ในเดือน พ.ย. Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวในทิศทางที่ชันขึ้น โดยส่วนต่าง Yield Gap 10Y-2Y ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 12bps ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 39bps ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนแบ่งออกเป็ น 2 ช่วง โดยพันธบัตรอายุสั้นกว่า 4ปี มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวลดลง 2-13 bps ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามนโยบาย กนง. ที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 1.25% ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นที่มีผลตอบแทนสูงกว่า policy rate อย่างไรก็ตาม สำหรับพันธบัตรอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-25 bps จากแนวโน้มตลาดที่เป็น Risk-on mode จากสงครามทางการค้าที่มีท่าทีผ่อนคลายขึ้น หลังจากที่ข้อตกลง
เบื้องต้น (First Phase of Trade Deal) มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนมีการขายสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 13bps มาอยู่ที่ 1.69% ขณะที่ผลตอบแทน US Treasury ระยะ 10 ปี อยู่ที่ 1.76% ส่งผลให้มี Yield gap ระหว่างพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ อยู่ที่ 8 bps
สำหรับตลาดหุ้นกู้บริษัทเอกชนในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา มีการออกหุ้นกู้ใหม่รวมเป็นจำนวนเกินกว่า 1 ล้านล้านบาท ปรับสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปริมาณการออกหุ้นกู้ของทั้งปี 2561 ที่ระดับ 8.8 แสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาภาคธุรกิจได้มีการซื้อกิจการใหญ่หลายโครงการจึงต้องมีการออกหุ้นกู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่งผลให้ผลตอบแทนหุ้นกู้โดยพิจารณาจาก Credit spread สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม Investment grade ปรับเพิ่มขึ้น 2-10 bps (ยกเว้นกลุ่ม AA ที่มี Credit spread ปรับลดลง) อย่างไรก็ตามคาดว่าการออกหุ้นกู้ในปี 2563 จะปรับตัวลดลง จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้คาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนซื้อ
กิจการลดลง
ประเด็นสำคัญที่อาจกระทบต่ออัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในเดือนนี้ ได้แก่
- ปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังชะลอตัวต่อเนื่อง โดยการประกาศตัวเลข CPI ล่าสุดประจำเดือนพฤศจิกายน อยู่ในระดับต่ำเพียง 0.2% ซึ่งต่ำกว่าเป้ าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระดับ 1-4% เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.8% ปรับลดลงจากประมาณการในเดือนมิถุนายน ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 3.3%
- ความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ส่งผลให้ปริมาณพันธบัตรที่ออกประมูลในช่วงปลายปีนี้ อยู่ในระดับต่ำ ก่อนจะมีปริมาณพันธบัตรทยอยเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2563
- ประเด็นด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ถึงแม้จะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ปัจจัยดังกล่าวยังสามารถเปลี่ยนทิศทางและมีโอกาสที่ตลาดจะกลับเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้งได้ตลอดเวลา โดยล่าสุด ปธน.ทรัมป์ ได้มีการลงนามในกฎหมายปกป้องเสรีภาพในฮ่องกง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศอีกครั้ง
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทย ยังคงต้องติดตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางหลักของโลกอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศ โดยกองทุนบัวหลวงคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปีนี้ จากแนวโน้มการชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อซึ่งคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดีความผันผวนในระยะสั้นจากแรงขายพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยซึ่งจะเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าลงทุน
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือน พ.ย. Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวในทิศทางที่ชันขึ้น โดยส่วนต่าง Yield Gap 10Y-2Y ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 12bps ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 39bps ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนแบ่งออกเป็ น 2 ช่วง โดยพันธบัตรอายุสั้นกว่า 4ปี มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวลดลง 2-13 bps ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามนโยบาย กนง. ที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 1.25% ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นที่มีผลตอบแทนสูงกว่า policy rate อย่างไรก็ตาม สำหรับพันธบัตรอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-25 bps จากแนวโน้มตลาดที่เป็น Risk-on mode จากสงครามทางการค้าที่มีท่าทีผ่อนคลายขึ้น หลังจากที่ข้อตกลง
เบื้องต้น (First Phase of Trade Deal) มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนมีการขายสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 13bps มาอยู่ที่ 1.69% ขณะที่ผลตอบแทน US Treasury ระยะ 10 ปี อยู่ที่ 1.76% ส่งผลให้มี Yield gap ระหว่างพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ อยู่ที่ 8 bps
สำหรับตลาดหุ้นกู้บริษัทเอกชนในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา มีการออกหุ้นกู้ใหม่รวมเป็นจำนวนเกินกว่า 1 ล้านล้านบาท ปรับสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปริมาณการออกหุ้นกู้ของทั้งปี 2561 ที่ระดับ 8.8 แสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาภาคธุรกิจได้มีการซื้อกิจการใหญ่หลายโครงการจึงต้องมีการออกหุ้นกู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่งผลให้ผลตอบแทนหุ้นกู้โดยพิจารณาจาก Credit spread สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม Investment grade ปรับเพิ่มขึ้น 2-10 bps (ยกเว้นกลุ่ม AA ที่มี Credit spread ปรับลดลง) อย่างไรก็ตามคาดว่าการออกหุ้นกู้ในปี 2563 จะปรับตัวลดลง จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้คาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนซื้อ
กิจการลดลง
ประเด็นสำคัญที่อาจกระทบต่ออัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในเดือนนี้ ได้แก่
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทย ยังคงต้องติดตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางหลักของโลกอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศ โดยกองทุนบัวหลวงคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปีนี้ จากแนวโน้มการชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อซึ่งคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดีความผันผวนในระยะสั้นจากแรงขายพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยซึ่งจะเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าลงทุน