ภาพรวมการลงทุนในไตรมาสแรกของปีนี้เต็มไปด้วยความผันผวน โดยหลังจากที่ตลาดหุ้นโลกได้ทำจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ แล้วปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลงไปทำจุดต่ำสุดที่ประมาณ -30% นับจากต้นปี จนถึงเดือนมีนาคม และเป็นการเข้าสู่ตลาดหมีหรือเป็นการลดลงจากจุดสูงสุดมากกว่า 20% ที่เร็วที่สุดประวัติศาสตร์ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้กลายเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ทุกประเทศต้องใช้มาตรการต่างๆในการรับมือ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง และการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงัน และมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแน่นอนแล้วในปีนี้ ความต้องการบริโภคที่หายไปอย่างกะทันหันเช่นนี้ ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงกว้าง รวมถึง สงครามราคาน้ำมันระหว่างบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักที่ไม่สามารถเจรจาลดกำลังผลิตได้ ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงแรง
ภาวะดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่เศรษฐกิจของทั่วโลกนั้นมีการเชื่อมโยงกันสูง ทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมาก การตอบสนองของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกในเวลานี้ จึงมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน โดยผู้ที่มีอิทธิพลหลักอย่าง เฟด ได้ลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วจนใกล้ศูนย์ เป็นการลดที่เร็วกว่าการถดถอยครั้งไหนๆ รวมทั้งใช้การอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จากภาครัฐบาล ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ซึ่งช่วยลดความกลัวของนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการล้มละลายของบริษัทจำนวนมากลงไปได้
ด้านตลาดหุ้นไทยในปี 2020 นี้ ปรับตัวลงมาแล้วราว 30% YTD โดยในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงราว 16% จากปัจจัยลบต่างๆ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 7.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ 1.96 หมื่นล้านบาท โดยลดสัดส่วนการถือครองในหุ้นแทบจะทุกกลุ่มในตลาด
ขณะที่ด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ส่งผลในเกือบทุกภาคส่วน ทั้งการท่องเที่ยว การค้าระหว่างประเทศ และการบริโภคในประเทศ ทำให้ประการณ์จีดีพีของไทยในปีนี้ ถูกหลายสำนักปรับลงอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดนั้นอาจจะติดลบมากถึง 7% ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ จึงคาดว่าจะสามารถรองรับประคับคองไม่ให้เศรษฐกิจในปีนี้ถลำลึกมากเกินไป
แนวโน้มการลงทุนในช่วงนี้ยังคงมีความผันผวน โดยตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาแตะที่จุดต่ำสุดบริเวณ 970 จุด ในเดือนมีนาคม ซึ่งได้ซึมซึมปัจจัยเสี่ยงต่างๆไปในระดับหนึ่งแล้ว และเป็นโอกาสสำหรับการเข้าลงทุนในหุ้นที่ Valuation ต่ำลงจากช่วงก่อนหน้ามาก ซึ่งนอกจากความหวังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่แล้ว สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสนั้นดูเหมือนจะมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยสิ่งที่ต้องจับตาเป็นสำคัญ คือ แนวทางในการจัดการให้ธุรกิจกลับมาสู่ภาวะปกติในเวลาไม่นานเกินไปว่าจะทำได้อย่างไร และระดับผลกระทบที่แต่ละธุรกิจได้รับจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงมาก ซึ่งจะทยอยเห็นความชัดเจนมากขึ้นหลังการประกาศงบไตรมาส 1/2020 ที่จะมีขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังคงเลือกในหุ้นที่มีความแข็งแกร่งของงบดุล มีความสามารถในการแข่งขัน และไม่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบมากเกินไป ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมการลงทุนในไตรมาสแรกของปีนี้เต็มไปด้วยความผันผวน โดยหลังจากที่ตลาดหุ้นโลกได้ทำจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ แล้วปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลงไปทำจุดต่ำสุดที่ประมาณ -30% นับจากต้นปี จนถึงเดือนมีนาคม และเป็นการเข้าสู่ตลาดหมีหรือเป็นการลดลงจากจุดสูงสุดมากกว่า 20% ที่เร็วที่สุดประวัติศาสตร์ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้กลายเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ทุกประเทศต้องใช้มาตรการต่างๆในการรับมือ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง และการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงัน และมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแน่นอนแล้วในปีนี้ ความต้องการบริโภคที่หายไปอย่างกะทันหันเช่นนี้ ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงกว้าง รวมถึง สงครามราคาน้ำมันระหว่างบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักที่ไม่สามารถเจรจาลดกำลังผลิตได้ ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงแรง
ภาวะดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่เศรษฐกิจของทั่วโลกนั้นมีการเชื่อมโยงกันสูง ทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมาก การตอบสนองของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกในเวลานี้ จึงมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน โดยผู้ที่มีอิทธิพลหลักอย่าง เฟด ได้ลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วจนใกล้ศูนย์ เป็นการลดที่เร็วกว่าการถดถอยครั้งไหนๆ รวมทั้งใช้การอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จากภาครัฐบาล ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ซึ่งช่วยลดความกลัวของนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการล้มละลายของบริษัทจำนวนมากลงไปได้
ด้านตลาดหุ้นไทยในปี 2020 นี้ ปรับตัวลงมาแล้วราว 30% YTD โดยในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงราว 16% จากปัจจัยลบต่างๆ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 7.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ 1.96 หมื่นล้านบาท โดยลดสัดส่วนการถือครองในหุ้นแทบจะทุกกลุ่มในตลาด
ขณะที่ด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ส่งผลในเกือบทุกภาคส่วน ทั้งการท่องเที่ยว การค้าระหว่างประเทศ และการบริโภคในประเทศ ทำให้ประการณ์จีดีพีของไทยในปีนี้ ถูกหลายสำนักปรับลงอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดนั้นอาจจะติดลบมากถึง 7% ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ จึงคาดว่าจะสามารถรองรับประคับคองไม่ให้เศรษฐกิจในปีนี้ถลำลึกมากเกินไป
แนวโน้มการลงทุนในช่วงนี้ยังคงมีความผันผวน โดยตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาแตะที่จุดต่ำสุดบริเวณ 970 จุด ในเดือนมีนาคม ซึ่งได้ซึมซึมปัจจัยเสี่ยงต่างๆไปในระดับหนึ่งแล้ว และเป็นโอกาสสำหรับการเข้าลงทุนในหุ้นที่ Valuation ต่ำลงจากช่วงก่อนหน้ามาก ซึ่งนอกจากความหวังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่แล้ว สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสนั้นดูเหมือนจะมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยสิ่งที่ต้องจับตาเป็นสำคัญ คือ แนวทางในการจัดการให้ธุรกิจกลับมาสู่ภาวะปกติในเวลาไม่นานเกินไปว่าจะทำได้อย่างไร และระดับผลกระทบที่แต่ละธุรกิจได้รับจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงมาก ซึ่งจะทยอยเห็นความชัดเจนมากขึ้นหลังการประกาศงบไตรมาส 1/2020 ที่จะมีขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังคงเลือกในหุ้นที่มีความแข็งแกร่งของงบดุล มีความสามารถในการแข่งขัน และไม่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบมากเกินไป ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้