BF Economic Research
GDP 2Q/2019 2 โต 2.3% YoY จาก 2.8% ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอตัวของ GDP ที่ต่ำสุดตั้งแต่ 3Q/2014 ทั้งนี้ เมื่อเทียบ QoQ เศรษฐกิจไทยขยายตัว +0.6% QoQ sa จากไตรมาสแรกที่ 1.0% QoQ sa สะท้อนโมเมนตัมที่แผ่วลง
ด้านการใช้จ่าย
อุปสงค์ในประเทศ: การบริโภคภาคเอกชนชะลอ4.4% YoY (vs. 4.9% ใน 1Q19) ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทนและบริการ ด้านการลงทุนโดยรวมชะลอลงเป็น 2.0% (vs. 3.2% ใน 1Q19) ตามการแผ่วลงของการลงทุนภาคเอกชน (2.2% vs. 4.4% ใน 1Q19) แม้การลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากไตรมาสก่อน (1.4% vs. -0.1% ใน 1Q19)
อุปสงค์ต่างประเทศ: การส่งออกสินค้าและบริการหดตัว -6.1% YoY เท่ากับไตรมาสก่อน สอดคล้องกับรายได้จากการส่งออกสินค้าที่ลดลงในทุกหมวดทั้งสินค้าเกษตร ประมง และอุตสาหกรรม รวมทั้งรายรับจากการท่องเที่ยวที่ชะลอลง ด้านการนำเข้าสินค้าและบริการลดลงเช่นกันที่ -2.7% จากไตรมาสก่อนที่ -0.1% YoY
ในเชิงของ GDP Contribution ชะลอตัวในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะการส่งออกสุทธิ
ด้านการผลิต ผลผลิตภาคเกษตรและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหดตัว ส่วนกิจกรรมภาคบริการชะลอลง
ภาคการเกษตร: สาขาเกษตรหดตัว -1.1% YoY จากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 1.7% ตามการลดลงของผลผลิตพืชหลัก เช่น ข้าวเปลือก อ้อย และสับปะรด
ภาคนอกการเกษตร: สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลง (-0.2% YoY vs. 0.6% ใน 1Q19) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของสินค้าเพื่อการส่งออก
ในส่วนของสาขาบริการพบการชะลอลงเช่นสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (2.5% vs. 3.5% ใน 1Q19) สาขาการขายส่งและขายปลีก (5.9% vs. 6.8% ใน 1Q19) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (3.7% vs. 4.9% ใน 1Q19) และสาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย (1.8% vs. 2.0% ใน 1Q19)
เราปรับประมาณการ GDP ไทยปี 2019 ลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 3.3-3.6% เป็น 2.7-3.2%
ระดับน้ำในปีนี้น่าจะลดลงจากปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ GDP กลุ่มเกษตร
งบประมาณปี 2020 ที่ควรจะเริ่มเดือนตุลาคมปีนี้ น่าจะบังคับใช้ได้ในปี 2020
รัฐบาลจะใช้อำนาจจากพรบ. งบประมาณ อนุมัติงบครึ่งหนึ่งของงบ ปี 2019 มาใช้จ่ายงบที่ผูกพันไปก่อน
ที่ประชุมทีมเศรษฐกิจของ ครม. นัดแรก (16 ส.ค.) ได้เปิดเผยร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีวงเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 3.16 แสนล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินจากสถาบันการเงินรัฐ 2.07 แสนล้านบาท จากงบประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และอื่นๆ จะมาจากเงินของกองทุนต่างๆ เช่น กองทุน SMEs กองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจข้างต้นจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจในปี 2019 ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 3% ภายใต้กรอบประมาณการ 2.7-3.2%
อนึ่ง ร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจข้างต้นอาจยังมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของการประชุม ครม. ในวันที่ 20 ส.ค.
หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต ธปทไม่น่าจะปรับลดดอกเบี้ยลงอีก แต่เนื่องด้วยในภาวะปัจจุบัน ธนาคารกลางใช้ judgement ในการปรับลดดอกเบี้ยมากขึ้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ ธปท อาจจะปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 25 bps ในปีนี้