ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงผันผวน ท่ามกลางความเสี่ยงที่ก่อตัวมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ดำเนินไป ได้ทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเริ่มส่งสัญญาณอ่อนแอลง และเริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ โดยล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหรัฐ หดตัวลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี และเศรษฐกิจจีนในไตรมาสองเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 27 ไตรมาส ด้านเศรษฐกิจยุโรปยังคงฟื้นตัวช้า โดยถ้าหากเยอรมนีซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เศรษฐกิจติดลบต่อในไตรมาสสาม จะทำให้เกิดสถานการณ์ ‘Technical Recession’ รวมถึงความเสี่ยง Brexit ที่ยังคงไร้ทางออกที่ชัดเจน
ด้วยความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ธนาคารกลางหลักๆ จึงพร้อมเพรียงกันในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ทั้งการหยุดการลดขนาดงบดุลของ Fed และการกลับมาทำ QE ของ ECB ทำให้สภาพคล่องทางการเงินโลกกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยคาดว่า อิทธิพลจากนโยบายการเงินในรอบนี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้า สภาพคล่องทางการเงินโลกที่ล้นในปัจจุบันนี้ ได้ทำให้พันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราดอกเบี้ยติดลบ เพิ่มขึ้นไปสูงถึง 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว หรือคิดเป็นหนึ่งในสามของพันธบัตรที่เป็น Investment Grade ทั้งหมด
แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนจะยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง นักลงทุนยังคงมั่นใจว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดำเนินมายาวนานที่สุด นับจากยุคหลังสงครามโลกจะยังคงดำเนินต่อไป อย่างน้อยก็ในระยะข้างหน้า โดยดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐนั้น อยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น โดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่โหมดการขยายตัวระดับต่ำ มากกว่าที่จะเป็นเศรษฐกิจถดถอย ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจหลายๆตัวที่อ่อนแอลง แต่ไม่ได้แย่ลงอย่างรุนแรง ทำให้กลยุทธ์การลงทุนในช่วงต่อจากนี้จะเป็นแบบ Selective มากขึ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม โดยในเดือนกันยายนปรับตัวลดลงอีกประมาณ 1% จากแรงขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ 11,658 ล้านบาท และจากนักลงทุนสถาบัน 8,164 ล้านบาท ทำให้ตลาดยังไม่สามารถประคองตัวอยู่ได้ ขณะที่ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนได้มีการปรับลดลงต่อเนื่อง ความหวังของเศรษฐกิจไทยจึงอยู่ที่การพิจารณา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2020 ความคืบหน้าโครงการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จากทางภาครัฐ ว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด
การลงทุนในช่วงโค้งสุดท้ายของปีจะยังมีแนวโน้มผันผวน อย่างไรก็ตาม ตลาดได้ซึมซึบปัจจัยลบไปบ้างแล้ว ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยใหม่ หากผลลัพธ์จากเหตุการณ์ความเสี่ยงต่างๆ ออกมาในด้านดี บรรยากาศการลงทุนอาจกลับมาเป็นเชิงบวกได้ ทั้งนี้ เม็ดเงิน LTF และ RMF ที่มักจะไหลเข้ามาในไตรมาสสุดท้ายของปี อาจจะช่วยประคองตลาดหุ้นในได้บ้าง แต่ Upside ของหุ้นไทยยังค่อนข้างจำกัดจากแนวโน้มผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยังไม่โดดเด่นนัก จึงเชื่อว่า ถ้าตลาดปรับตัวลดลง จะเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงผันผวน ท่ามกลางความเสี่ยงที่ก่อตัวมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ดำเนินไป ได้ทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเริ่มส่งสัญญาณอ่อนแอลง และเริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ โดยล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหรัฐ หดตัวลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี และเศรษฐกิจจีนในไตรมาสองเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 27 ไตรมาส ด้านเศรษฐกิจยุโรปยังคงฟื้นตัวช้า โดยถ้าหากเยอรมนีซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เศรษฐกิจติดลบต่อในไตรมาสสาม จะทำให้เกิดสถานการณ์ ‘Technical Recession’ รวมถึงความเสี่ยง Brexit ที่ยังคงไร้ทางออกที่ชัดเจน
ด้วยความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ธนาคารกลางหลักๆ จึงพร้อมเพรียงกันในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ทั้งการหยุดการลดขนาดงบดุลของ Fed และการกลับมาทำ QE ของ ECB ทำให้สภาพคล่องทางการเงินโลกกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยคาดว่า อิทธิพลจากนโยบายการเงินในรอบนี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้า สภาพคล่องทางการเงินโลกที่ล้นในปัจจุบันนี้ ได้ทำให้พันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราดอกเบี้ยติดลบ เพิ่มขึ้นไปสูงถึง 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว หรือคิดเป็นหนึ่งในสามของพันธบัตรที่เป็น Investment Grade ทั้งหมด
แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนจะยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง นักลงทุนยังคงมั่นใจว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดำเนินมายาวนานที่สุด นับจากยุคหลังสงครามโลกจะยังคงดำเนินต่อไป อย่างน้อยก็ในระยะข้างหน้า โดยดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐนั้น อยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น โดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่โหมดการขยายตัวระดับต่ำ มากกว่าที่จะเป็นเศรษฐกิจถดถอย ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจหลายๆตัวที่อ่อนแอลง แต่ไม่ได้แย่ลงอย่างรุนแรง ทำให้กลยุทธ์การลงทุนในช่วงต่อจากนี้จะเป็นแบบ Selective มากขึ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม โดยในเดือนกันยายนปรับตัวลดลงอีกประมาณ 1% จากแรงขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ 11,658 ล้านบาท และจากนักลงทุนสถาบัน 8,164 ล้านบาท ทำให้ตลาดยังไม่สามารถประคองตัวอยู่ได้ ขณะที่ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนได้มีการปรับลดลงต่อเนื่อง ความหวังของเศรษฐกิจไทยจึงอยู่ที่การพิจารณา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2020 ความคืบหน้าโครงการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จากทางภาครัฐ ว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด
การลงทุนในช่วงโค้งสุดท้ายของปีจะยังมีแนวโน้มผันผวน อย่างไรก็ตาม ตลาดได้ซึมซึบปัจจัยลบไปบ้างแล้ว ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยใหม่ หากผลลัพธ์จากเหตุการณ์ความเสี่ยงต่างๆ ออกมาในด้านดี บรรยากาศการลงทุนอาจกลับมาเป็นเชิงบวกได้ ทั้งนี้ เม็ดเงิน LTF และ RMF ที่มักจะไหลเข้ามาในไตรมาสสุดท้ายของปี อาจจะช่วยประคองตลาดหุ้นในได้บ้าง แต่ Upside ของหุ้นไทยยังค่อนข้างจำกัดจากแนวโน้มผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยังไม่โดดเด่นนัก จึงเชื่อว่า ถ้าตลาดปรับตัวลดลง จะเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี