BF Economic Research
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก หดตัว -1.8% อ่อนแอลงจากที่ขยายตัว 1.5% ใน 4Q19 แต่ดีกว่าตลาด ทั้งนี้ หากเทียบรายไตรมาสต่อไตรมาสหลังขจัดปัจจัยฤดูกาล (QoQ, SA) พบว่า เศรษฐกิจไทยหดตัว -2.2% (vs. -0.2% ใน 4Q19) เข้าสู่ภาวะ Technical Recession
ในรายองค์ประกอบ
ด้านการใช้จ่าย
- การส่งออกสินค้าและบริการหดตัว -6.7% โดยได้รับแรงฉุดจากการส่งออกบริการที่หดตัว-29.8% ตามรายได้จากภาคการท่องเที่ยว
- การบริโภคเอกชนขยายตัว 3.0% (vs. +4.1% ใน 4Q19) เป็นอัตราที่ชะลอลงแต่ยังบวกได้ด้วยแรงหนุนจากกาารบริโภคสินค้าไม่คงทน
- การลงทุนหดตัว -6.5% (vs. +0.8% ใน 4Q19) ซึ่งได้รับแรงฉุดทั้งจากการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนที่หดตัว -9.3% (vs. +2.6% ใน 4Q19) และหดตัว -5.5% (vs. -5.1% ใน 4Q19) ตามลำดับ
- หากพิจารณาจาก GDP Contribution จะพบว่าส่วนหนึ่งที่ GDP ไทยไม่ลงแรงเนื่องด้วยมีการสะสมสินค้าคงคลังมากและ Contribute ให้กับ GDP ถึง 1.9% ทั้งนี้เมื่อคำนวณการเปลี่ยนแปลง YoY พบว่าสินค้าคงคลังขยายตัว 143% โดยสศช. รายงานว่ามีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นมากในสินค้าอุตสาหกรรม เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น รวมทั้งข้าวสารที่มีการสะสมสินค้าคลังเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่าธุรกิจส่วนหนึ่งผลิตสินค้าแต่ไม่สามารถระบายออกได้ และหากหักส่วนของสินค้าคงคลังออกไป GDP ไทยติดลบราว -3.7% YoY
ด้านการผลิต
- หดตัวทั้งภาคเกษตรกรรม (-5.7% จาก -2.5% ใน 4Q19) ภาคอื่นๆที่ไม่ใช่เกษตร (-1.4% vs. 2.0% ใน 4Q19) ซึ่งถูกฉุดโดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (-2.7%) และภาคบริการ (-1.1% vs. +4.1% ใน 4Q19) สาขาที่ติดลบหนักคือสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (-24.1%) สาขาการก่อสร้าง (-9.9%) และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (-6.0%)
สศช. ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ ลงมาอยู่ในช่วง -5% ถึง -6% เทียบกับประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวในช่วง +1.5% ถึง +2.5%
เรายังคงประมาณการ GDP ปีนี้ ที่ -5.2% in line ไปกับประมาณการของ สศช โดยจะปรับส่วนของ Dynamics รายไตรมาสให้ Q2 ติดลบมากกว่าประมาณการเดิม และคาดว่าในครึ่งปีหลัง จะค่อยๆฟื้นตัวภายหลังจากที่รัฐบาลค่อยๆ ถอนมาตรการ Lockdown ลง เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ให้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดบริการได้
สำหรับการประชุมกนง. ในอีกสองครั้งของครึ่งปีนี้เรายังคาดว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยลงมาที่ 0.5% จากปัจจุบันที่ 0.75%