กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)

BF Knowledge Center

มุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังปรับด้วยราคาในปีนี้ (ระหว่างเดือนเม.ย. 2018 ถึงเดือนมี.ค. 2019) เป็น 1.8% จากเดิม 1.4% เหตุจากการค้าโลกที่ขยายตัวดี ทำให้สินค้าส่งออกเติบโต และเงินลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้นเพียง 0.9% ยังห่างไกลจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นตั้งเป้าไว้ที่ 2.0% ปัจจัยที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าในการบรรลุเป้าหมาย GDP ที่ 1.6% ได้แก่

  • เพิ่มการบริโภคของคนญี่ปุ่นให้มากขึ้น – รัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่าผู้บริโภคญี่ปุ่นจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4% ในปี 2018 จากนโยบายที่เน้นการเพิ่มค่าจ้างและรัฐสนับสนุนเงินลงทุนให้กับบริษัทซึ่งมีการพัฒนา/ปรับปรุงคุณภาพและสวัสดิการให้กับพนักงาน
  • เพิ่มเงินสนับสนุนธุรกิจ – ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 9% ในปีนี้ วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้กับธุรกิจ โดยเน้นสนับสนุนธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีเพื่อที่จะให้สอดคล้องแรงงานญี่ปุ่นที่มีจำนวนลดลง

นอกจากนี้การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในเดือนต.ค. BOJ ได้ตัดสินใจควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curb Control) ต่อไปอีก ในขณะที่การเข้าซื้อพันธบัตรของ BOJ ที่ได้กล่าวไว้ในกรอบเป้าหมาย 80 ล้านล้านเยนต่อปี พบการเข้าซื้อ 50 ล้านล้านเยนต่อปีในปีที่ผ่านมา

พิจารณาด้านราคาพบว่า ณ สิ้นเดือนธ.ค. 2017 ดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นมี

  • ระดับราคาตลาดเทียบมูลค่าทางบัญชี (Price to book ratio: PBV) 1.47 เท่า เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่ 31 เท่า
  • อัตราการจ่ายเงินปันผลที่ 84% สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ 0.045%

ปัจจัยทั้งกระตุ้นตลาดหุ้น

(+) นโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่อยู่ในโหมดผ่อนคลาย อัตราเงินเฟ้อระดับต่ำ และค่าเงินเยนที่อ่อน สนับสนุนการทำกำไรของบริษัทญี่ปุ่นในปีนี้

(+) ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เติบโตดีสนับสนุนอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิบริษัทญี่ปุ่นในปีนี้ให้สามารถอยู่ในระดับ 10-15% ต่อปี โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีคาดว่าจะสร้างรายได้อย่างดีเยี่ยมเนื่องจากอุปสงค์ต่อเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกคาดว่าจะเติบโตดีจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

(+) กฎหมายภาษีของสหรัฐอเมริกามูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 30 ปี น่าจะทำให้ธุรกิจญี่ปุ่นเร่งตัวเนื่องจากรายได้บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ การลดภาษีธุรกิจสนับสนุนการซื้อหุ้นคืนของกิจการของบริษัทญี่ปุ่นมีเงินสดสูง

ปัจจัยทั้งกดดันหุ้น

(-) ในระยะกลางหากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯสูงขึ้นอาจส่งผลลบต่อบริษัทญี่ปุ่นได้เนื่องจากสหรัฐฯเป็นตลาดหลักในการทำธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นเองอาจชะลอการขยายกิจการ

(-) ความพยายามของพรรครัฐบาลสหรัฐฯโดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในการผ่านกฎหมายสำคัญๆในอนาคตน่าจะทำยากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเพิ่มงบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เห็นได้จากเหตุการณ์ล่าสุดที่รัฐบาลสหรัฐฯยุติการจ่ายงบประมาณให้กับหน่วยงานภาครัฐฯต่างๆเป็นการชั่วคราว (Government Shutdown) เนื่องจากเงินคงคลังไม่พอ

(-) หากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดจะส่งผลต่อบริษัทญี่ปุ่นเนื่องจากจีนเป็นตลาดหลักในการขายสินค้า

(-) การทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ หากเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก 1H2018 จะส่งผลต่อ Sentiment ของนักลงทุน

Source: Japan Times, Nomura Asset Management Singapore Limited

กลยุทธ์ลงทุนของ Nomura Japan Strategic Value Fund

แสวงหาผลตอบแทนด้วยการลงทุนระยะยาวในหุ้นญี่ปุ่น ด้วยการคัดเลือกบริษัทที่มีมูลค่ากิจการต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน โดยพิจารณาจากความสามารถในการทำกำไรและการบริหารจัดการสินทรัพย์ ทั้งนี้จะมุ่งเน้นยัง

  • บริษัทที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินรวมถึงนโยบาย อันจะส่งผลบวกต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
  • บริษัทที่ได้เปรียบในเชิงแข่งขัน มีโอกาสเติบโตจากการปฏิรูปโครงสร้างทางการจัดการ และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นบริษัทที่มีงบการเงินแข็งแกร่ง และมีความสามารถในการทำกำไรในระดับที่เพียงพอ หากต้องเพิ่มอัตราจ่ายเงินปันผลรวมถึงซื้อหุ้นคืน

น้ำหนักการลงทุนของบริษัทห้าอันดับแรก ในเดือนธันวาคม 2017

  1. Nippon Telegraph and Telephone Corporation (สารสนเทศและการสื่อสาร) บริษัทโฮลดิ้งด้านโทรคมนาคมขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ครองส่วนแบ่งตลาดรวมถึงผูกขาดโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์มือถือ มีแผนมุ่งเป้าในการสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นผ่านการซื้อหุ้นคืน (Share buyback)
  2. Sumitomo Mitsui Financial Group (สถาบันการเงิน) ทำธุรกิจภาคการเงินตั้งแต่ธนาคาร หลักทรัพย์
  3. เครดิตการ์ด สินเชื่อธุรกิจ ในระยะกลางธุรกิจมีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน Komatsu Ltd (เครื่องจักรกล) ผู้ผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างโดดเด่นด้านการรวม เทคโนโลยีสื่อสารเข้ากับเครื่องจักร บริษัทพึ่งซื้อกิจการของบริษัท Joy Global ผู้ผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในการขายการตลาดขายสินค้า
  4. Mitsubishi Estate (อสังหาฯ) ทำธุรกิจอสังหาฯชั้นนำที่มีการกระจายการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย บริษัทกำลังปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาคารสำนักงานใจกลางเมืองหลวงโตเกียวให้ดีขึ้น
  5. Toyota Industries Corp. (เครื่องจักร) บริษัทครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในโลกสำหรับการขายรถยก และโปรเซสเซอร์ที่ติดตั้งกับแอร์รถยนต์

Source: Nomura Asset Management Singapore Limited ข้อมูลเดือนธันวาคม 2017