อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มี.ค. ปรับตัวผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับลดลงในช่วง -16 ถึง -23 bps สอดคล้องกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นในช่วง +1 ถึง +70 bps จากปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Covid-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังไม่มีสัญญาณว่าการแพร่ระบาดจะไปถึงจุดสูงสุดหรือสามารถควบคุมได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนกและเทขายสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งพันธบัตรรัฐบาลเพื่อถือเงินสดจนกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงิน ธนาคารกลางทั่วโลกจึงพากันประกาศลดอัตราดอกเบี้ยและออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบ
สำหรับธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps มาอยู่ที่กรอบ 1-1.25% ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 3 มี.ค. และจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ Fed ประชุมฉุกเฉินอีกครั้งในวันที่ 16 มี.ค. และมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 100 bps มาอยู่ที่กรอบ 0-0.25% พร้อมทั้งออกมาตรการซื้อสินทรัพย์ (QE) มูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมาตรการผ่อนคลายอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดการเงิน นักลงทุนยังคงเทขายสินทรัพย์ออกมาต่อเนื่อง Fed จึงประชุมฉุกเฉินครั้งที่ 3 ในวันที่ 23 มี.ค. และประกาศขยายวงเงินซื้อสินทรัพย์แบบไม่จำกัด (unlimited QE) โดยจะครอบคลุมไปถึงตราสารหนี้ภาคเอกชนซึ่งนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default risk) โดยภายหลัง Fed ประกาศมาตรการดังกล่าวทำให้ตลาดพันธบัตรและตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น
ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มี.ค. อย่างไรก็ตาม ได้เพิ่มวงเงินในการซื้อสินทรัพย์ (QE) อีก 1.2 แสนล้านยูโรจนถึงสิ้นปีนี้ และต่อมาในวันที่ 18 มี.ค. ECB ได้ประชุมฉุกเฉินและประกาศโครงการซื้อสินทรัพย์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับโรคระบาด (Pandemic Emergency Purchase Programme) โดยจะซื้อสินทรัพย์ของทั้งภาครัฐและเอกชนวงเงินรวม 7.5 แสนล้านยูโร ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ -0.1% ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 16 มี.ค. อย่างไรก็ตาม ได้ออกมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการเพิ่มวงเงินซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชน 2 ล้านล้านเยน
ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างชาติเทขายตราสารหนี้ไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน มี.ค. เป็นมูลค่าสูงถึง 9.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ ธปท. จำเป็นต้องเข้ามาเสริมสภาพคล่องด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรองวงเงินรวมกว่า 1 แสนล้านบาท ในช่วงวันที่ 13-19 มี.ค. รวมทั้งมีการลดและยกเลิกการออกพันธบัตร ธปท.
อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ยังคงเผชิญแรงขายจากนักลงทุนและอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กนง. จึงประชุมฉุกเฉินในช่วงค่ำของวันศุกร์ที่ 20 มี.ค. และมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps มาอยู่ที่ 0.75% ส่วนหนึ่งเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน
นอกจากนี้ จากการที่ปัญหาสภาพคล่องได้ขยายวงกว้างไปสู่ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน นักลงทุนเกิดความกังวลเกี่ยวกับการที่บริษัทอาจจะไม่สามารถต่ออายุ (Rollover) ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้และการผิดนัดชำระหนี้ (Default risk) จึงเทขายตราสารหนี้ภาคเอกชน และลุกลามไปถึงกองทุนรวมตราสารหนี้จนเป็นสาเหตุให้ บลจ. แห่งหนึ่งต้องประกาศหยุดการซื้อขายและปิดกองทุนรวมตราสารหนี้รวม 4 กองในเวลาต่อมา ธปท. กระทรวงการคลัง และกลต. จึงได้มีการประชุมร่วมกันในวันอาทิตย์ที่ 22 มี.ค. และประกาศมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ใน 3 ด้าน ดังนี้
1) มาตรการเสริมสภาพคล่องแก่กองทุนรวม ธปท. จัดตั้งกลไกพิเศษผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่เข้าซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวมตลาดเงิน (Money market fund) และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนเปิด (Daily fixed income fund) ที่ถือสินทรัพย์คุณภาพดี สามารถนำหน่วยลงทุนดังกล่าวมาวางเป็นหลักประกันเพื่อขอสภาพคล่องจาก ธปท. ได้
2) กองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน สมาคมธนาคารไทย ธนาคารออมสิน ธุรกิจประกันภัย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ร่วมกันจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนออกใหม่ของบริษัทที่มีคุณภาพดี แต่ประสบปัญหาตลาดขาดสภาพคล่องจนส่งผลให้ไม่สามารถต่ออายุ (Rollover) ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้ครบทั้งจำนวน โดยวงเงินเริ่มต้นประมาณ 70,000-100,000 ล้านบาท
3) มาตรการเข้าซื้อพันธบัตร โดยธปท. พร้อมจะเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดตราสารหนี้ภาครัฐผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจาก Covid-19 ระยะที่ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
1) มาตรการทางการคลัง วงเงิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ และด้านการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 6 แสนล้านบาท และเพื่อดูแลเศรษฐกิจในประเทศวงเงิน 4 แสนล้านบาท
2) มาตรการทางการเงิน วงเงิน 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วงเงิน 5 แสนล้านบาท โดยให้ ธปท. สามารถปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ให้แก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อให้นำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจ SMEs และวงเงิน 4 แสนล้านบาทสำหรับสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยกำหนดให้จัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่อง (BSF) และให้ธปท. สามารถซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวได้ไม่เกิน 4 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กองทุนจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัทที่มีคุณภาพแต่ประสบปัญหาสภาพคล่องชั่วคราวจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 เพื่อให้บริษัทสามารถ Rollover ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท. ในการซื้อขายตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดรองในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อการรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและระบบการเงิน
3) มาตรการอื่น ๆ ได้แก่ ขยายวงเงินคุ้มครองเงินฝากที่ระดับ 5 ล้านบาทไปถึงวันที่ 10 ส.ค. 2564 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-banks) ผ่านธนาคารออมสิน และปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) จาก 0.46% เหลือ 0.23% เพื่อให้สถาบันการเงินมีต้นทุนต่ำลงซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้ของภาคธุรกิจและประชาชน
ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยเยียวยาผลกระทบจาก Covid-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งทำให้ระบบการเงินไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นมีแนวโน้มปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. มีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25 bps ภายในไตรมาส 2 นี้ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวแรง
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวคาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยหลักยังเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 และภาวะเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังต้องติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งทางการเงินและการคลังของภาครัฐ อุปทานพันธบัตร ความผันผวนในตลาดการเงินโลก และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้
สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน ส่วนชดเชยความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของหลายธุรกิจ โดยที่ระยะเวลาการแพร่ระบาดยิ่งยาวนานก็จะยิ่งส่งผลกระทบมากขึ้น
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มี.ค. ปรับตัวผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับลดลงในช่วง -16 ถึง -23 bps สอดคล้องกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นในช่วง +1 ถึง +70 bps จากปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Covid-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังไม่มีสัญญาณว่าการแพร่ระบาดจะไปถึงจุดสูงสุดหรือสามารถควบคุมได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนกและเทขายสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งพันธบัตรรัฐบาลเพื่อถือเงินสดจนกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงิน ธนาคารกลางทั่วโลกจึงพากันประกาศลดอัตราดอกเบี้ยและออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบ
สำหรับธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps มาอยู่ที่กรอบ 1-1.25% ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 3 มี.ค. และจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ Fed ประชุมฉุกเฉินอีกครั้งในวันที่ 16 มี.ค. และมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 100 bps มาอยู่ที่กรอบ 0-0.25% พร้อมทั้งออกมาตรการซื้อสินทรัพย์ (QE) มูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมาตรการผ่อนคลายอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดการเงิน นักลงทุนยังคงเทขายสินทรัพย์ออกมาต่อเนื่อง Fed จึงประชุมฉุกเฉินครั้งที่ 3 ในวันที่ 23 มี.ค. และประกาศขยายวงเงินซื้อสินทรัพย์แบบไม่จำกัด (unlimited QE) โดยจะครอบคลุมไปถึงตราสารหนี้ภาคเอกชนซึ่งนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default risk) โดยภายหลัง Fed ประกาศมาตรการดังกล่าวทำให้ตลาดพันธบัตรและตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น
ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มี.ค. อย่างไรก็ตาม ได้เพิ่มวงเงินในการซื้อสินทรัพย์ (QE) อีก 1.2 แสนล้านยูโรจนถึงสิ้นปีนี้ และต่อมาในวันที่ 18 มี.ค. ECB ได้ประชุมฉุกเฉินและประกาศโครงการซื้อสินทรัพย์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับโรคระบาด (Pandemic Emergency Purchase Programme) โดยจะซื้อสินทรัพย์ของทั้งภาครัฐและเอกชนวงเงินรวม 7.5 แสนล้านยูโร ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ -0.1% ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 16 มี.ค. อย่างไรก็ตาม ได้ออกมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการเพิ่มวงเงินซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชน 2 ล้านล้านเยน
ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างชาติเทขายตราสารหนี้ไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน มี.ค. เป็นมูลค่าสูงถึง 9.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ ธปท. จำเป็นต้องเข้ามาเสริมสภาพคล่องด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรองวงเงินรวมกว่า 1 แสนล้านบาท ในช่วงวันที่ 13-19 มี.ค. รวมทั้งมีการลดและยกเลิกการออกพันธบัตร ธปท.
อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ยังคงเผชิญแรงขายจากนักลงทุนและอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กนง. จึงประชุมฉุกเฉินในช่วงค่ำของวันศุกร์ที่ 20 มี.ค. และมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps มาอยู่ที่ 0.75% ส่วนหนึ่งเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน
นอกจากนี้ จากการที่ปัญหาสภาพคล่องได้ขยายวงกว้างไปสู่ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน นักลงทุนเกิดความกังวลเกี่ยวกับการที่บริษัทอาจจะไม่สามารถต่ออายุ (Rollover) ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้และการผิดนัดชำระหนี้ (Default risk) จึงเทขายตราสารหนี้ภาคเอกชน และลุกลามไปถึงกองทุนรวมตราสารหนี้จนเป็นสาเหตุให้ บลจ. แห่งหนึ่งต้องประกาศหยุดการซื้อขายและปิดกองทุนรวมตราสารหนี้รวม 4 กองในเวลาต่อมา ธปท. กระทรวงการคลัง และกลต. จึงได้มีการประชุมร่วมกันในวันอาทิตย์ที่ 22 มี.ค. และประกาศมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ใน 3 ด้าน ดังนี้
1) มาตรการเสริมสภาพคล่องแก่กองทุนรวม ธปท. จัดตั้งกลไกพิเศษผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่เข้าซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวมตลาดเงิน (Money market fund) และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนเปิด (Daily fixed income fund) ที่ถือสินทรัพย์คุณภาพดี สามารถนำหน่วยลงทุนดังกล่าวมาวางเป็นหลักประกันเพื่อขอสภาพคล่องจาก ธปท. ได้
2) กองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน สมาคมธนาคารไทย ธนาคารออมสิน ธุรกิจประกันภัย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ร่วมกันจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนออกใหม่ของบริษัทที่มีคุณภาพดี แต่ประสบปัญหาตลาดขาดสภาพคล่องจนส่งผลให้ไม่สามารถต่ออายุ (Rollover) ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้ครบทั้งจำนวน โดยวงเงินเริ่มต้นประมาณ 70,000-100,000 ล้านบาท
3) มาตรการเข้าซื้อพันธบัตร โดยธปท. พร้อมจะเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดตราสารหนี้ภาครัฐผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจาก Covid-19 ระยะที่ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
1) มาตรการทางการคลัง วงเงิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ และด้านการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 6 แสนล้านบาท และเพื่อดูแลเศรษฐกิจในประเทศวงเงิน 4 แสนล้านบาท
2) มาตรการทางการเงิน วงเงิน 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วงเงิน 5 แสนล้านบาท โดยให้ ธปท. สามารถปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ให้แก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อให้นำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจ SMEs และวงเงิน 4 แสนล้านบาทสำหรับสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยกำหนดให้จัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่อง (BSF) และให้ธปท. สามารถซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวได้ไม่เกิน 4 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กองทุนจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัทที่มีคุณภาพแต่ประสบปัญหาสภาพคล่องชั่วคราวจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 เพื่อให้บริษัทสามารถ Rollover ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท. ในการซื้อขายตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดรองในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อการรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและระบบการเงิน
3) มาตรการอื่น ๆ ได้แก่ ขยายวงเงินคุ้มครองเงินฝากที่ระดับ 5 ล้านบาทไปถึงวันที่ 10 ส.ค. 2564 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-banks) ผ่านธนาคารออมสิน และปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) จาก 0.46% เหลือ 0.23% เพื่อให้สถาบันการเงินมีต้นทุนต่ำลงซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้ของภาคธุรกิจและประชาชน
ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยเยียวยาผลกระทบจาก Covid-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งทำให้ระบบการเงินไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นมีแนวโน้มปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. มีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25 bps ภายในไตรมาส 2 นี้ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวแรง
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวคาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยหลักยังเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 และภาวะเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังต้องติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งทางการเงินและการคลังของภาครัฐ อุปทานพันธบัตร ความผันผวนในตลาดการเงินโลก และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้
สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน ส่วนชดเชยความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของหลายธุรกิจ โดยที่ระยะเวลาการแพร่ระบาดยิ่งยาวนานก็จะยิ่งส่งผลกระทบมากขึ้น