BF Economic Research
การส่งออกเดือน ก.ค. อยู่ที่ 21,205 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.28% YoY (vs prev -2.15% YOY) โดยการส่งออกเร่งขึ้นจากผลของมูลค่าการส่งออกทองคำที่ขยายตัวสูงขึ้นมากเป็นสำคัญ หากหักทองคำส่งออกหดตัวที่ 0.4%YoY
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 21,094.6 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 1.67% (vs prev -9.44% YoY) เกินดุลการค้า 110.4 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 3212.2 ล้านดอลลาร์ฯ)
ทั้งนี้ ส่งผลให้ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออกมีมูลค่า144,175.6 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -1.91% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 140,122.1 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -1.81% เกินดุลการค้า 4,053.6 ล้านดอลลาร์ฯ (เมื่อเทียบกับ 7 เดือนปีที่แล้วที่ 3,747.7 ล้านดอลลาร์ฯ)
ส่วนการส่งออกทั้งปีนี้ หากจะให้โตได้ 1-2% จะต้องเห็นส่งออก 22,000 ล้านดอลลาร์ฯ เป็นอย่างต่ำ
ในรายสินค้า การส่งออกไทยติดลบในเกือบทุกประเภท จะมีบางกลุ่มสินค้าที่ยังขยายตัวได้ ได้แก่ อัญมณี แอร์ ยาง และผลไม้/ผลไม้แห้ง
แม้ว่าภาพรวมของการส่งออกจะดูแย่ แต่หากพิจารณาในรายประเทศ จะพบว่า การส่งออกจากไทยไปจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขยายตัวเมื่อเทียบรายปี สะท้อนผลจาก Trade Diversion Effect
การส่งออกของทองขยายตัวขึ้นจากสองสาเหตุ คือ 1) ราคาทองปรับตัวดีขึ้น และ 2) ออสเตรเลียและนายหน้าประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์สั่งทองจากไทยเพื่อส่งออกไปจีน เนื่องจากจีนปรับขึ้นภาษีนำเข้าทองจากสหรัฐฯ ทำให้จีนนำเข้าทองจากประเทศอื่นแทน
การที่ทองต้องไป via หลายประเทศ ก่อนเข้าจีน อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาทองปรับตัวสูงขึ้น