BF Economic Research
การส่งออกไทยเดือน ม.ค. อยู่ที่ 19,625.7 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.35% YoY (vs prev -1.28% YoY) หากไม่รวมทองคำ หดตัว -1.5% YoY (vs prev -0.3% YoY)
ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 21,181.4 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -7.86% YoY (vs prev 2.5% YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -1,555.7 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev เกินดุล +595.7 ล้านดอลลาร์ฯ)
ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในเดือน ม.ค.ให้ขยายตัวมาจาก
- การส่งออกทองคำขยายตัวเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องด้วยตลาดมีความกังวลสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นแรงกระตุ้นการซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น และมีผลดันราคาทองขึ้นสูงในช่วงม.ค.ขณะที่อัตราค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลง
- การส่งออกน้ำมันเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ หลังจากโรงกลั่นปิดทำการเมื่อปลายปี 2019
- ในรายสินค้า พบว่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางรายการขยายตัวได้ เช่น ยางพารา ผลิตภัณฑ์จากยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร และเครื่องใช้ไฟฟ้า (โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ)
- ในรายประเทศ การส่งออกไปสหรัฐฯ จีนและไต้หวันขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยที่
- การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ อุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ เครื่องปรับอากาศฯ ผลิตภัณฑ์ยาง และเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
- การส่งออกไปจีน ขยายตัว 5.2% YoY และขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง ทองแดงฯ รถยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สันดาปฯ เป็นต้น
สำหรับการนำเข้าไทยในเดือน ม.ค. ที่หดตัว -7.86% YoY นั้นมาจากฐานสูงของการนำเข้าอาวุธเพื่อซ้อมรบในเดือน ม.ค. ปีก่อน และการนำเข้าทองคำที่ลดลง เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธ ยุทธปัจจัย การนำเข้าไทยเดือน ม.ค.หดตัว -0.17% YoY ในรายสินค้า การนำเข้าสินค้าทุนขยายตัว 5.8% ในกลุ่มเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่ 18.7% สูงสุดในรอบ 2 ปี
Looking Forward สถานการณ์การส่งออกของไทยในเดือน ม.ค.นี้ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เท่าใดนัก คาดว่าตัวเลขในเดือน ก.พ. เป็นต้นไปจะเห็นการส่งออกที่อาศัยสินค้าขั้นต้นจากจีนจะได้รับผลกระทบ อีกทั้งอุปสงค์จากประเทศอื่นๆ อาจจะลดลงตามไปด้วยตาม Sentiment ของเศรษฐกิจในช่วงนี้