ในเดือนตุลาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในช่วงระยะ 1 ถึง 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1-4 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระยะ 15 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 9 bps การปรับขึ้นตลอดทุกช่วงอายุเป็นไปตามแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่มีแรงซื้อในตลาดพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยปรับตัวลดลง ภายหลังจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีท่าทีที่ผ่อนคลายขึ้น โดยปธน.ทรัมป์ ประกาศว่าทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงในเบื้องต้น (First Phase of Trade Deal) อันจะส่งผลให้สหรัฐฯ มีการยกเลิกแผนการจัดเก็บภาษีนำเข้า 30% บนสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวม $250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่จีนจะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่ารวม $40,000-50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงจะทบทวนนโยบายการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และการบริหารจัดการด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
สำหรับตลาดหุ้นกู้บริษัทเอกชน หลังจากที่การจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยตราสารหนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการออกหุ้นกู้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ปรับตัวลดลงกว่า 60% เมื่อเทียบกับช่วงวันที่ 1-19 สิงหาคม รวมถึงมูลค่าการซื้อขายหุ้นกู้โดยกลุ่มกองทุนก็ปรับลดลงกว่า 33% ขณะที่ผลตอบแทนโดยพิจารณาจาก Credit spread สำหรับหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตระหว่าง A ถึง AAA ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2-11 bps สะท้อนให้เห็นถึงแรงซื้อที่ลดลงจากผลตอบแทนหลังหักภาษีที่ปรับลดลง สำหรับหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตที่ระดับบ BBB ไม่มีการเปลี่ยนแปลง Credit spread เนื่องจากตราสารหนี้ในกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่เริ่มมีผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างมากอยู่แล้ว
ประเด็นสำคัญที่อาจกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนนี้ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ที่ล่าสุดได้ประกาศลดดอกเบี้ยในวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมาก โดยธปท.มีแรงกดดันอย่างต่อเนื่องต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ภายหลังจากที่ FOMC ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 1.50%-1.75% ขณะที่เกาหลีใต้ซึ่งมีการเคลื่อนไหวอัตราดอกเบี้ยไปในทิศทางเดียวกับธปท. มาโดยตลอด ก็ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลดมาอยู่ที่ 1.25%
นอกจากนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในเดือนกันยายน ได้ส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จากการส่งออกที่หดตัว 1.40% ขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 28 เดือน ที่ 0.11% โดยล่าสุดทาง IMF ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงเหลือ 2.9% นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่อาจส่งผลกระทบเพิ่มเติมในเรื่องสงครามการค้า ที่ถึงแม้จะมีทิศทางที่ดีขึ้นตามที่กล่าวไว้ แต่ปัจจัยดังกล่าวยังสามารถเปลี่ยนทิศทาง และมีโอกาสที่ตลาดจะกลับเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้งได้ตลอดเวลา
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะข้างหน้ายังคงต้องติดตามทั้งปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยกองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับคงที่จนถึงสิ้นปีนี้ จากแนวโน้มการชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อซึ่งคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แรงกดดันต่ออัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ต่อจากนี้ อาจอยู่ในระดับจำกัด หลังจาก Fed เองก็ส่งสัญญาณในการสิ้นสุดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่ธปท. เองก็ยังคงพิจารณาเสถียรภาพของระบบการเงินในประเทศเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวในระยะสั้น ซึ่งจะเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าลงทุน
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนตุลาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในช่วงระยะ 1 ถึง 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1-4 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระยะ 15 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 9 bps การปรับขึ้นตลอดทุกช่วงอายุเป็นไปตามแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่มีแรงซื้อในตลาดพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยปรับตัวลดลง ภายหลังจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีท่าทีที่ผ่อนคลายขึ้น โดยปธน.ทรัมป์ ประกาศว่าทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงในเบื้องต้น (First Phase of Trade Deal) อันจะส่งผลให้สหรัฐฯ มีการยกเลิกแผนการจัดเก็บภาษีนำเข้า 30% บนสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวม $250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่จีนจะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่ารวม $40,000-50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงจะทบทวนนโยบายการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และการบริหารจัดการด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
สำหรับตลาดหุ้นกู้บริษัทเอกชน หลังจากที่การจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยตราสารหนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการออกหุ้นกู้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ปรับตัวลดลงกว่า 60% เมื่อเทียบกับช่วงวันที่ 1-19 สิงหาคม รวมถึงมูลค่าการซื้อขายหุ้นกู้โดยกลุ่มกองทุนก็ปรับลดลงกว่า 33% ขณะที่ผลตอบแทนโดยพิจารณาจาก Credit spread สำหรับหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตระหว่าง A ถึง AAA ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2-11 bps สะท้อนให้เห็นถึงแรงซื้อที่ลดลงจากผลตอบแทนหลังหักภาษีที่ปรับลดลง สำหรับหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตที่ระดับบ BBB ไม่มีการเปลี่ยนแปลง Credit spread เนื่องจากตราสารหนี้ในกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่เริ่มมีผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างมากอยู่แล้ว
ประเด็นสำคัญที่อาจกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนนี้ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ที่ล่าสุดได้ประกาศลดดอกเบี้ยในวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมาก โดยธปท.มีแรงกดดันอย่างต่อเนื่องต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ภายหลังจากที่ FOMC ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 1.50%-1.75% ขณะที่เกาหลีใต้ซึ่งมีการเคลื่อนไหวอัตราดอกเบี้ยไปในทิศทางเดียวกับธปท. มาโดยตลอด ก็ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลดมาอยู่ที่ 1.25%
นอกจากนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในเดือนกันยายน ได้ส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จากการส่งออกที่หดตัว 1.40% ขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 28 เดือน ที่ 0.11% โดยล่าสุดทาง IMF ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงเหลือ 2.9% นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่อาจส่งผลกระทบเพิ่มเติมในเรื่องสงครามการค้า ที่ถึงแม้จะมีทิศทางที่ดีขึ้นตามที่กล่าวไว้ แต่ปัจจัยดังกล่าวยังสามารถเปลี่ยนทิศทาง และมีโอกาสที่ตลาดจะกลับเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้งได้ตลอดเวลา
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะข้างหน้ายังคงต้องติดตามทั้งปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยกองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับคงที่จนถึงสิ้นปีนี้ จากแนวโน้มการชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อซึ่งคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แรงกดดันต่ออัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ต่อจากนี้ อาจอยู่ในระดับจำกัด หลังจาก Fed เองก็ส่งสัญญาณในการสิ้นสุดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่ธปท. เองก็ยังคงพิจารณาเสถียรภาพของระบบการเงินในประเทศเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวในระยะสั้น ซึ่งจะเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าลงทุน