ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ ยังคงอยู่ที่การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะสามารถลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกันได้ในเร็ววันนี้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินหยวนที่กลับมาแข็งค่าขึ้นทะลุระดับจิตวิทยาที่ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปแล้วทั้งสองฝ่ายยังคงไม่สามารถลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรกันได้และการที่ปธน.ทรัมป์ได้ลงนามร่างกฎหมายสนับสนุนผู้ชุมนุมในฮ่องกง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อการเจรจาทางการค้าอีกครั้ง และกดดันตลาดหุ้นในช่วงปลายเดือน
ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ที่ออกมานั้น หลายแห่งเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวได้บ้าง นำโดยสหรัฐที่ GDP ไตรมาสสาม ขยายตัว 2.1% (QoQ SAAR) ดีกว่าตลาดคาด และอัตราเงินเฟ้อต่ำลงเหลือ 1.6% สนับสนุนโอกาสที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำได้นานขึ้น ด้านเศรษฐกิจจีน ตัวเลข PMI ภาคการผลิตของทางการจีน เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว เพิ่มขึ้น 0.3 จุด มาที่ 51.7 จุด ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจยุโรป แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะยังคงปรับตัวลงต่อ และอยู่จุดต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี แต่ดัชนีฝ่ายจัดซื้อรวมเริ่มฟื้นตัวจากระดับต่ำได้บ้าง รวมถึงเศรษฐกิจเยอรมันที่ GDP ไตรมาสสาม ออกมาขยายตัว 0.1% QoQ ทำให้รอดพ้นภาวะ ‘Technical Recession’ โดยภาพรวมแล้ว มีโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดในช่วงสั้นแล้ว
ด้านตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวลง 0.68% ปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลก หลักๆเกิดจากการขายทำกำไรในหุ้นกลุ่ม Yield Play ได้แก่ กลุ่มสื่อสารและกลุ่มสาธารณูปโภค จากการที่อัตราดอกเบี้ยของ Fed มีโอกาสที่จะไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว ภาพรวมผลประกอบการไตรมาสสามที่อ่อนแอลง ทำให้มีการปรับประมาณการ eps ของตลาดลง และปัจจัยจากการเพิ่มน้ำหนัก China A Share ของ MSCI ในรอบสุดท้ายของปีนี้ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักของตลาดหุ้นไทยลดลง กดดัน Fund Flow ของตลาดหุ้นไทยในเดือนนี้ ขณะที่ภาคเศรษฐกิจ เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนกันยายนยังคงเปราะบาง ได้แก่ จากการหดตัวต่อเนื่องในหมวดสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวเป็นวงกว้าง ขณะที่ ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี
แนวโน้มการลงทุนต่อจากนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีโอกาสมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเหตุการณ์ความเสี่ยงของสงครามการค้าและ Brexit ที่กำลังมีพัฒนาการไปในเชิงบวก ภาคการผลิตทั่วโลกที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และการอัดฉีดสภาพคล่องจากธนาคารกลางหลักทั้ง Fed, ECB และ BOJ ได้ช่วยลดความผันผวนในตลาดเงิน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังต้องติดตามให้ภาคการส่งออกฟื้นตัว การเบิกจ่ายงบประมาณในต้นปีหน้า และเม็ดเงินการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ภาคการบริโภคในประเทศกลับมาฟื้นตัวขึ้นได้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนั้น ยังเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะกลาง-ยาวด้วย จึงเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้ามีโอกาสที่จะฟื้นขึ้นตามเศรษฐกิจโลกได้ในที่สุด
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ ยังคงอยู่ที่การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะสามารถลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกันได้ในเร็ววันนี้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินหยวนที่กลับมาแข็งค่าขึ้นทะลุระดับจิตวิทยาที่ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปแล้วทั้งสองฝ่ายยังคงไม่สามารถลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรกันได้และการที่ปธน.ทรัมป์ได้ลงนามร่างกฎหมายสนับสนุนผู้ชุมนุมในฮ่องกง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อการเจรจาทางการค้าอีกครั้ง และกดดันตลาดหุ้นในช่วงปลายเดือน
ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ที่ออกมานั้น หลายแห่งเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวได้บ้าง นำโดยสหรัฐที่ GDP ไตรมาสสาม ขยายตัว 2.1% (QoQ SAAR) ดีกว่าตลาดคาด และอัตราเงินเฟ้อต่ำลงเหลือ 1.6% สนับสนุนโอกาสที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำได้นานขึ้น ด้านเศรษฐกิจจีน ตัวเลข PMI ภาคการผลิตของทางการจีน เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว เพิ่มขึ้น 0.3 จุด มาที่ 51.7 จุด ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจยุโรป แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะยังคงปรับตัวลงต่อ และอยู่จุดต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี แต่ดัชนีฝ่ายจัดซื้อรวมเริ่มฟื้นตัวจากระดับต่ำได้บ้าง รวมถึงเศรษฐกิจเยอรมันที่ GDP ไตรมาสสาม ออกมาขยายตัว 0.1% QoQ ทำให้รอดพ้นภาวะ ‘Technical Recession’ โดยภาพรวมแล้ว มีโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดในช่วงสั้นแล้ว
ด้านตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวลง 0.68% ปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลก หลักๆเกิดจากการขายทำกำไรในหุ้นกลุ่ม Yield Play ได้แก่ กลุ่มสื่อสารและกลุ่มสาธารณูปโภค จากการที่อัตราดอกเบี้ยของ Fed มีโอกาสที่จะไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว ภาพรวมผลประกอบการไตรมาสสามที่อ่อนแอลง ทำให้มีการปรับประมาณการ eps ของตลาดลง และปัจจัยจากการเพิ่มน้ำหนัก China A Share ของ MSCI ในรอบสุดท้ายของปีนี้ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักของตลาดหุ้นไทยลดลง กดดัน Fund Flow ของตลาดหุ้นไทยในเดือนนี้ ขณะที่ภาคเศรษฐกิจ เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนกันยายนยังคงเปราะบาง ได้แก่ จากการหดตัวต่อเนื่องในหมวดสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวเป็นวงกว้าง ขณะที่ ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี
แนวโน้มการลงทุนต่อจากนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีโอกาสมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเหตุการณ์ความเสี่ยงของสงครามการค้าและ Brexit ที่กำลังมีพัฒนาการไปในเชิงบวก ภาคการผลิตทั่วโลกที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และการอัดฉีดสภาพคล่องจากธนาคารกลางหลักทั้ง Fed, ECB และ BOJ ได้ช่วยลดความผันผวนในตลาดเงิน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังต้องติดตามให้ภาคการส่งออกฟื้นตัว การเบิกจ่ายงบประมาณในต้นปีหน้า และเม็ดเงินการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ภาคการบริโภคในประเทศกลับมาฟื้นตัวขึ้นได้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนั้น ยังเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะกลาง-ยาวด้วย จึงเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้ามีโอกาสที่จะฟื้นขึ้นตามเศรษฐกิจโลกได้ในที่สุด