ในเดือนธันวาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ โดยช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 10 ปีปรับตัวลดลง 7-14 bps สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นในช่วงระหว่าง 2-10 bps ในพันธบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป หลังจากที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีทิศทางที่ผ่อนคลายขึ้น รวมถึง FED ได้มีการส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ยภายหลังการปรับลดครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้ตลาด US Treasury กลับเข้าสู่ Risk-on sentiment mode
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับตัวสวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยถูกปรับลดประมาณการต่อเนื่องในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทั้ง GDP, Inflation,Export โดยคาดการณ์ทั้งปี 2562 ลดลงเหลือ 2.5%, 0.71%, และ -2.0% ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ปริมาณการประมูลพันธบัตร ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2562 ก็อยู่ในระดับที่ลดลงจากปีก่อนหน้า จากการอนุมัติงบประมาณรัฐบาลที่ล่าช้า ส่งผลให้ปริมาณพันธบัตรในตลาดมีจำนวนจำกัด ปัจจัยเหล่านี้จึงกดดันให้อัตราผลตอบแทนในช่วงเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุคงเหลือ10 ปี อยู่ที่ 1.49% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุคงเหลือ 10 ปี อยู่ที่ 1.88% ส่งผลให้มี Yield gap ระหว่างพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ อยู่ที่ 39 bps
ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ทั้งปี 2562 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง (ราคาเพิ่มสูงขึ้น) โดยช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 10 ปีปรับตัวลดลงในช่วงระหว่าง 34-102 bps การปรับลดลงดังกล่าวเป็ นไปตามแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ประกอบกับ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวม 2 ครั้ง มาอยู่ที่ 1.25% จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ Foreign fund flow ทั้งปี ประเทศไทยมี Net fund outflow จำนวน 8.4 หมื่นล้านบาท จากแรงขายกลุ่มตราสารหนี้ระยะสั้น โดยเป็นการขายทำกำไรหลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่า รวมถึงราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดการถือครองพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติอยู่ที่ระดับ 9.17 แสนล้านบาท (ลดลงจากปลายปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.86 แสนล้านบาท)
ตลาดหุ้นกู้บริษัทเอกชนในปี 2562 มีการออกหุ้นกู้ใหม่รวม 1.02 ล้านล้านบาท ปรับสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปริมาณการออกหุ้นกู้ของทั้งปี 2561 ที่ระดับ 7.4 แสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาภาคธุรกิจได้มีการซื้อกิจการใหญ่หลายโครงการ จึงต้องมีแหล่งเงินทุนจากการออกหุ้นกู้เพิ่มเติม รวมถึงเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่งผลให้ผลตอบแทนหุ้นกู้โดยพิจารณาจาก Credit spread สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม A และ BBB ปรับเพิ่มขึ้น 12-71 bps ขณะที่หุ้นกู้กลุ่ม AA มี Credit spread คงที่ และกลุ่ม AAA มีCredit spread ลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการออกหุ้นกู้ในปี 2563 จะปรับตัวลดลง จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้คาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนซื้อกิจการลดลง
สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ในปี 2563 มีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
- การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในระดับที่จำกัด โดยกองทุนบัวหลวงคาดว่า GDP Growth ของเศรษฐกิจไทยสำหรับปี 2563 จะอยู่ในระดับต่ำกว่า 3.0% โดยมีปัจจัยด้านการส่งออกที่คาดว่าจะชะลอตัว
- นโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ คาดว่าจะยังเป็นนโยบายเชิงผ่อนคลาย ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำโดยนโยบายของ Fed ยังคงเปิดกว้างต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก รวมถึงการเพิ่มปริมาณ QE เมื่อมีความจำเป็น
- การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในช่วงปลายปี โดยโดนัลด์ ทรัมป์ จะยังคงยึดนโยบาย “America First” ในการหาเสียง ส่งผลให้ความตึงเครียดทางการค้ากลับมาเป็นประเด็นที่สำคัญอีกครั้ง นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อตัวเลขการส่งออกของประเทศไทย ซึ่งเริ่มหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562
- สภาวะเงินเฟ้อต่ำ (Disinflation) คาดว่าจะยังคงอยู่ต่อไป โดยภาวะเงินเฟ้อของไทยยังคงถูกจำกัดโดยค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ต้นทุน Supply Chain ในหลายอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ระดับเงินเฟ้อมีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง จากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ที่เริ่มมีความรุนแรงขึ้น ภายหลังจากที่ปธน.ทรัมป์ ได้สั่งโจมตีขบวนรถของกองทัพอิหร่าน ส่งผลให้นายพลคาเซม โซไลมานี ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ทรงอำนาจอันดับ 2 รองจากผู้นำสูงสุดของอิหร่านเสียชีวิต
- การปรับเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลจีนในดัชนีอ้างอิงตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (JPM GBI-EM global diversified) โดยจะมีน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจีนที่ 10.0% เป็นการทยอยปรับเพิ่ม 1% ต่อเดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ส่งผลให้เกิดเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรในตลาดเกิดใหม่อื่นๆ รวมถึงตลาดตราสารหนี้ไทยเป็นมูลค่าราว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทย มีแรงกดดันให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยทางเทคนิคที่ช่วยหนุนให้อัตราผลตอบแทนปรับขึ้นในช่วงสั้น คือ ปริมาณการประมูลพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น และ การปรับน้ำหนักของพันธบัตรรัฐบาลจีน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นจังหวะที่ดีในการเพิ่มสัดส่วนลงทุนในพันธบัตรระยะยาวเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ท่ามกลางสภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ สำหรับการลงทุนในหุ้นกู้บริษัทเอกชน กองทุนบัวหลวงยังคงกลยุทธ์การลงทุนในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีอันดับเครดิตในระดับ Investment Grade ซึ่งจะมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง
Fund Comment
Fund Comment ธันวาคม 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนธันวาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ โดยช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 10 ปีปรับตัวลดลง 7-14 bps สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นในช่วงระหว่าง 2-10 bps ในพันธบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป หลังจากที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีทิศทางที่ผ่อนคลายขึ้น รวมถึง FED ได้มีการส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ยภายหลังการปรับลดครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้ตลาด US Treasury กลับเข้าสู่ Risk-on sentiment mode
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับตัวสวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยถูกปรับลดประมาณการต่อเนื่องในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทั้ง GDP, Inflation,Export โดยคาดการณ์ทั้งปี 2562 ลดลงเหลือ 2.5%, 0.71%, และ -2.0% ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ปริมาณการประมูลพันธบัตร ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2562 ก็อยู่ในระดับที่ลดลงจากปีก่อนหน้า จากการอนุมัติงบประมาณรัฐบาลที่ล่าช้า ส่งผลให้ปริมาณพันธบัตรในตลาดมีจำนวนจำกัด ปัจจัยเหล่านี้จึงกดดันให้อัตราผลตอบแทนในช่วงเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุคงเหลือ10 ปี อยู่ที่ 1.49% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุคงเหลือ 10 ปี อยู่ที่ 1.88% ส่งผลให้มี Yield gap ระหว่างพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ อยู่ที่ 39 bps
ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ทั้งปี 2562 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง (ราคาเพิ่มสูงขึ้น) โดยช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 10 ปีปรับตัวลดลงในช่วงระหว่าง 34-102 bps การปรับลดลงดังกล่าวเป็ นไปตามแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ประกอบกับ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวม 2 ครั้ง มาอยู่ที่ 1.25% จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ Foreign fund flow ทั้งปี ประเทศไทยมี Net fund outflow จำนวน 8.4 หมื่นล้านบาท จากแรงขายกลุ่มตราสารหนี้ระยะสั้น โดยเป็นการขายทำกำไรหลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่า รวมถึงราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดการถือครองพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติอยู่ที่ระดับ 9.17 แสนล้านบาท (ลดลงจากปลายปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.86 แสนล้านบาท)
ตลาดหุ้นกู้บริษัทเอกชนในปี 2562 มีการออกหุ้นกู้ใหม่รวม 1.02 ล้านล้านบาท ปรับสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปริมาณการออกหุ้นกู้ของทั้งปี 2561 ที่ระดับ 7.4 แสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาภาคธุรกิจได้มีการซื้อกิจการใหญ่หลายโครงการ จึงต้องมีแหล่งเงินทุนจากการออกหุ้นกู้เพิ่มเติม รวมถึงเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่งผลให้ผลตอบแทนหุ้นกู้โดยพิจารณาจาก Credit spread สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม A และ BBB ปรับเพิ่มขึ้น 12-71 bps ขณะที่หุ้นกู้กลุ่ม AA มี Credit spread คงที่ และกลุ่ม AAA มีCredit spread ลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการออกหุ้นกู้ในปี 2563 จะปรับตัวลดลง จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้คาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนซื้อกิจการลดลง
สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ในปี 2563 มีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทย มีแรงกดดันให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยทางเทคนิคที่ช่วยหนุนให้อัตราผลตอบแทนปรับขึ้นในช่วงสั้น คือ ปริมาณการประมูลพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น และ การปรับน้ำหนักของพันธบัตรรัฐบาลจีน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นจังหวะที่ดีในการเพิ่มสัดส่วนลงทุนในพันธบัตรระยะยาวเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ท่ามกลางสภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ สำหรับการลงทุนในหุ้นกู้บริษัทเอกชน กองทุนบัวหลวงยังคงกลยุทธ์การลงทุนในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีอันดับเครดิตในระดับ Investment Grade ซึ่งจะมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง