ความผันผวนในตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศจีน มีโอกาสมากขึ้นที่จะกลายเป็นการแพร่ระบาดทั่วโลก โดยแม้ว่าประเทศจีนจะสามารถควบคุมได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนกลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศ เกาหลีใต้ อิตาลี และอิหร่าน ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดต่างๆ อยู่ในโหมด Risk-off จากความกังวลต่อผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลก
ล่าสุด IMF ได้มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงเล็กน้อย ขณะที่ Fed ก็มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการเร่งด่วนลง 0.5% สู่ระดับ 1.00-1.25% ล่วงหน้า 2 สัปดาห์ก่อนการประชุมนโยบายครั้งต่อไป ขณะที่ผลตอบแทนพัธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนถึงแนวโน้มความเปราะบางทางเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ และอีกหนึ่งปัจจัยคือสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งมีการปรับตัวลงอย่างแรงและรวดเร็ว หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตร่วมกันได้ ทำให้ซาอุดิอาระเบียเปลี่ยนแผนเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดแทน กลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามราคาน้ำมันเข้ามาเพิ่มขึ้น
ด้านเศรษฐกิจไทย เผชิญกับความกดดันมากขึ้นในทุกภาคส่วน โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจำนวนนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง ภาคการส่งออกยังคงมีความชะลอตัวจากห่วงโซ่การผลิตของจีน รวมถึงภาคการบริโภคในประเทศ ที่คนระมัดระวังการใช้จ่ายและอาจจะออกนอกบ้านน้อยลง โดยความอ่อนแอลงทางเศรษฐกิจของไทยนี้ สะท้อนผ่านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ราว 6% จากต้นปี และการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ราว 11.5% ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ทำให้จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินและการคลังมาช่วยรองรับกับสถานการณ์นี้ โดยกนง.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปแล้วหนึ่งครั้งในต้นเดือนกุมภาพันธ์ และมีโอกาสปรับลดลงได้อีก
ขณะที่ภาครัฐนั้น ได้เริ่มมีการออกมาตรการออกมา ได้แก่ การผ่อนคลายสินเชื่อ และแจกเงินผู้มีรายได้น้อย เพื่อประคองให้เศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ โดยภาพรวมแล้ว แม้ว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ จะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ซึ่งยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะยาวนานเพียงใด แต่สภาวการณ์ที่ดำเนินไปก็ได้ทำให้ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจนั้นอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ ธนาคารกลางและนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้มีการเตรียมพร้อมและเริ่มทยอยออกมาตรการออกมาเพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้แม้ว่าเศรษฐกิจที่มีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้นนั้น ไม่ถลำลึกเกินไปจนเป็นภาวะวิกฤต ดังนั้น ถ้าหากระดับราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ มีการรับรู้ความเสี่ยงมากถึงระดับหนึ่งแล้ว ก็จะถือเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะธุรกิจที่แข็งแกร่งที่สามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้ ส่วนแนวโน้มการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ ยังต้องจับตาปัจจัยต่างๆ ว่าจะมีพัฒนาการออกมาชี้นำภาพเศรษฐกิจไปในทิศทางใด การลงทุนจึงต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากตลาดจะยังมีความผันผวนอยู่
Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ความผันผวนในตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศจีน มีโอกาสมากขึ้นที่จะกลายเป็นการแพร่ระบาดทั่วโลก โดยแม้ว่าประเทศจีนจะสามารถควบคุมได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนกลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศ เกาหลีใต้ อิตาลี และอิหร่าน ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดต่างๆ อยู่ในโหมด Risk-off จากความกังวลต่อผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลก
ล่าสุด IMF ได้มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงเล็กน้อย ขณะที่ Fed ก็มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการเร่งด่วนลง 0.5% สู่ระดับ 1.00-1.25% ล่วงหน้า 2 สัปดาห์ก่อนการประชุมนโยบายครั้งต่อไป ขณะที่ผลตอบแทนพัธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนถึงแนวโน้มความเปราะบางทางเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ และอีกหนึ่งปัจจัยคือสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งมีการปรับตัวลงอย่างแรงและรวดเร็ว หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตร่วมกันได้ ทำให้ซาอุดิอาระเบียเปลี่ยนแผนเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดแทน กลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามราคาน้ำมันเข้ามาเพิ่มขึ้น
ด้านเศรษฐกิจไทย เผชิญกับความกดดันมากขึ้นในทุกภาคส่วน โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจำนวนนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง ภาคการส่งออกยังคงมีความชะลอตัวจากห่วงโซ่การผลิตของจีน รวมถึงภาคการบริโภคในประเทศ ที่คนระมัดระวังการใช้จ่ายและอาจจะออกนอกบ้านน้อยลง โดยความอ่อนแอลงทางเศรษฐกิจของไทยนี้ สะท้อนผ่านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ราว 6% จากต้นปี และการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ราว 11.5% ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ทำให้จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินและการคลังมาช่วยรองรับกับสถานการณ์นี้ โดยกนง.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปแล้วหนึ่งครั้งในต้นเดือนกุมภาพันธ์ และมีโอกาสปรับลดลงได้อีก
ขณะที่ภาครัฐนั้น ได้เริ่มมีการออกมาตรการออกมา ได้แก่ การผ่อนคลายสินเชื่อ และแจกเงินผู้มีรายได้น้อย เพื่อประคองให้เศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ โดยภาพรวมแล้ว แม้ว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ จะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ซึ่งยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะยาวนานเพียงใด แต่สภาวการณ์ที่ดำเนินไปก็ได้ทำให้ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจนั้นอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ ธนาคารกลางและนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้มีการเตรียมพร้อมและเริ่มทยอยออกมาตรการออกมาเพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้แม้ว่าเศรษฐกิจที่มีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้นนั้น ไม่ถลำลึกเกินไปจนเป็นภาวะวิกฤต ดังนั้น ถ้าหากระดับราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ มีการรับรู้ความเสี่ยงมากถึงระดับหนึ่งแล้ว ก็จะถือเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะธุรกิจที่แข็งแกร่งที่สามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้ ส่วนแนวโน้มการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ ยังต้องจับตาปัจจัยต่างๆ ว่าจะมีพัฒนาการออกมาชี้นำภาพเศรษฐกิจไปในทิศทางใด การลงทุนจึงต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากตลาดจะยังมีความผันผวนอยู่