ตลาดการเงินโลกผันผวนในเดือน ส.ค. โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในช่วงต้นเดือนจากความผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง และความกังวลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ที่สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ออกมาอ่อนแอลง เช่น ภาคการผลิตของจีนโตต่ำสุดในรอบ 17 ปี จีดีพีไตรมาสสองของเยอรมนี หดตัวลง 0.1% ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิด Technical Recession เป็นต้น ความกังวลดังกล่าวสะท้อนผ่านภาวะ Inverted Yield Curve ของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ
ด้านสงครามการค้านั้น ยกระดับความรุนแรงขึ้น จากการที่ทรัมป์เดินหน้าขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน แม้ว่าจะมีการเลื่อนการขึ้นภาษีบางส่วนจากเดือน ก.ย. ไปเป็นเดือน ธ.ค. และจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯกว่า 5,000 รายการ เช่นเดียวกัน สงครามการค้าที่ดำเนินไปนั้น ในด้านหนึ่งทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มที่จะส่งสัญญาณชะลอลงบ้าง เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ 50.3 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นต้น และอาจเริ่มส่งผลต่อคะแนนเสียงมากขึ้นต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของทรัมป์ในปีหน้า ทำให้ทรัมป์มีท่าทีที่พร้อมเจรจามากขึ้น
สำหรับตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงก่อนที่จะฟื้นตัวในครึ่งเดือนหลัง ปิดติดลบ 3.3% โดยเป็นแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนสถาบัน 3.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 5.4 หมื่นล้านบาทในเดือนเดียว หลังจากซื้อติดต่อกัน 4 เดือน ทำให้รวมตั้งแต่ต้นปีเหลือยอดซื้อสุทธิ 6.4 พันล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เผชิญเงินทุนต่างชาติไหลออกในเดือนนี้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ สื่อสาร วัสดุก่อสร้าง ธนาคาร และปิโตรเคมี ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่เงินทุนไหลเข้า ได้แก่ อาหาร ขนส่ง และท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับการปรับน้ำหนักหุ้นในดัชนี MSCI Emerging Market (Rebalance) โดยเพิ่มดัชนี China A-Share และซาอุดิอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วน 1.38% และ 0.7% ในดัชนี MSCI ตามลำดับ ทำให้สัดส่วนตลาดหุ้นไทยลดลงเล็กน้อย
ด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไตรมาสสองที่ประกาศออกมา หดตัวลง 16% yoy สาเหตุจาก รายได้และกำไรที่ลดลง รวมถึงการรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียว ขณะที่จีดีพีไตรมาสสองของไทย โตเพียง 2.3% ทำให้สภาพัฒน์ปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ลงเป็น 2.7-3.2% จากเดิมที่ 3.3-3.8%
ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังคงต้องติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงนโยบายของธนาคารกลางหลักๆ และของประเทศไทย ที่ผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อรองรับสภาพกับเศรษฐกิจ โดยภาพรวมยังคงมีความผันผวนอยู่ เราเชื่อว่าจะเป็นจังหวะที่เป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในหุ้นที่ดี ในระดับราคาเหมาะสม
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดการเงินโลกผันผวนในเดือน ส.ค. โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในช่วงต้นเดือนจากความผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง และความกังวลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ที่สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ออกมาอ่อนแอลง เช่น ภาคการผลิตของจีนโตต่ำสุดในรอบ 17 ปี จีดีพีไตรมาสสองของเยอรมนี หดตัวลง 0.1% ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิด Technical Recession เป็นต้น ความกังวลดังกล่าวสะท้อนผ่านภาวะ Inverted Yield Curve ของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ
ด้านสงครามการค้านั้น ยกระดับความรุนแรงขึ้น จากการที่ทรัมป์เดินหน้าขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน แม้ว่าจะมีการเลื่อนการขึ้นภาษีบางส่วนจากเดือน ก.ย. ไปเป็นเดือน ธ.ค. และจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯกว่า 5,000 รายการ เช่นเดียวกัน สงครามการค้าที่ดำเนินไปนั้น ในด้านหนึ่งทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มที่จะส่งสัญญาณชะลอลงบ้าง เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ 50.3 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นต้น และอาจเริ่มส่งผลต่อคะแนนเสียงมากขึ้นต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของทรัมป์ในปีหน้า ทำให้ทรัมป์มีท่าทีที่พร้อมเจรจามากขึ้น
สำหรับตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงก่อนที่จะฟื้นตัวในครึ่งเดือนหลัง ปิดติดลบ 3.3% โดยเป็นแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนสถาบัน 3.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 5.4 หมื่นล้านบาทในเดือนเดียว หลังจากซื้อติดต่อกัน 4 เดือน ทำให้รวมตั้งแต่ต้นปีเหลือยอดซื้อสุทธิ 6.4 พันล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เผชิญเงินทุนต่างชาติไหลออกในเดือนนี้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ สื่อสาร วัสดุก่อสร้าง ธนาคาร และปิโตรเคมี ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่เงินทุนไหลเข้า ได้แก่ อาหาร ขนส่ง และท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับการปรับน้ำหนักหุ้นในดัชนี MSCI Emerging Market (Rebalance) โดยเพิ่มดัชนี China A-Share และซาอุดิอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วน 1.38% และ 0.7% ในดัชนี MSCI ตามลำดับ ทำให้สัดส่วนตลาดหุ้นไทยลดลงเล็กน้อย
ด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไตรมาสสองที่ประกาศออกมา หดตัวลง 16% yoy สาเหตุจาก รายได้และกำไรที่ลดลง รวมถึงการรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียว ขณะที่จีดีพีไตรมาสสองของไทย โตเพียง 2.3% ทำให้สภาพัฒน์ปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ลงเป็น 2.7-3.2% จากเดิมที่ 3.3-3.8%
ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังคงต้องติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงนโยบายของธนาคารกลางหลักๆ และของประเทศไทย ที่ผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อรองรับสภาพกับเศรษฐกิจ โดยภาพรวมยังคงมีความผันผวนอยู่ เราเชื่อว่าจะเป็นจังหวะที่เป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในหุ้นที่ดี ในระดับราคาเหมาะสม