กองทุนรวมหุ้นที่จ่ายปันผลของกองทุนบัวหลวง

กองทุนรวมหุ้นที่จ่ายปันผลของกองทุนบัวหลวง

กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล (BKD)

กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP)

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG)

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC)

BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES 

“รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์”

  • ในเดือน พ.ค. ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความคืบหน้าของสถานการณ์การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนไม่เป็นไปตามคาด หลังจากประธานาธิบดี Donald Trump ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้เพิ่ม Huawei เข้าสู่บัญชีดำการซื้อขาย ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถซื้อชิ้นส่วนหรือสินค้าจากสหรัฐฯ ได้ ซึ่งทางจีนได้ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้สหรัฐฯ มีท่าทีอ่อนลงโดยการยืดระยะเวลาการคว่ำบาตรสินค้า Huawei ออกไป 3 เดือน ความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ของน้ำมันดิบ ทำให้ทิศทางราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดหุ้น ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เริ่มส่งสัญญาณการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) หลังนาง Theresa May นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากความล้มเหลวในการผลักดันข้อตกลง Brexit ให้ผ่านการอนุมัติของรัฐสภาอังกฤษ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการถอนตัวแบบไม่มีข้อตกลง หรือ Hard Brexit มากขึ้น
  • ด้านปัจจัยภายในประเทศ ยังคงถูกกดดันจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจ โดย GDP ไตรมาส 1/2562 ขยายตัวเพียง 2.8%YoY จาก 3.6%YoY ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกสินค้าและการลงทุนที่ชะลอตัว ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองมีความชัดเจนขึ้น หลังมีการประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับคะแนนจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ ให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้การขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจต่างๆ จากทางภาครัฐน่าจะกลับมาดีขึ้น ทั้งนี้อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นอกจากนี้ แม้อุปสงค์ต่างประเทศจะชะลอตัวลงจากภาวะตึงตัวของสงครามการค้า แต่การส่งออกสินค้าของไทยอาจได้ปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิต และคำสั่งซื้อสินค้าจากจีนมายังไทย ตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ค. ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดที่ 1,682.50 จุด สู่ระดับต่ำสุดที่ 1,599.10 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิที่ 3,671.84 ล้านบาท เนื่องจาก MSCI Rebalance ที่มีการเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์สุดท้าย

มุมมองตลาดหุ้นไทย

สำหรับแนวโน้มภาวะตลาดหุ้นใน Q2/2562 ด้วยแรงกดดันจากต่างประเทศ ทำให้แนวโน้มการลงทุนในช่วงที่เหลือของปียังคงมีความท้าทาย แต่ด้านภายในประเทศ การเมืองที่เริ่มมีเสถียรภาพน่าจะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในประเทศ แม้ราคาหุ้นจะสะท้อนปัจจัยลบต่างๆ มาบางส่วนแล้ว แต่ก็ยังต้องลงทุนอย่างระมัดระวังเนื่องจากปัจจัยภายนอกยังคงมีความไม่แน่นอน ทั้งนี้เรายังคงยึดมั่นต่อความพิถีพิถันในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัว เพื่อหาหุ้นที่แข็งแรงพอที่จะผ่านปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆ และสามารถแสดงศักยภาพของการเติบโตต่อไปในระยะยาวได้ ภายใต้ราคาที่เหมาะสม

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน 

(+) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะพื้นที่ EEC ยังมีนโยบายให้เห็นอย่างต่อเนื่อง

(+) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในหลายๆ ประเทศที่ต่ำลง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญของตลาด

(+) คาดเงินลงทุนต่างชาติจะไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อ เนื่องจาก 1) การส่งสัญญาณการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ ธนาคากลางสหรัฐฯ (FED) และอาจจะนำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) กลับมาใช้อีกครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องที่ล้นตลาดโลกยังคงมีต่อเนื่องต่อไป 2) ตลาดหุ้นไทยยังพอมี Upsides จากการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย ช่วยสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุน และคาดหวังจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ และ 3) ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากกว่าภูมิภาค เพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด มีทุนสำรองสูง และมีหนี้ต่างประเทศน้อย

(+) ปัจจัยบวกต่างประเทศจากการที่สหรัฐระงับการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจากเม็กซิโก เนื่องจากสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เกี่ยวกับประเด็นผู้อพยพ และจีนรายงานยอดส่งออกเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบรายปี

(+/-) กระแสเงินลงทุนไหลเข้าประเทศกลุ่ม TIP (ไทย-อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์) และเอเชีย อีกครั้ง ประกอบกับมูลค่าที่น่าสนใจ นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิในกลุ่ม EM อีกครั้ง เช่น อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เวียตนาม ไทย ตามลำดับ โดยซื้อสุทธิในหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี 10,774 ล้านบาท (17 มิ.ย. 2019)

(-) สำหรับสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ณ ขณะนี้ ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ต้องรอท่าทีของผู้นำทั้งสองประเทศในการประชุม G-20 ที่จะเกิดขึ้นปลายเดือน มิ.ย. ทั้งนี้หากพิจารณากลุ่มสินค้าที่รอขึ้นภาษี (กลุ่ม 3 แสนล้านดอลลาร์ฯ ที่จะขึ้น 25% จากที่ยังไม่เคยปรับขึ้นเลย) พบว่ามีกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ Smartphones และ Handset อยู่ด้วยในหลักเกือบห้าหมื่นล้านดอลลาร์ฯ หากกลุ่มสินค้านี้ได้รับการปรับขึ้นภาษี ก็จะกระทบกับยอดซื้อสินค้ากลุ่ม Consumer Electronics ในสหรัฐฯไปด้วย

(-) ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง อาจจะไปกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงาน และกลุ่มปิโตรเคมี ในขณะที่ต้องติดตามปัจจัยต่างประเทศเรื่องประเด็นการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) ที่อาจสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนมากขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน

กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวแก้วปันผลอยู่ที่ 2.69% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 5.58 % และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการณ์สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และพาณิชย์ (ความคาดหวังหลังเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่จะแก้ปัญหาปากท้อง กลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค การแพทย์ เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนอยู่ที่ 2.78% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 5.58 % และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการณ์สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และพาณิชย์ (ความคาดหวังหลังเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่จะแก้ปัญหาปากท้อง กลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ วัสดุก่อสร้าง ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค การแพทย์ เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลอยู่ที่ 5.76% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET High Dividend 30 Index) อยู่ที่ 3.84 % และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม (ธุรกิจสัตว์บก ราคากลับมาฟื้นตัวได้ดี ธุรกิจสัตว์บก เช่นทูน่า ได้รับประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบปรับลดลง) และเงินทุนและหลักทรัพย์ ความต้องการสินเชื่อขยายตัว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อยานพาหนะ ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกนั้น ปรับเพิ่มอย่างช้าๆในครึ่งปีแรก ควบคู่ไปกับความคืบหน้าของเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม พลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนอยู่ที่ 1.11% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 5.58 % และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม (ธุรกิจสัตว์บก ราคากลับมาฟื้นตัวได้ดี ธุรกิจสัตว์บก เช่นทูน่า ได้รับประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบปรับลดลง) และพาณิชย์ (ความคาดหวังหลังเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่จะแก้ปัญหาปากท้อง กลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย

ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 พ.ค. 2562

ประวัติการจ่ายเงินปันผล ภายในปี 2560 จนถึงปัจจุบัน

กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล

กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4