BF Economic Research
- การส่งออกไทยเดือน ต.ค. อยู่ที่ 20,757.8 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 20,481.3 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -4.54% YoY (vs prev -1.39% YoY) ถ้าไม่รวมทองหดตัว -4.3% (vs prev -2.3%YoY)
- ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 20,251.3 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 19,206.1 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -7.57% YoY (vs prev -4.2%YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 506.5 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 1,275.2 ล้านดอลลาร์ฯ)
- สำหรับในช่วง 10 เดือนของปี 2019 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกมีมูลค่ารวม 207,329.7 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.35% YoY (ปีก่อน 10-month YTD อยู่ที่ 8.4% YoY)
- ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวม 199,441 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -4.09% YoY (ปีก่อน 10-month YTD อยู่ที่ 11% YoY) เกินดุลการค้าสะสม 7,887.9 ล้านดอลลาร์ฯ (ปีก่อน 10-month YTD อยู่ที่ 3,367.3 ล้านดอลลาร์ฯ)
เรามองว่าถ้าสองเดือนสุดท้ายของปี มูลค่าการส่งออกของไทยทำได้เท่ากับปีที่แล้ว (คือ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนพ.ย. และ 19,381 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนธ.ค.) การส่งออกไทยทั้งปีจะหดตัวที่ -2.0% และด้วยดุลการค้าสะสมที่สูงกว่าปีก่อนเกินสองเท่าน่าจะเป็นแรงกดดันค่าเงินบาทให้แข็งค่าต่อไป
สาขาเกษตรและอุตสาหกรรม – การเกษตรหดตัวที่ -4.3% YoY สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ สาขาเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรหดตัวที่ -4.3% YoY สินค้าที่ขยายตัวได้ดีได้แก่ น้ำตาลทราย ขยายตัว 28.7% YoY (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย จีน กัมพูชา มาเลเซีย และ เกาหลีใต้) เครื่องดื่ม ขยายตัว 14.4%YoY (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เวียดนาม เมียนมา จีน และสิงคโปร์) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 4.6%YoY (ขยายตัวในตลาดจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวัน) ไก่สด แช่แข็งและแปรรูป ขยายตัว 2.3%YoY (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และมาเลเซีย)สินค้าเกษตรที่หดตัว ได้แก่ ข้าว หดตัว -26.6%YoY ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัว -25.2%YoY ยางพารา หดตัว -22.9%YoY กุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูปหดตัว -6.6%YoY รวม 10 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัว -2.4% YoY
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัว -2.6 YoY สินค้าสำคัญที่ยังขยายตัวได้ดีได้แก่ นาฬิกา และส่วนประกอบขยายตัว 72.0% YoY (ขยายตัวในตลาดไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ และเยอรมนี) รถจักรยานยนต์และ ส่วนประกอบ ขยายตัว 34.9%YoY (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ กัมพูชา สหราชอาณาจักร และจีน) เฟอร์นิเจอร์และ ชิ้นส่วน ขยายตัว 18.7% YoY (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน สหราชอาณาจักร และเวียดนาม) เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ขยายตัว 14.3% YoY (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมา) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว -25.8% YoY ทองคำ หดตัว -22.2% YoY เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์หดตัว -13.5%YoY เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และ ส่วนประกอบหดตัว -6.3%YoY รวม 10 เดือนแรกของปีมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว -1.4%YoY
การส่งออกไปสหรัฐฯ และญี่ปุ่นขยายตัว 4.8% และ 0.5% ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปสหภาพยุโรปหดตัว -8.8% ด้านการส่งออกไป ส่วนการส่งออกไป CLMV หดตัว -9.9% YoY อาเซียน-5 หดตัว -8.9% YoY และจีน-4.2%YoY ตามลำดับ