที่ใช้ไปกับการซื้อหุ้นคืนมากกว่าปริมาณเงินที่ได้จากการนำหุ้นเข้าสู่ตลาดหรือเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน

กองทุนหลักคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีระดับของอัตราการเติบโตแซงหน้าประเทศอื่นในกลุ่มพัฒนาแล้ว แม้ว่าอัตราดังกล่าวจะชะลอตัวลงจากผลของแรงส่งด้านปัจจัยการคลังที่จะค่อยๆ จางหายไป อย่างไรก็ตาม ภาคการบริโภคในประเทศยังเป็นตัวชูโรงให้เศรษฐกิจโดยอาศัยตลาดแรงงานอันแข็งแกร่งและค่าจ้างที่สูงขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังทรงตัวได้ดี แม้ตลาดหุ้นจะเผชิญแรงขายอย่างหนักในไตรมาสล่าสุดก็ตาม

กองทุนหลักยังคงให้น้ำหนักหุ้นสหรัฐฯ มากกว่าตลาดพัฒนาแล้วอื่นๆ แม้ว่าระดับมูลค่า Valuation ตลาดจะซื้อขายในระดับที่สูงก็ตามแต่ยังไม่ต้องรีบกังวลสำหรับกรอบระยะเวลาลงทุนในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า

ยุโรป

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยุโรปสร้างความผิดหวัง ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจมีทิศทางลดลงในไตรมาสถัดไป

ดัชนีชี้นำด้านวัฏจักรธุรกิจก็มีทิศทางชะลอลง การเมือง เบร็กซิท และปัญหางบประมาณอิตาลี เริ่มกระทบต่อธุรกิจและภาวะตลาด จนกระทบต่อตลาดบอนด์ อีกทั้งบริษัทจดทะเบียนในยุโรปมีสัดส่วนรายได้มาจากต่างประเทศ (60%) จึงยังคงความสงสัยให้กับนักลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีระดับอัตราการเติบโตที่ช้าลง

กองทุนหลักยังมีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจยุโรป ด้วยภาวะตลาดการจ้างงานที่ดีจะช่วยประคองยุโรปไม่ให้ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวอย่างมีนัยในปี 2019 นี้ หากพิจารณาระดับมูลค่าหุ้นที่ลดลงมาแล้วพบว่าน่าสนใจ มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ กองทุนจึงให้น้ำหนักลงทุนระดับ Neutral

กราฟ: แสดงแหล่งที่มาของรายได้บริษัทจดทะเบียนในยุโรป vs สหรัฐฯ

ญี่ปุ่น

ระดับกำไรสุทธิและระดับเงินสดของบริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เนื่องจากหุ้นญี่ปุ่นผันผวนสูง เป็นไปตามปัจจัยภายนอก เช่น วัฏจักรเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงค่าเงินเยนแข็งค่า ทำให้กองทุนหลักคงน้ำหนักลงทุน neutral บนพื้นฐานของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น

ตลาดเกิดใหม่

ด้วยตลาดเกิดใหม่มีระดับมูลค่าหุ้นที่ถูกกว่าสหรัฐฯ และมีโครงสร้างประชากรวัยแรงงานสูง มุมมองในระยะยาวจึงสดใสกว่า แต่อย่างที่ได้เรียนไว้ว่าสำหรับกรอบระยะเวลาลงทุน 3-6 เดือนข้างหน้า กองทุนหลักให้น้ำหนักกับพื้นฐานเศรษฐกิจและความสำคัญของนโยบายมากกว่าระดับมูลค่าหุ้นหรือ Valuation

ที่มา: Multi-Asset Views Second quarter 2019, Wellington Management. Down but not out. By Daniel Cook, CFA, Multi-Asset Analyst and Nanette Abuhoff Jacobson, Global investment and Multi-Asset Strategist

หมายเหตุ:

  • กองทุนหลัก หมายถึง กองทุน Wellington Global Opportunities Fund
  • มุมมองต่อสินทรัพย์เป็นระยะเวลาอีก 3-6 เดือนข้างหน้า โดยเริ่มตั้งแต่สิ้นเดือน มี.ค.2018

มุมมองจากผู้จัดการกองทุนหลัก

ตลาดหุ้นโลกเมื่อวัดจากดัชนี MSCI AC World Net สร้างผลตอบแทนช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. 2019 ได้อย่างดีเลิศ โดยเพิ่มขึ้น +12.2% นับเป็นผลตอบแทนรายไตรมาสที่ดีที่สุดเมื่อวัดจากช่วงตั้งแต่เดือน ก.ย. 2009 เป็นต้นมา ในช่วงเวลาเดียวกันกองทุนหลักทำผลตอบแทนได้ +14.7% หุ้นถือครองในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทฟุ่มเฟือย เฮลธ์แคร์ และอุตสาหกรรม ให้ผลตอบแทนดีกว่าดัชนี อาทิ บริษัท New Oriental Education (+64.2%) บริษัท Danaher (+28.2%) บริษัท Airbus (+38%) ด้านหุ้นที่ถือครองในกลุ่มเฮลธ์แคร์และสถาบันการเงินให้ผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนีอาทิ บริษัท UnitedHealth (+1.55%) บริษัท Medtronic (+3.59%) บริษัท Intercontinental Exchange (+1.08%)

กราฟ 1: ผลการดำเนินงานรายปีของกองทุนหลักเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (USD) ข้อมูลวันที่ 31 มี.ค. 2019

กราฟ 2: หุ้นถือครองสิบอันดับแรกของ Wellington Global Opportunities fund

1. Total SA (น้ำหนักลงทุนในพอร์ต 2.4%, เกณฑ์มาตรฐาน 0.3%)

กลุ่มพลังงาน

เป็นบริษัทผลิตและสำรวจก๊าซธรรมชาติ สัญชาติฝรั่งเศส กองทุนหลักลงทุนเนื่องจากนักลงทุนในตลาดมองข้ามความสามารถของกิจการในการสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นและมองข้ามการใช้ประโยชน์จากเงินลงทุน อีกทั้งมีการจัดการระมัดระวังต้นทุนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตามผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปียังคงต่ำกว่าคู่แข่งในกลุ่มพลังงานด้วยกันเอง

2. Danaher (น้ำหนักลงทุนในพอร์ต 2.3%, เกณฑ์มาตรฐาน 0.2%)

กลุ่มเครื่องมือการแพทย์  (ใช้วิเคราะห์ผล/วินิจฉัยโรค)

กองทุนหลักถือครองเพราะนักลงทุนในตลาดมองข้ามความสามารถในการเพิ่มอัตราการทำกำไรขั้นต้นของกิจการ

3. Nestle SA (น้ำหนักลงทุนในพอร์ต 2.1%, เกณฑ์มาตรฐาน 0.6%)

กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

กองทุนหลักเล็งเห็นโอกาสจากการที่บริษัทเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการต้นทุน และการดำเนินธุรกิจ การที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกจาก 81 สวิสฟรังก์เป็น 95 สวิสฟรังก์ กองทุนหลักจึงถือโอกาสลดสัดส่วนลงทุนลงเพื่อมองหาโอกาสใหม่ๆ

4. Walmart Inc (น้ำหนักลงทุนในพอร์ต 2.1%, เกณฑ์มาตรฐาน 0.3%)

กลุ่มอาหารและค้าปลีก

น่าสนใจเพราะบริษัทเพิ่งเริ่มจะมีการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยปรับปรุงการดำเนินธุรกิจโดยรวม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารสินค้าคงคลัง คาดว่าจะทำให้ต้นทุนลดลง

Source: Conference call with Investment manager, Wellington Global Opportunities, 25 April 2019

กลยุทธ์ลงทุนของ Wellington Global Opportunities

แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นทั่วโลก ด้วยการวิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกของบริษัท ประกอบกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจมหภาค โดยพิจารณาจาก

  • ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return to Capital)
  • งบการเงินและโครงสร้างของอุตสาหกรรมเพื่อหาบริษัทที่ให้ผลตอบแทนอย่างยั่งยืนและปรับตัวได้ดี
  • โอกาสการลงทุนอันเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด อย่างเช่น นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของกำไรในระยะสั้นจนเกินไป

กราฟ : แสดงกระบวนการลงทุนของ Wellington Global Opportunities Fund ซึ่งคัดเลือกบริษัทลงทุนโดยพิจารณาบริษัทที่ตลาดคาดหวังผลตอบแทนต่อเงินลงทุนไว้ต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็น สาเหตุก็เนื่องมาจาก

  1. ตลาดให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลประกอบการและกำไรสุทธิของกิจการในระยะสั้น
  2. ตลาดไม่มีประสิทธิภาพ: เนื่องจากนักลงทุนสนใจให้ความสำคัญกับกลุ่มอุตสาหกรรมใดกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือประเทศในประเทศหนึ่งมากเกินไป
  3. กองทุนเชื่อว่าผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนราคาหุ้นในตลาดของบริษัทจดทะเบียน
  4. ข้อมูลบริษัทที่เกี่ยวกับแนวทางการบริหารสินทรัพย์และแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนจะเป็นตัวบ่งชี้ผลตอบแทนของบริษัทในอนาคต

กองทุนหลักมีการปรับพอร์ตอย่างไรในช่วงที่ผ่านมา (1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2019)

สามเดือนที่ผ่านมา พบว่า กองทุนหลักเริ่มลดน้ำหนักหุ้นในกลุ่มโกลบอลเธลธ์แคร์ลง เช่น การขายหุ้นบริษัทยาชื่อ Bristol-Myers Squibb หลังประกาศซื้อธุรกิจยาของบริษัทชื่อว่า Celgene สิทธิบัตรยารักษามะเร็งโลหิตของบริษัท Celgene ที่ชื่อว่า Revlimid จะหมดอายุลงในปี 2022 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า

การลงทุนหุ้นในกลุ่มเฮลธ์แคร์นั้นกองทุนหลักหันมาลงทุนเพิ่มในธุรกิจ Animal healthcare แทน เพราะพบว่าธุรกิจมีการปรับปรุงการผลิต พัฒนาประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน ท่ามกลางแรงกดดันทางการเมืองต่อธุรกิจเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ เผชิญ การถือครอง Animal Healthcare น่าจะช่วยลดแรงเสียดทานลงได้

กราฟ : แสดงการปรับพอร์ตของกองทุนหลักจากต้นไตรมาสแรก (สีน้ำเงิน) เทียบกับปลายไตรมาสแรก (สีฟ้า) จำแนกตาม 11 กลุ่มอุตสาหกรรม
หุ้นลงทุนในกลุ่มกลุ่มเทคโนโลยียังเป็นสัดส่วนการลงทุนส่วนใหญ่

กองทุนหลักมีการลงทุนเพิ่มในธุรกิจด้าน Industrial automation โดยลงทุนบริษัท Keyence Corporation (เทคโนโลยีสัญชาติญี่ปุ่น) เพราะเชื่อว่าตลาดมองข้ามผลตอบแทนจากการลงทุน สินค้าของบริษัท Keyence Corp เริ่มติดตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัทเองก็มีแผนขยายธุรกิจ/ตลาดไปยังต่างประเทศ

Sector positioning

ด้านน้ำหนักลงทุนรายภูมิภาค พบว่า กองทุนหลักเริ่มเพิ่มน้ำหนักหุ้นกลุ่มธนาคารยุโรปหลังให้น้ำหนักน้อยกว่าดัชนีมาตลอดปี 2018 ราคาหุ้นลงจากการ Sell-off จนอยู่ระดับที่น่าสนใจ

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Wellington Global Opportunities Equity Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class S

นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนที่จดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์กมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงหลักทรัพย์ต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นตราสารแห่งทุน เช่น หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก

วันที่จดทะเบียน: กุมภาพันธ์ 2010

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

NAV: USD 21.28

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI AC World Net

Morningstar Category: Large cap Growth

Bloomberg code: WLLGOAU LX

Fund size: USD 478.2 Million

Number of holdings: 102

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูลวันที่ 31 มี.ค. 2019)