กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

มุมมองต่อเศรษฐกิจโลกและนโยบายการเงิน

กองทุนหลักมองว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงในไตรมาสถัดไป คาดว่าทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะไม่ขยับขึ้น ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อาจได้เห็นธนาคารยุโรปหันกลับมาใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ตลาดจะไม่เหมือนกับการชะลอตัวรอบที่เคยผ่านๆ มา กล่าวคือ นโยบายการเงินผ่อนคลายเข้ามาช่วยบรรเทาความเสี่ยงในภาวะตลาดขาลง แต่ไม่ได้ช่วยขจัดปัจจัยลบดังกล่าวออกไป เนื่องจากยังมีสองประเด็นที่ตลาดไม่มั่นใจ คือ 1. ปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์เริ่มเข้าสู่ขีดจำกัด และ 2. ผลในทางลบต่อธุรกิจในกลุ่มธนาคารหลังใช้มาตรการดอกเบี้ยเงินฝากติดลบ ทั้งนี้ ตลาดมีความคาดหวังต่อตัวธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นอย่างมากว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อเนื่องอีก 4 ครั้ง ครั้งละ 25 bps. ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งแตกต่างจากที่เฟดได้เคยประมาณการไว้

มุมมองต่อตราสารทุนจำแนกรายประเทศ

สหรัฐฯ

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น สหรัฐฯ จะยังคงมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุด แม้อัตราการเติบโตเผชิญกับผลกระทบจากมาตรการภาษีสินค้าขาเข้า และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนเริ่มชะลอตัว เนื่องจากความไม่แน่นอนการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ของทางการ การบริโภคในประเทศที่ยังเติบโตได้ดีเป็นตัวช่วยปกป้องสหรัฐฯ หากเกิดปัญหาที่รุนแรงจากส่วนอื่น นอกจากนี้ คาดว่าเฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยเพื่อประคองเศรษฐกิจให้ไปได้ต่อ

ยุโรป

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัวลงต่อเนื่อง อาทิ ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ Markit Manufacturing PMI ที่ 47 ในช่วงกลางเดือน ส.ค. ส่งสัญญาณว่าจะชะลอตัวลงต่อไปได้อีก ความเสี่ยงทางด้านเบร็กซิทจะยังคงกระทบธุรกิจและ Sentiment ของตลาด และด้วยธุรกิจยุโรปมีสัดส่วนของรายได้ที่พึ่งพิงการค้าต่างประเทศจึงเผชิญกับความเสี่ยงขาลงมากกว่าสหรัฐฯ แต่ในอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจยุโรปกำลังถึงจุดต่ำสุด ในจังหวะที่การบริโภคยังไปได้ดี และระดับมูลค่าหุ้นถูก

ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจที่เติบโตเหนือกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อยในช่วงที่ผ่านมา ภาคการบริโภคยังเติบโตได้ดี แต่ภาคธุรกิจชะลอตัวลงชัดเจน เศรษฐกิจและตลาดหุ้นที่หวังว่าต้องการค่าเงินเยนอ่อนนั้น อาจเป็นไปได้ยากเพราะเยนถูกจัดว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงวิกฤต (ทำให้เงินเยนอาจแข็งค่าแทน) และหากรัฐปรับขึ้นภาษีสินค้าบริโภคตามแผนในเดือน ต.ค.นี้ จะทำให้เศรษฐกิจต้องสะดุดลง กองทุนหลัก Moderately Underweight หุ้นญี่ปุ่น โดยให้น้ำหนักลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ตลาดเกิดใหม่

เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และมีความผันผวนของตลาดค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศที่เข้าข่ายน่าสนใจ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเหล่านี้พบอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง มีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และได้รับประโยชน์จากผลกระทบห่วงโซ่อุปทานจีนที่เปลี่ยนไป

หมายเหตุ:

  • กองทุนหลัก หมายถึง กองทุน Wellington Global Opportunities Fund
  • มุมมองต่อสินทรัพย์เป็นระยะเวลาอีก 3-6 เดือนข้างหน้า โดยเริ่มตั้งแต่สิ้นเดือน มิ.ย. 2019

มุมมองจากผู้จัดการกองทุนหลัก

ตลาดหุ้นโลกเมื่อวัดจากดัชนี MSCI AC World Net สร้างผลตอบแทนช่วงเดือน เม.ย.- มิ.ย. 2019 เพิ่มขึ้น +3.6% เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่เคยสร้างผลตอบแทนรายไตรมาสไว้อย่างดีเลิศ ทำให้ผลตอบแทนเมื่อวัดจากต้นปีเพิ่มขึ้นรวม +16.2% ในช่วงเวลาเดียวกันกองทุนหลักทำผลตอบแทนได้ +18.8% เพราะผลจากการคัดเลือกหุ้นรายตัวในหมวดสินค้าอุปโภคจำเป็น  หุ้นถือครองในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทจำเป็น เฮลธ์แคร์ สื่อสาร ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าดัชนี อาทิ บริษัท Wallmart (+18.61% YTD) บริษัท Danaher (+38.59% YTD) บริษัท China Tower (+38.51% YTD) ด้านหุ้นที่ถือครองในกลุ่มสถาบันการเงินและพลังงานให้ผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนี อาทิ บริษัท JP Morgan (+14.52% YTD) บริษัท Encana (-11.24% YTD)

Source: Wellington Global Opportunities, 30 มิ.ย.2019

กราฟ 1: ผลการดำเนินงานรายปีของกองทุนหลัก Wellington Global Opportunities Fund เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ) ข้อมูลวันที่ 30 มิ.ย. 2019

กราฟ 2: หุ้นถือครองสิบอันดับแรกของ Wellington Global Opportunities Fund Source: fund factsheet, Wellington Global Opportunities, 30 มิ.ย. 2019

หุ้นที่สร้างผลตอบแทนสูงสุด/ต่ำสุดให้กับพอร์ตกองทุนหลักในรอบไตรมาสล่าสุด 2Q2019

Positive Contributor

1. Walmart (ราคาเพิ่มขึ้น +18.61% ในไตรมาสสอง)

Sector: Consumer staple

เป็นบริษัทที่น่าสนใจเพราะได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการดำเนินธุรกิจในการจัดการ Supply chain เกือบทั้งหมด ลดกำลังคนลง ส่งผลบวกต่อทั้งประสิทธิภาพและต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ราคาหุ้นปัจจุบัน สะท้อนว่าตลาดประเมินความสามารถในการสร้างผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของบริษัทต่ำเกินไป กองทุนหลักทยอยขายทำกำไรช่วงที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น

2. China Tower (ราคาเพิ่มขึ้น +38.51% ในไตรมาสสอง)

Sector: Communication services

ได้ประโยชน์จากการเร่งติดตั้งเทคโนโลยีสื่อสาร 5G ใช้ในเชิงพาณิชย์ให้กับรัฐบาลจีน ราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนว่าตลาดประเมินความสามารถในการสร้างผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของกิจการต่ำเกินไป

จุดแข็ง: มีอำนาจในการต่อรองทางธุรกิจสูง ครอบครองเสาสัญญาณจำนวนมาก ท่ามกลางสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เชื่อว่ารัฐบาลจีนจะหันมาผลักดันเทคโนโลยี 5G เพื่อสู้ศึกให้จีนก้าวเข้ามาเป็นผู้นำ กองทุนหลักขายทำกำไรในช่วงที่ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้

3. Ferrari (ราคาเพิ่มขึ้น +18.21% ในไตรมาสสอง)

Sector: Consumer discretionary

บริษัทผลิตรถยนต์หรู สัญชาติอิตาลี ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเพราะบริษัทสามารถส่งมอบรถได้มากกว่าที่ตลาดคาด รายได้ออกมาดีเกินกว่าที่ตลาดคาดไว้

จุดขาย: แบรนด์แข็งแกร่ง ผู้บริหารมีวินัย มีผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาอีกหลายตัวในอีก 6-12 เดือนข้างหน้าราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและแพง กองทุนหลักจึงขายทำกำไรออกไป

4. Advanced Micro Devices (ราคาเพิ่มขึ้น +15.21% ในไตรมาสสอง)

Sector: Information Technology

บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์สัญชาติสหรัฐฯ ตั้งแต่ต้นปีบริษัทผลักดันยอดขาย High margin product ได้ดี ตลาดมองข้ามความสามารถของบริษัทในการสร้างผลตอบแทนเทียบเงินลงทุนทั้งที่บริษัทครองส่วนแบ่งตลาดสูง

5. Intercontinental Exchange (ราคาเพิ่มขึ้น +11.61% ในไตรมาสสอง)

Sector: Financials

บริษัททำธุรกิจสร้าง Network ให้กับบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ก่อนหน้านี้ ราคาหุ้นร่วงลงในไตรมาสก่อนหน้าจากประเด็นการเข้ามาควบคุมตลาดเงินตลาดทุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับดูและตลาดหลักทรัพย์ แต่ราคาหุ้นฟื้นตัวหลังความกังวลเริ่มผ่อนคลาย

Negative Contributors

1. EnCana (ราคาลดลง -30.67% ในไตรมาสสอง)

Sector: Energy

บริษัทผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สัญชาติแคนาดา ราคาหุ้นผันผวนจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลง แต่กองทุนหลักมองบวกว่าตลาดมองข้ามความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนของบริษัท อีกทั้งบริษัทยังสามารถยืนหยัดการทำธุรกิจกว่า 27 ประเทศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

2. Alibaba (ราคาลดลง -6.32% ในไตรมาสสอง)

Sector: Consumer discretionary

บริษัทผู้นำด้านอี-คอมเมิร์ซ ของประเทศจีน ราคาหุ้นลดลงจากสงครามการค้าที่ทวีขึ้นในเดือน เม.ย. แต่เนื่องจากบริษัทมีรายได้ที่มาจากในประเทศจีนเป็นหลัก ผู้บริโภคจีนน่าจะเป็นฐานที่ดี หากสงครามการค้ายืดเยื้อ ราคาหุ้นเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือน ก.ค.  หลังบริษัทประกาศว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดฮ่องกง

3. Lowe’s (ราคาลดลง -7.36% ในไตรมาสสอง)

Sector: Consumer discretionary

บริษัทที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์ซ่อมบ้าน ราคาหุ้นร่วงลงจากผลกำไรไตรมาสที่ผ่านมาลดลง กองทุนหลักคาดว่าราคาวัตถุดิบที่ลดลงน่าจะช่วยให้กำไรดีขึ้น

จุดแข็ง : ทีมผู้บริหารบริษัทเก่ง บริษัทสามารถจัดการสินค้าคงคลังในระยะถัดไปได้ดี

4. Vonovia (ราคาลดลง -9.15% ในไตรมาสสอง)

Sector: Real Estate

บริษัท ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนรายใหญ่ที่สุดของเยอรมัน ตลาดกังวลต่อมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่กำลังจะหมดอายุลง กองทุนหลักคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะเริ่มคลี่คลาย

5. ArcelorMittal (ราคาลดลง -17.60% ในไตรมาสสอง)

Sector: Materials

บริษัทเหมืองแร่ที่ใช้ผลิตเหล็กสัญชาติเนเธอร์แลนด์

จุดแข็ง: ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น มีฐานะโดยตรงกับตลาดอสังหาจีนที่มีขนาดใหญ่

กล่าวโดยสรุป ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมองบวกต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งที่ตัวเลขบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงและสงความการค้าที่ทวีความร้อนมากขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางหลักๆ ต่างพร้อมใจส่งสัญญาณสนับสนุนภาคธุรกิจต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังชื่นชอบมุมมองต่อจีนในระยะยาว

Source: Wellington Global Opportunities, 30 มิ.ย. 2019

กลยุทธ์ลงทุนของ Wellington Global Opportunities

แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นทั่วโลก ด้วยการวิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกของบริษัท ประกอบกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจมหภาค โดยพิจารณาจาก

  • ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return to Capital)
  • งบการเงินและโครงสร้างของอุตสาหกรรมเพื่อหาบริษัทที่ให้ผลตอบแทนอย่างยั่งยืนและปรับตัวได้ดี
  • โอกาสการลงทุนอันเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด อย่างเช่นนักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของกำไรในระยะสั้นจนเกินไป

กราฟ : แสดงกระบวนการลงทุนของ Wellington Global Opportunities Fund ซึ่งคัดเลือกบริษัทลงทุนโดยพิจารณาบริษัทที่ตลาดคาดหวังผลตอบแทนต่อเงินลงทุนไว้ต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็น สาเหตุก็เนื่องมาจาก

  1. ตลาดให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลประกอบการและกำไรสุทธิของกิจการในระยะสั้น
  2. ตลาดไม่มีประสิทธิภาพ: เนื่องจากนักลงทุนสนใจให้ความสำคัญกับกลุ่มอุตสาหกรรมใดกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือประเทศในประเทศหนึ่งมากเกินไป
  3. กองทุนเชื่อว่าผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนราคาหุ้นในตลาดของบริษัทจดทะเบียน
  4. ข้อมูลบริษัทที่เกี่ยวกับแนวทางการบริหารสินทรัพย์และแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนจะเป็นตัวบ่งชี้ผลตอบแทนของบริษัทในอนาคต

Source: Wellington Management, 31 March 2019


กองทุนหลักมีการปรับพอร์ตอย่างไรในช่วงที่ผ่านมา (1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2019) 

ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กองทุนหลักเพิ่มน้ำหนักหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น การลงทุนในหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์และอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติสหรัฐฯ ชื่อ Harris Corp. เนื่องจากมองว่าตลาดประเมินความสามารถของบริษัทในการสร้างผลตอบแทนเทียบเงินลงทุนต่ำไป สืบเนื่องจากการควบรวมกับกิจการ ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่าภายหลังการควบรวมจะช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลง

ผู้จัดการกองทุนเพิ่มน้ำหนักหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินสัญชาติสหรัฐฯ (จากช่วงก่อนหน้าที่เคย Underweight หุ้นในกลุ่มธนาคาร) โดยลงทุนในธนาคารชื่อว่า JP Morgan และธนาคารสัญชาติสเปนชื่อว่า Banco Santander สำหรับธนาคาร JP Morgan ตลาดประเมินความสามารถของบริษัทในการสร้างผลตอบแทนต่อเงินลงทุนต่ำไป เนื่องจาก ธนาคารมีต้นทุนทางธุรกรรมสินเชื่อที่ถูกกว่าคู่แข่งด้วยขนาดที่ใหญ่จึงได้เปรียบคู่แข่ง และมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจ สำหรับธนาคาร Banco Santander มีการตัดค่าใช้จ่าย เพิ่มคุณภาพของสินทรัพย์ และอัตราการจ้างงานในสเปนเริ่มดีขึ้น กองทุนหลักได้นำเงินมาจากการขายหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี เช่น Taiwan Semiconductor (ไต้หวัน) และ Micron Technology (สหรัฐฯ) มาใช้ในการซื้อหุ้นข้างต้น เพราะมองเรื่องของผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงคุ้มค่ากว่า

กราฟ : แสดงการปรับพอร์ตของกองทุนหลักจากต้นไตรมาสแรก (สีน้ำเงิน) เทียบกับปลายไตรมาสแรก (สีฟ้า) จำแนกตาม 11 กลุ่มอุตสาหกรรม

หุ้นลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยียังเป็นสัดส่วนการลงทุนส่วนใหญ่ประมาณ 16% กองทุนหลักมีการลงทุนเพิ่มในบริษัทที่ทำธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสาร 16.6% (Overweight มากขึ้นเมื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐาน) และสถาบันการเงิน 16.0% (Underweight น้อยลงเมื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐาน)

ด้านน้ำหนักลงทุนรายภูมิภาค พบว่า กองทุนหลักเริ่มเพิ่มน้ำหนักหุ้นกลุ่มธนาคารยุโรปหลังให้น้ำหนักน้อยกว่าดัชนีมาตลอดปี 2018 ราคาหุ้นลงจากการ Sell-off จนอยู่ระดับที่น่าสนใจ

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Wellington Global Opportunities Equity Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class S

นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนที่จดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์ก มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงหลักทรัพย์ต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นตราสารแห่งทุน เช่น หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก

วันที่จดทะเบียน: กุมภาพันธ์ 2010

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

NAV: USD 22.06

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI AC World Net

Morningstar Category: Large cap Growth

Bloomberg code: WLLGOAU LX

Fund size: USD 477.0 Million

Number of holdings: 104

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูลวันที่ 31 .. 2019)