กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

สรุปประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจอินเดีย

ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการซึ่งได้ประกาศไปเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2019 ส่งผลให้พรรค BJP (Bharatiya Janata Party) ของนายนเรนทรา โมดิ รวบรวมเสียงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้อีกสมัย โดยเสียงที่เขารวบรวมในสภาล่าง (Lok Sabha) นั้นได้สมาชิกรวมทั้งสิ้น 350 เสียงจากทั้งหมด 543 เสียง คิดเป็นสัดส่วน 56% ตัวเลขดังกล่าว นอกจากจะสูงกว่า ผลสำรวจก่อนการเลือกตั้งแล้ว ยังสูงกว่าตัวเลขที่แกนนำร่วมรัฐบาล(NDA: National Democratic Alliance) ที่นำโดยพรรค BJP เคยได้รับในปี 2014 ในครั้งนั้นพรรค BJP ซึ่งเป็นสมาชิกหลักของแกนนำร่วมรัฐบาล รวบรวมเสียงได้เพียง 336 เสียง คิดเป็นสัดส่วน 52% (เทียบกับ 56% ในปีนี้) และหากนับเฉพาะคะแนนเสียงที่พรรค BJP ได้รับโดยลำพัง (Standalone) แล้วถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 303 เสียง จากเดิม 282 เสียง

ตาราง แสดงคะแนนเสียงที่เพิ่มขึ้นในสมัยที่สองของการบริหารประเทศนำโดยพรรค BJP ที่มีนายนเรทนา โมดิ เป็นผู้นำพรรค

Source: Lok Sabha, Election Commission of India

แม้ผลเลือกตั้งจะออกมาในเชิงบวก คนอินเดียส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าโครงสร้างการเมืองอินเดียไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องจาก

  1. พรรค BJP ไม่ได้ครองเสียงส่วนใหญ่ในสภาสูงหรือที่เรียกว่า Raija Sabha เช่นเคย ปัจจุบันพรรค BJP มีเสียง 71 จาก 244 ที่นั่ง คิดเป็นสัดส่วน 29% ในสภาสูง
  2. แม้ประเทศอินเดียจะประกอบไปด้วยสหพันธรัฐจำนวน 29 รัฐ (มลรัฐ/รัฐบาลท้องถิ่น) คล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ แต่อำนาจส่วนที่นอกเหนือจากรัฐสภายังคงเป็นของมลรัฐ (State list) ซึ่งมีบทบาทไม่เป็นสองรองจากศูนย์กลาง (Union list) รัฐแต่ละรัฐจะมีธรรมนูญหรือกฏหมายบัญญัติของรัฐขึ้นมาใช้เองจำนวนมาก เช่น ภาษีรายได้ภาคการเกษตร ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การค้าการพาณิชย์ระหว่างรัฐ ขณะที่รัฐบาลกลางจะดูแลในเรื่องสำคัญๆ เช่น ภาษีรายได้นอกภาคการเกษตร ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ภาคบริการ ระบบราง เป็นต้น ดังนั้นการตัดสินใจทางด้านเศรษฐกิจ สังคม กฏระเบียบและมาตรการ ยังคงอยู่ในมือของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันพรรค BJP และพันธมิตรของพรรค BJP มีอำนาจควบคุมอยู่ 16 รัฐจากทั้งหมด 29 รัฐ

ตาราง แสดงส่วนงานที่ตัดสินใจเรื่องเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอินเดีย

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ตลาดคาดหวังต่อรัฐบาลชุดนี้ คือ

1. พลิกฟื้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เร่งตัวผ่านการการใช้มาตรการทางการคลังเข้ามากระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เนื่องจากฐานะการคลังมีข้อจำกัดด้วยเหตุที่จัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าเล็กน้อยและยังมีภาระขาดดุลการคลัง (Fiscal Deficit) อยู่ จึงไม่อาจใช้นโยบายการคลังแบบปูพรมให้กับทุกภาคส่วนได้

2. คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 100bp ผ่านความร่วมมือจากธนาคารกลาง (RBI)

3. สานต่อแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ การทบทวนธุรกิจที่อยู่ในหน่วยงานบริการสาธารณะหรือรัฐถือครองทรัพย์สิน เพื่อที่จะโอนมาเป็นของเอกชน เป้าหมายเพื่อกระตุ้นการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศ

ด้านตลาดหุ้นอินเดีย ดัชนี Nifty 50 ซื้อขายที่ระดับมูลค่าวัดจากราคาตลาดของบริษัทจดทะเบียนเทียบกับกำไรสุทธิ หรือ 12 Months FW Price-to-earnings ratio 18.1 x บนมุมมองต่ออัตรากำไรสุทธิที่เติบโต 24% ในปี FY2020 โดยยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 15 ปีที่ระดับ 15.7 x และค่อนข้างตึงตัวเมื่อเทียบกับส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ดังกราฟ

กราฟ แสดงระดับมูลค่า (Valuation) เมื่อวัดจากดัชนีตลาด เทียบกับกำไรสุทธิที่คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะทำได้ในอีก 1 ปีข้างหน้า  (1 Year FW Price-to-Earnings Ratio) ซึ่งเป็นเส้นสีแดง และเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวซึ่งเป็นเส้นสีดำ

กราฟ แสดงระดับมูลค่า (Valuation) ตลาดหุ้นอินเดีย โดยเทียบส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น กับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอินเดีย

ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในปีนี้คาดว่า กำไรสุทธิในกลุ่มธนาคารซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 30% ของดัชนีจะฟื้นตัวแรง จากการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง สะท้อนอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ (Normalization) การฟื้นตัวของกลุ่มธนาคารไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวระดับเศรษฐกิจประเทศเท่าไรนัก ขณะที่ภาคสินเชื่อตลาดคาดว่าจะทรงตัว ยอดขายรถยนต์คาดว่าจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นราคาหุ้นอยู่ในระดับแพงโดยมีค่าเฉลี่ยของราคาตลาดเทียบกับกำไรสุทธิ (12-m forward Price-to-earnings ratio) 40-50 x

อัตราเงินเฟ้อ (CPI Inflation) ครึ่งปีแรก 1HFY20 คาดว่าจะลดลง 30 bps อยู่ที่ 2.9%-3.0% และครึ่งปีหลัง 2HFY20 คาดว่าอยู่ที่ 3.5%-3.8% ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวทำให้คาดว่าธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 bps ในการประชุมเดือนมิ.ย.หรือส.ค. 2019 เงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำและอยู่ในกรอบล่างของนโยบายเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่น้อย การลดลงของปริมาณผลผลิตเทียบกับกำลังการผลิตสูงสุด และราคาน้ำมันทรงตัว

แนวทางการปรับพอร์ตในเดือน เม..

(ขาย) หุ้นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มไอที และเฮลธ์แคร์ ทยอยขายหุ้นบริษัทในกลุ่มบันเทิง เช่น Inox Leisure และกลุ่มสายการบิน เช่น Spice Jet บางส่วน

(ซื้อ) หุ้นบริษัทในกลุ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนน รถไฟ สะพาน เขื่อน เช่น NCC Ltd.

ตาราง 1: แสดงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหุ้นในพอร์ตจำแนกตามมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนของกองทุนหลัก Reliance India Equity Portfolio Fund ตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึงปัจจุบัน

ตาราง 2: แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Reliance India Equity Portfolio

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class I (USD)

นโยบายการลงทุน: มุ่งหาผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนในตราสารทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในอินเดีย โดยจะลงทุนในตลาดอินเดียไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของ NAV)

วันที่จดทะเบียน: 17 พฤษภาคม 2016

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI INDIA USD

Morningstar Category: Large cap blend

Bloomberg code: RAMUSDI LX

Fund size: USD 192.1 Million

Number of holdings: 46

*ที่มา: Reliance Asset Management (Singapore) Pte Ltd ข้อมูลเดือน เม.ย. 2019

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล วันที่ 30 เมษายน 2019)