กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

สรุปประเด็นทางเศรษฐกิจอินเดีย

หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นอินเดีย (MSCI India USD Index) แกว่งขึ้นลงตลอดครึ่งปีที่แล้ว (2H2019) จากการชะลอตัวของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศและสงครามการค้าที่เข้ามากระทบ ในเดือน ม.ค. ปีนี้ (ปี 2020) ดัชนีปรับตัวเพิ่มจากหุ้นในกลุ่มหุ้นมิดแอนด์สมอลแคป จากระดับมูลค่า Valuation ลดลงในปีก่อนหน้า มาตรการที่รัฐบาลอินเดียได้ประกาศใช้หลายอย่างตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว เช่น ลดภาษีนิติบุคคล/บริษัทลงจากเดิม 30% เป็น 22% ลดภาษีนิติบุคคล/บริษัทที่เริ่มดำเนินการผลิตสินค้าจากเดิม 25% เป็น 15% ได้ช่วยให้บริษัทมีเงินเหลือนำไปลงทุนในกิจการต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค หรือนำเงินไปชำระหนี้สินเพิ่มเติม ส่งผลบวกต่อธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง

ยอดการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนชาติซึ่งเคยเป็นผู้ขายสุทธิตลาดหุ้นอินเดีย -3.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสสามปี 2019 และเป็นผู้ซื้อสุทธิ +1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ปี 2019 ต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีแล้วนั้น ในเดือนมกราคมปีนี้ยังพบว่านักลงทุนต่างชาติยังเป็นผู้ซื้อสุทธิ +2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศก็เป็นผู้ซื้อสุทธิเช่นกันที่ +316 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินรูปีอินเดียยังทรงตัวเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุด 467 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

GDP อินเดีย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอินเดีย ชะลอตัวลงชัดเจนเหลือเพียง 4.5% (YoY) ในไตรมาสสาม (2019) ลดลงจากไตรมาสสอง (2019) ที่ 5.0% เหตุจากการบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 55% ของ GDP ได้เติบโตต่ำที่สุดในรอบ 18 ไตรมาสที่ผ่านมา รวมถึงการลงทุนในสินค้าทุนจำพวก โรงงาน เครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน เติบโตลดลงเช่นกัน ตัวเลขที่ว่านี้ ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ลดคาดการณ์อัตราการเติบโตลงเหลือ 4.8% ในปี 2019 จากเดิมที่ 6.1%

ข้อมูลจาก Trading Economic Global Macro Model คาดว่า GDP อินเดียจะลดลงต่ำสุดในไตรมาสแรกของปี 2020 และจะกลับมาเติบโตได้ระดับ 6.0% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า

กราฟ: อัตราการเติบโตของจีดีพีอินเดีย

ตาราง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่

อัตราการเติบโตที่ย่ำแย่เช่นนี้ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแก้ไขด้วยการออกมาตรการ อาทิ

  • การทบทวนค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักลงทุนต่างชาติ –
  • การเชื่อมโยงเงินปล่อยสินเชื่อเข้ากับอัตราการรรับซื้อคืน (REPO) ของธนาคารเพื่อส่งต่อผลประโยชน์จากระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำให้กับผู้บริโภค
  • การช่วยเข้าซื้อสินทรัพย์มูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสถาบันการเงินที่ไม่ใช้ธนาคาร (NBFC: Non-bank Financial Corporation) และสถาบันการเงินซึ่งปล่อยสินเชื่อบ้าน (HFCs: Housing Financial Corporations) เพื่อรักษาสภาพคล่อง
  • การจัดหาเงินมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับโครงการซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยในระยะสุดท้าย อันจะกระตุ้นให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ครอบครอง
  • การลดภาษีบริษัท/นิติบุคคลลงจากเดิม 30% เป็น 22%

เงินเฟ้ออินเดีย อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 7.35% (ในเดือน ธ.ค. 2019) เทียบกับ 5.54% (ในเดือน พ.ย.2019) 4.0% (ในเดือน ก.ย.2019) และ 3.2% (ในเดือน ส.ค.2019) นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบห้าปีจากปัจจัยของราคาผัก สื่อในประเทศอินเดียออกความเห็นว่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนี้แป็นสัญญาณที่ดีบ่งบอกการฟื้นตัวของอุปสงค์ที่มาจากเศรษฐกิจภาคชนบทเพราะหากพิจารณาตัวเลขเงินเฟ้อในภาคตัวเมืองเทียบกับตัวเลขเงินเฟ้อในภาคชนบท นับเป็นครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ตัวเลขเงินเฟ้อในภาคชนบทสูงกว่าตัวเลขเงินเฟ้อภาคตัวเมือง ประชากรอินเดียกว่าสองในสามทำงานอยู่ในภาคชนบทโดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 15% ของ GDP อินเดียที่มีขนาด 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การที่เงินเฟ้อภาคชนบทเพิ่มขึ้นบ่งบอกเป็นนัยได้ว่าอำนาจซื้อได้กลับมาอยู่ในมือของเกษตรกร ชาวนา

ดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารกลางอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ (ปี 2020) ไว้ที่ระดับเดิมคือ 5.15% เนื่องด้วยในปีที่แล้ว (ปี 2019) ปรับลดมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือน ก.พ. ถึงเดือน ต.ค. รวมทั้งสิ้น 1.35% โดยครั้งล่าสุดได้ปรับลดไปเมื่อวันที่ 4 ต.ค.2019 ปรับลด 0.25% สู่ 5.15% นโยบายการคลัง ตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณไว้ที่ 3.8% ของ GDP (เทียบกับเป้าหมาย 3.3% ของ GDP ในช่วงก่อนหน้านี้) ล่าสุดงบประมาณที่จะนำมาใช้คือ 1) ลดอัตราภาษีบุคคลธรรมดาลงประมาณ 5-10% กับกลุ่มคนชั้นกลางถึงล่าง 2) ยกเว้นภาษีเงินปันผล 3) ผ่อนคลายสัดส่วนการถือครองตราสารหนี้เอกชนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยเพิ่มสัดส่วนถือครองจากไม่เกิน 9% เป็นไม่เกิน 15% 4) เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐจากปีก่อนหน้าอีก 13%

การปรับพอร์ตของกองทุนหลัก Nippon India Equities Portfolio Fund ในช่วงเดือน ธ.ค. 2019 – ม.ค. 2020

ทยอยขายทำกำไร บริษัทประกันชีวิตเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ชื่อบริษัท Max Financial Services (ประกันชีวิต) ออกจากหุ้นที่เคยมีน้ำหนักลงทุนติดอันดับ Top Holdings ของพอร์ต แต่ยังคงถือครองต่อไป

จุดเด่น: บริษัทมีช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพคือธนาคาร State Bank of India (SBI) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่และมีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศ Max Financial Services จึงได้รับประโยชน์จากจำนวนสาขาที่มีครอบคลุมกว่า 22,010 แห่ง (ตามกราฟ) การที่ธนาคาร SBI มีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต/ประกันสุขภาพของ Max Financial Services วางจำหน่าย ทำให้ลูกค้าสาขาต้องซื้อผลิตภัณฑ์ของ Max Financial Services เพียงแห่งเดียว ทั้งนี้ อัตราการเข้าถึงเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของคนอินเดียอยู่ในระดับต่ำ ทั้งที่รายได้ของกลุ่มธุรกิจประกันเติบโตระดับ 17% ต่อปี (CAGR*) ช่วงปีค.ศ. 2001-2018 ก็ตาม

ขายออก

  • หุ้นกลุ่มน้ำมัน ชื่อบริษัท Indian oil

  • หุ้นกลุ่มเภสัชกรรม ชื่อบริษัท Cipla เพราะบริษัททำรายได้ไม่เป็นไปตามที่ผู้จัดการกองทุนหลักคาดการณ์

  • หุ้นกลุ่มสายการบิน ชื่อบริษัท Spicejet จากประเด็นการส่งมอบเครื่องบินรุ่น โบอิ้ง 737 แม็กซ์ ล่าช้า กองทุนหลักคาดว่าประเด็นนี้จะยังไม่จบในระยะเวลาอันใกล้

ซื้อ

  • หุ้นขนาดกลางและเล็กในกลุ่มสถาบันการเงิน ชื่อบริษัท JM Financial

จุดแข่ง: รายได้หลังหักต้นทุนการดำเนินงานดี ผู้บริหารเป็นที่ยอมรับในวงการ การบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นที่เชื่อถือ และการบริหารทรัพยากรบุคคลทำได้ดี กองทุนหลักชื่อว่ารายได้บริษัทจะเติบโตได้ระดับ +20% จากนี้ไปในอีกสองถึงสามปีข้างหน้า

ตาราง 1: แสดงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหุ้นในพอร์ตจำแนกตามมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนของกองทุนหลัก Reliance India Equity Portfolio Fund ตั้งแต่กลางปี 2018 แล้วถึงต้นปี 2020

 

ตาราง 2 : แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Nippon India Equity Portfolio Fund

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Nippon Mutual Fund – India Equities Portfolio Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class I (USD)

นโยบายการลงทุน: มุ่งหาผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนในตราสารทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในอินเดีย โดยจะลงทุนในตลาดอินเดียไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของ NAV)

วันที่จดทะเบียน: 17 พฤษภาคม 2016

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI INDIA USD

Morningstar Category: Large cap blend

Bloomberg code: RAMUSDI LX

Fund size: USD 229.69 Million (Down from USD 233.07 Million in October 2019)

Number of holdings: 52

*ที่มา: Reliance Asset Management (Singapore) Pte Ltd ข้อมูลเดือน ม.ค. 2020

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล วันที่ 31 ม.ค. 2020)

 

เรื่องควรรู้สำหรับผู้ถือหน่วย

กองทุนหลักเปลี่ยนชื่อจาก Reliance Mutual Fund-India Equity Portfolio Fund เป็น Nippon India Mutual Fund-India Equity Portfolio Fund ภายหลังบริษัทประกันชีวิตญี่ปุ่นชื่อ Nippon India Mutual Fund ซื้อกิจการ บลจ. Reliance Nippon Life Asset Management จาก Reliance Capital โดยถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 75