ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้
ประเด็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ยังมีทีท่าไม่แน่นอน แม้ทรัมป์เลื่อนการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนไปเป็นวันที่ 15 ธ.ค. จากเดิม วันที่ 1 ก.ย. เพื่อเป็นการต่อรองทางการค้ากับจีน แต่เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 30 ปี ลดลงต่ำกว่าระดับ 2% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 โดยอยู่ที่ระดับ 1.96% (ข้อมูล 14 ส.ค. 2562) รวมถึงเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหราชอาณาจักรอายุ 30 ปี ที่ระดับต่ำกว่า 1% เป็นครั้งแรก เนื่องจากนักลงทุนมองหาสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกลัวว่าเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรต่อไป รวมทั้งประเด็นทางการค้าที่ยังมีความไม่ชัดเจน ส่วนจีนได้มีการตอบโต้โดยการจำกัด
ปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ส่งผลให้สงครามการค้าลุกลามบานปลายขึ้นไปอีก ในเวลาเดียวกันกับที่ทางการจีนอนุญาตให้เงินหยวนสามารถหลุดต่ำกว่าระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ได้
ด้านสหรัฐฯ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ (8 – 2) ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.00 – 2.25% ในการประชุมวันที่ 31 ก.ค. 2562 ตรงตามกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าว่าจะลดลงต่อเนื่องอีก 3 ครั้ง เพราะถ้อยคำแถลงของเฟดมีความกังวลใจต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำของสหรัฐฯ เป็นสาเหตุสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ เฟด ยังส่งสัญญาณพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป หากมีความจำเป็น
ด้านยุโรป ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ส่งสัญญาณพร้อมผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ ECB มีมติประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งหมด ทั้งนี้ตลาดได้ให้โอกาส 90% ที่ทาง ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 10 bps ในการประชุมเดือน ก.ย. นี้
ด้านญี่ปุ่น ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติ 7 ต่อ 2 ให้คงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมนโยบายการเงิน และส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยมีสาระสำคัญ คือ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ใกล้ระดับ 0%
ด้านประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 1.75% เหลือ 1.50% ในวันที่ 7 ส.ค. 2562
ปัจจัยบวก/ลบต่อกองทุน
(+) มาตรการภาษีตราสารหนี้ ที่จะเริ่มบังคับใช้กับกองทุนรวมตราสารหนี้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ไม่ได้รับผลกระทบ)
(+) Fitchและ Moody’s ปรับเพิ่มแนวโน้ม (outlook) ของไทยจาก Stable เป็น Positive น่าจะส่งผลบวกต่อตราสารหนี้ไทย
(-) โอกาสลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อีกในอนาคต ส่งผลต่อผลตอบแทนพันธบัตรไทย
(-) ความกังวลถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
(-) ความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้
มุมมองด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
การประชุม กนง. เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2562 ในเดือน ส.ค. มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากเดิม 1.75% เหลือ 1.50% สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับนักวิชาการเพราะมาตรการสกัดเงินร้อนที่ออกมาเมื่อเดือน ก.ค. จะพบว่า แบงก์ชาติพยายามไม่ยุ่งกับเครื่องมือดอกเบี้ย สาเหตุเพราะเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อเศรษฐกิจมากกว่า (ทั้งสนับสนุน และเพิ่มความเสี่ยง) แต่กลายเป็นว่า ในที่สุด ก็ต้องลดดอกเบี้ย สาเหตุหลักๆ ของการลดดอกเบี้ย คือมาจากการที่เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณชะลอตัว และเครื่องยนต์ภาคการส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากการที่เงินลงทุนไหลเข้าไทยต่อเนื่องและทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในเอเชียหากนับตั้งแต่ต้นปี และผลของการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ สิ่งแรกที่แบงก์ชาติหวังว่าจะเกิดขึ้นก็คือ ค่าเงินบาทควรอ่อนค่า ต่างชาติเห็นดอกเบี้ยเราต่ำแบบนี้ น่าจะมีแรงจูงใจในการเอาเงินมาพักไว้น้อยลง อีกสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ Bond Yield จะปรับตัวลดลงในทุกช่วงอายุตรงนี้ ใครลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง ระยะยาวก็จะได้ประโยชนจากราคาที่เพิ่มขึ้นทันที
Market Update: BFRMF
กลยุทธ์ในการบริหารกองทุน: กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
- ชวงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา (กรกฎาคม 2562) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงแทบทุกช่วงอายุคงเหลือ ยกเว้นช่วงระยะสั้น 1 – 3 เดือนที่ปรับเพิ่มขึ้น 2 basis point โดยในช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 10 ปี ปรับลดลงประมาณ 4 – 28 basis point ส่วนช่วงอายุคงเหลือตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปปรับลดลงประมาณ 34 – 55 basis point
- ราคา NAV กองทุน BFRMF ได้เพิ่มขึ้นจาก 14.6426 บาทต่อหน่วย (28 มิ.ย. 2562) เป็น 14.6614 บาทต่อหน่วย (31 ก.ค. 2562)
- ทั้งนี้ ทีมจัดการลงทุนประมาณการว่า ผลตอบแทนในอนาคตก่อนหักค่าใช้จ่ายกองทุน (ในอีก 2 เดือนข้างหน้า) น่าจะอยู่ราว 1.35 – 1.45% ต่อปี โดยมีอัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current yield / Running yield) ก่อนหักค่าใช้จ่ายกองทุน BFRMF อยู่ที่ 1.69%
- Portfolio Duration (ตราสารที่กองทุนถือครองมีอายุเฉลี่ย) 1.58 ปี ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2562
ผลการดำเนินงาน (ข้อมูล ณ 31 กรกฎาคม 2562)