ตลาดหุ้นโลกในเดือน ก.ค. เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบ หลังจากการปรับตัวขึ้นในเดือนก่อนหน้าบนความคาดหวังต่อการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐและมุมมองเชิงบวกต่อการเจรจาการค้า
ในเดือน ก.ค. ปัจจัยที่เข้ามาในตลาดค่อนข้างปะปนกัน โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงและยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องครบ 10 ปีเต็ม แต่ก็ยังไม่ได้แสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ติดลบ ทำให้เกิดความไม่แน่นนอนต่อการลดดอกเบี้ยในปลายเดือน ขณะที่ผู้ว่าการของ Fed สาขาต่างๆ ก็ยังออกมาให้ความเห็นในเชิงที่ Dovish และท้ายที่สุด Fed ก็ลดดอกเบี้ยลง 0.25bps ตามตลาดคาด
ทว่าตลาดผิดหวังต่อถ้อยแถลงของ Fed ที่ส่งสัญญาณว่า เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนนโยบายในช่วงกลางวัฎจักร (mid-cycle adjustment) แต่ต้องติดตามถึงพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจและความเสี่ยงภายนอกต่อไป ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าโอกาสในการลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. จะลดลง
ส่วนเรื่องสงครามการค้า สหรัฐกลับเดินหน้าประกาศว่าจะเก็บภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เริ่มในวันที่ 1 ก.ย. ทำให้เป็นปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากตัวเลขภาคการผลิตทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอ รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยได้มีการปรับประมาณการ GDP โลกลงเล็กน้อย จากทั้ง World Bank (2.9% เป็น 2.6%) และ IMF (3.3% เป็น 3.2%)
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในกรอบแคบ ปิดลดลงประมาณ 1% เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าสุทธิตั้งแต่ต้นปีเพิ่มขึ้นเป็น 6.28 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มสื่อสาร แต่ลดการถือครองในกลุ่มธนาคารและกลุ่มปิโตรเคมี ส่วนหนึ่งจากการปรับเพิ่มน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยใน MSCI Emerging Market ในเดือน มิ.ย. และมองว่าประเทศไทยเป็น Safe Haven ในเชิงของค่าเงิน รวมถึงมีการปรับเพิ่มมุมมองความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไทย ของ Fitch Ratings และ Moody’s Investors Services จากมีเสถียรภาพเป็นเชิงบวก ในเดือน ก.ค. ก่อนที่ Fund Flow จะชะลอตัวลงในช่วงปลายเดือน จากการออกมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติระยะสั้นจากธปท.
สำหรับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาสสองที่เริ่มออกมาไม่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ปิโตรเคมี ส่วนประเด็นการเมือง หลังจากได้ครม.แล้ว คาดหวังว่าจะมีนโยบายเร่งด่วนออกมา เนื่องจากจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะเกษตรกร
เราเชื่อว่า ภาวะตลาดที่ผันผวนมากขึ้น ยังมีโอกาสในการลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้
Fund Comment
Fund Comment กรกฎาคม 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือน ก.ค. เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบ หลังจากการปรับตัวขึ้นในเดือนก่อนหน้าบนความคาดหวังต่อการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐและมุมมองเชิงบวกต่อการเจรจาการค้า
ในเดือน ก.ค. ปัจจัยที่เข้ามาในตลาดค่อนข้างปะปนกัน โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงและยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องครบ 10 ปีเต็ม แต่ก็ยังไม่ได้แสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ติดลบ ทำให้เกิดความไม่แน่นนอนต่อการลดดอกเบี้ยในปลายเดือน ขณะที่ผู้ว่าการของ Fed สาขาต่างๆ ก็ยังออกมาให้ความเห็นในเชิงที่ Dovish และท้ายที่สุด Fed ก็ลดดอกเบี้ยลง 0.25bps ตามตลาดคาด
ทว่าตลาดผิดหวังต่อถ้อยแถลงของ Fed ที่ส่งสัญญาณว่า เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนนโยบายในช่วงกลางวัฎจักร (mid-cycle adjustment) แต่ต้องติดตามถึงพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจและความเสี่ยงภายนอกต่อไป ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าโอกาสในการลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. จะลดลง
ส่วนเรื่องสงครามการค้า สหรัฐกลับเดินหน้าประกาศว่าจะเก็บภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เริ่มในวันที่ 1 ก.ย. ทำให้เป็นปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากตัวเลขภาคการผลิตทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอ รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยได้มีการปรับประมาณการ GDP โลกลงเล็กน้อย จากทั้ง World Bank (2.9% เป็น 2.6%) และ IMF (3.3% เป็น 3.2%)
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในกรอบแคบ ปิดลดลงประมาณ 1% เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าสุทธิตั้งแต่ต้นปีเพิ่มขึ้นเป็น 6.28 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มสื่อสาร แต่ลดการถือครองในกลุ่มธนาคารและกลุ่มปิโตรเคมี ส่วนหนึ่งจากการปรับเพิ่มน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยใน MSCI Emerging Market ในเดือน มิ.ย. และมองว่าประเทศไทยเป็น Safe Haven ในเชิงของค่าเงิน รวมถึงมีการปรับเพิ่มมุมมองความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไทย ของ Fitch Ratings และ Moody’s Investors Services จากมีเสถียรภาพเป็นเชิงบวก ในเดือน ก.ค. ก่อนที่ Fund Flow จะชะลอตัวลงในช่วงปลายเดือน จากการออกมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติระยะสั้นจากธปท.
สำหรับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาสสองที่เริ่มออกมาไม่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ปิโตรเคมี ส่วนประเด็นการเมือง หลังจากได้ครม.แล้ว คาดหวังว่าจะมีนโยบายเร่งด่วนออกมา เนื่องจากจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะเกษตรกร
เราเชื่อว่า ภาวะตลาดที่ผันผวนมากขึ้น ยังมีโอกาสในการลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้