จีน: ส่งออกเดือน พ.ค. พลิกกลับมาขยายตัวขณะที่นำเข้าหดตัวเพิ่มขึ้น

จีน: ส่งออกเดือน พ.ค. พลิกกลับมาขยายตัวขณะที่นำเข้าหดตัวเพิ่มขึ้น

BF Economic Research

  • ยอดส่งออก (Exports) เดือน พ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว 1% YoY จากที่หดตัว -2.8% YoY ในเดือนก่อน โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเร่งส่งออกสินค้าก่อนหน้าภาษีนำเข้าจะถูกปรับเพิ่มขึ้น และเงินหยวนที่อ่อนค่าลง (-2.5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค.)
  • ยอดนำเข้า (Imports) พลิกกลับมาหดตัว -5% YoY จากที่ขยายตัว 4.0% YoY ในเดือนก่อนจากผลของการเร่งนำเข้าสินค้าไปแล้วในเดือนก่อนหลังการปรับลดภาษี VAT มีผลบังคับใช้ โดยการนำเข้าถั่วเหลืองจากตลาดสหรัฐฯหดตัวแรงที่ -31.9% YoY
  • ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน พ.ค. เกินดุล 17 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นจาก 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อน
  • สำหรับสถานการณ์ทางการค้า ณ ขณะนี้ ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ต้องรอท่าทีของผู้นำทั้งสองประเทศในการประชุม G-20 ที่จะเกิดขึ้นปลายเดือนมิ.ย. ทั้งนี้หากพิจารณากลุ่มสินค้าที่รอขึ้นภาษี (กลุ่ม 3 แสนล้านดอลลาร์ฯ ที่จะขึ้น 25% จากที่ยังไม่เคยปรับขึ้นเลย)พบว่ามีกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ Smartphones และ Handset อยู่ด้วยในหลักเกือบห้าหมื่นล้านดอลลาร์ฯ หากกลุ่มสินค้านี้ได้รับการปรับขึ้นภาษี ก็จะกระทบกับยอดซื้อสินค้ากลุ่ม Consumer Electronics ในสหรัฐฯไปด้วย

จีน: ผู้ว่า PBoC กล่าวมีเครื่องมือพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ หากความตึงเครียดทางการค้ากดดันเศรษฐกิจ

  • นาย Yi Gang ผู้ว่าธนาคารกลางจีน (PBoC) กล่าวว่ามีพื้นที่เพียงพอในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หากความตึงเครียดทางการค้าเพิ่มขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนอัตราเงินกันสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ (Required Reserve Ratio: RRR) และการใช้เครื่องมือทางการคลังเข้าช่วย
  • ด้านค่าเงินหยวน นาย Yi Gang กล่าวว่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลงมากในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากแรงกดดันของค่าเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และเงินหยวนจะกลับมาแข็งค่าเมื่อปัจจัยดังกล่าวทยอยหมดไป
  • นอกจากนี้ นาย Yi Gang กล่าวว่าไม่มีนโยบายแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนเพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางการค้าซึ่งจะกระทบประเทศอื่นๆ และชี้ว่าเงินหยวนสามารถอ่อนค่าลงต่ำกว่าระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์ฯ ได้
  • ทั้งนี้ ค่าเงินที่อ่อนค่านับเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ซึ่งเงินหยวนที่อ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมานับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

  • จีน: ส่งออกเดือน พ.ค. พลิกกลับมาขยายตัวขณะที่นำเข้าหดตัวเพิ่มขึ้น
  • ยอดส่งออก (Exports) เดือน พ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว 1.1% YoY จากที่หดตัว -2.8% YoY ในเดือนก่อน โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเร่งส่งออกสินค้าก่อนหน้าภาษีนำเข้าจะถูกปรับเพิ่มขึ้น และเงินหยวนที่อ่อนค่าลง (-2.5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค.)
  • ยอดนำเข้า (Imports) พลิกกลับมาหดตัว -8.5% YoY จากที่ขยายตัว 4.0% YoY ในเดือนก่อนจากผลของการเร่งนำเข้าสินค้าไปแล้วในเดือนก่อนหลังการปรับลดภาษี VAT มีผลบังคับใช้ โดยการนำเข้าถั่วเหลืองจากตลาดสหรัฐฯหดตัวแรงที่ -31.9% YoY
  • ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน พ.ค. เกินดุล 4.17 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นจาก 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อน