• อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน มิ.ย. 20 อยู่ที่ 101.3 vs. prev 99.8 หรือ -1.57%YoY (vs. prev.-3.44%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 1.56% MoM (vs. prev.0.01% MoM)
• YTD: -1.13% (vs. prev.-1.04%) โดยอัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยลงจากระดับราคาพลังงานที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับที่รัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าและช่วยลดค่าสาธารณูปโภค
• อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ -0.05%YoY (vs. prev.0.01%YoY)เมื่อเทียบรายเดือน -0.01%MoM (vs. prev.-0.30%MoM)
• ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ 0.06%YoY (vs. prev.-0.01%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 0.20%MoM (vs. prev.0.02%MoM)
• ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (64% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ -2.53%YoY (vs. prev.-5.42%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 2.40%MoM (vs. prev.0.00%MoM)
• ในรายสินค้า พบว่า ราคาพลังงาน, ที่อยู่อาศัย, ขนส่ง, ผักและผลไม้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบรายเดือน MoM
• คาดว่าเดือนหน้า อัตราเงินเฟ้อน่าจะ ปรับตัวสูงขึ้น MoM เนื่องด้วยมาตรการลดค่าครองชีพสิ้นสุดลง
แนวโน้มเงินเฟ้อทั้งปี แนวโน้มเงินเฟ้อทั้งปี
• MOC กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค. น่าจะเป็นอัตราต่ำที่สุดแล้ว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 3และช่วงที่เหลือ ของปีนี้ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
• โดยปัจจัยสนับสนุนจะมาจาก สถานการณ์ COVID-19 ที่น่าจะเริ่มผ่อนคลายลง ส่งผล ดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการบริโภคสินค้าและบริการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งราคาพลังงานมีแนวโน้มทรง ตัวในระดับที่สูงกว่าไตรมาสที่ 2 ส่วนภัยแล้งยังคงเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตร
• ขณะที่ปัจจัยฉุดรั้งจะมาจาก ข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจในสถานการณ์ไม่ปกติที่ยังฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มต่ำกว่าศูนย์ และเฉลี่ยทั้งปีหดตัว
• กระทรวงพาณิชย์ ได้ ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ทั้งปี 2020 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากเดิม -1.0% ถึง -0.2% (ค่ากลางอยู่ที่ -0.6%) เป็น -1.5% ถึง -0.7% (ค่ากลางอยู่ที่ -1.1%)