ใกล้สิ้นปีแล้ว ซื้อ RMF กองไหนดี?

ใกล้สิ้นปีแล้ว ซื้อ RMF กองไหนดี?

ใกล้สิ้นปีแล้ว ซื้อ RMF กองไหนดี?

โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน

BF Knowledge Center

ช่วงปลายปีโดยเฉพาะเดือนธันวาคม คำถามยอดฮิตที่นักลงทุนชอบถามก็คือ “จะสิ้นปีแล้ว ยังไม่ได้ซื้อกองทุน RMF เลย ปีนี้มีกองทุนไหนดีๆ น่าลงทุน ขอคำแนะนำหน่อย”  นักลงทุนคงคาดหวังว่าผู้แนะนำการลงทุนจะชี้เป้ากองทุนที่ให้ผลตอบแทนดีๆ ให้

ถ้าต้องให้คำแนะนำแบบง่ายๆ ขอใช้อายุของนักลงทุนเป็นเณฑ์ในการเลือกกองทุน RMF ดังนี้

1.นักลงทุนที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ขอแนะนำให้ลงทุนในกองทุน RMF ตราสารทุนหรือหุ้น เพราะท่านยังมีเวลาออมและลงทุนอีกนานหลายปีกว่าจะได้ใช้เงินก้อนนี้ในวัยเกษียณ จึงสามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวได้ กองทุนหุ้น RMF มีให้เลือกมากมาย โดยแยกประเภทให้เลือกง่ายๆ ดังนี้

  • กองทุนที่ลงทุนในหุ้นได้ทั้งตลาด (Market) กับ กองทุนที่ลงทุนเฉพาะอุตสาหกรรม (Sector)
  • กองทุนที่ลงในตลาดหุ้นไทย กับ กองทุนหุ้นต่างประเทศ

โดยมีกองทุนที่น่าสนใจในแต่ละประเภทดังนี้

2.ท่านที่มีอายุมากกว่า 40 ปี แต่ไม่เกิน 55 ปี ได้สะสมเงินลงทุนมาได้พอสมควร ขอแนะนำให้ปรับลดระดับความเสี่ยง โดยลงทุนในกองทุนผสมหรือกองทุนสินทรัพย์ทางเลือกที่มีความเสี่ยงปานกลาง ทั้งเงินเดิมที่ได้สะสมมาและเงินที่จะลงทุนเพิ่ม

กองทุนที่น่าสนใจได้แก่

  • กองทุนบัวหลวงหุ้น 25% RMF
  • กองทุนบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ล RMF
  • กองทุน FOF บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ RMF

3.นักลงทุนที่กำลังจะเข้าสู่วัยเกษียณ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) ซึ่งได้เก็บเงินมามากพอแล้ว จะต้องใช้เงินที่เก็บสะสมมาภายในเวลาไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า ควรลดสินทรัพย์เสี่ยงและลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อเน้นรักษาเงินออม ขอแนะนำให้เปลี่ยนไปลงทุนใน กองทุนตราสารหนี้ RMF ทั้งหมด

หากนักลงทุนต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยงและหาผลตอบแทนที่เหมาะสม  แนะนำให้ใช้แผนการลงทุนแบบพอร์ตที่มีการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) โดยกองทุนบัวหลวงมีแผนลงทุน 5 แบบ ตามระดับความเสี่ยงให้นักลงทุนได้เลือกดังนี้ (รายละเอียดโปรดดูใน Bualaung Fund  Application)

แต่คำแนะนำทั้ง 2 วิธี ยังพิจารณาเฉพาะปัจจัยด้านอายุของนักลงทุนเพียงอย่างเดียว วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกแผนลงทุนและกองทุนที่เหมาะสม ควรพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย ได้แก่ ความรู้ ประสบการณ์ด้านการลงทุน ระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ ระยะเวลาในการใช้เงิน สัดส่วนเงินที่ลงทุน โดยนักลงทุนสามารถพิจารณาได้ด้วยตัวเอง เพียงทำแบบประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ใน ใน Bualaung Fund Application ซึ่งจะประเมินจากข้อมูลของแต่ละคนและให้คำแนะนำว่าท่านเหมาะสมกับแผนการลงทุนแบบใด

ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จกับกองทุนและแผนการลงทุนที่ท่านเลือก