ไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีที่น่าลงทุนในรอบนี้ Healthcare/ Biotech ก็เช่นกัน

ไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีที่น่าลงทุนในรอบนี้ Healthcare/ Biotech ก็เช่นกัน

โดย

มทินา วัชรวราทร

กองทุนบัวหลวง

โควิด -19 ถึงแม้จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมหาศาล แต่ก็เป็นเครื่องเตือนใจเช่นกันว่า ไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการมีสุขภาพที่ดีได้เลย ดังนั้น เราจึงเชื่อว่า คนจะให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้หนึ่งในแนวโน้มหลักในอนาคต คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและความรู้ด้านการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การป้องกัน หรือรักษาโรค ที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การคิดค้นยาใหม่ๆ การให้บริการทางด้านการแพทย์ ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยทุกขั้นตอน นำไปสู่การเติบโตใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมการแพทย์ Citi ออกรายงานเรื่อง 10 themes for the New Decades และหนึ่งในนั้น คือ การนำ AI มาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง และเราเชื่อว่า ธีมนี้ก็หนีไม่พ้นการนำ AI มาใช้ในการแพทย์ ในยุคต่อไปที่เทคโนโลยีกับการแพทย์คือเรื่องเดียวกัน เราเชื่อว่า ไม่มีช่วงเวลาไหนที่น่าลงทุนในหุ้นหรือกองทุนที่เกี่ยวกับการแพทย์ โรงพยาบาล หรือ biotech ได้เท่าช่วงเวลานี้

โรงพยาบาลจะเปลี่ยนไปอย่างไร

ในขณะที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในช่วงที่ปิดเมืองหรือกำลังซื้อที่แย่ลง ธุรกิจโรงพยาบาลจากที่นักลงทุนคิดว่า จะได้รับผลกระทบน้อยจากโควิด- 19 ก็ไม่จริงเช่นกัน โรงพยาบาลในไทยยังมีส่วนที่รายได้มาจาก medical tourism อยู่สัดส่วนไม่น้อย แต่โควิด-19 ทำให้การเดินทางข้ามประเทศแทบจะเป็นไปไม่ได้ จึงทำให้โรงพยาบาล ก็ต้องปรับตัวด้วย business model ใหม่ๆ เช่นเดียวกัน

Mckinsey ออกรายงานฉบับใหม่เรื่อง healthcare provider: Preparing for the next normal after Covid-19 รายงานนี้ได้กล่าวได้น่าสนใจว่า แน่นอนว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพจะยังอยู่ แต่โลกหลัง Covid-19 จะนำมาซึ่งโอกาสในเติบโตอย่างมากของธุรกิจนี้

เทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้ในการแพทย์อย่างมหาศาล

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแพทย์ ขั้นพื้นฐานเช่น การปรึกษาแพทย์เบื้องต้นโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล (telehealth consultation) ผ่านการใช้ virtual care ที่ทำให้แพทย์สามารถวิเคราะห์อาการได้อย่างชัดเจน และสามารถส่งเคสต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางได้ทันที โดย virtual care นี้อาจะเกิดขึ้นผ่าน application หรือทางเวบไซด์ก็ได้เช่นกัน ซึ่งโรงพยาบาลขนาดเล็กก็สามารถ outsource ว่าจ้าง third party เพื่อใช้ระบบนี้ หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่อาจจะพัฒนาระบบเอง เพื่อเก็บฐานข้อมูลของคนไข้ สร้าง stickiness กับโรงพยาบาลได้อีกด้วย ในช่วงที่โควิด-19 ยังระบาดอยู่นี้ การใช้ telehealth consultation นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาคนไข้ที่ไม่อยากมาโรงพยาบาล ได้ใช้บริการได้ ยังทำให้การตรวจรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดเวลาของทั้งแพทย์และคนไข้ ในการ pre-screen และพบแพทย์เฉพาะทางที่ตรงจุดได้

เทคโนโลยีนี้ยังสามารถนำมาใช้ในการรักษาคนไข้เคสปกติที่ไม่ด่วนมาก โดยใช้การรักษาเสมือนจริง virtual care ผ่าน AI-based diagnostic ซึ่งทำงานจากฐานข้อมูลที่อยู่ในคลาวด์ โดยในขั้นแรกของการรักษา คนไข้อาจจะเริ่มต้นจากการกรอกประวัติ บรรยายอาการต่างๆ เพื่อให้ AI วิเคราะห์อาการ ส่วนการรักษาในขั้นต้น ก็สามารถใช้ home-based monitoring devices ได้

การตรวจโควิดเชิงรุกทำให้เห็นว่า การที่เราใช้การตรวจโดยสุ่มเพื่อหาคนติดโควิด -19 ทำให้สามารถหยุดการแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าการที่รอให้แสดงอาการมาก โลกหลังโควิดจะเห็นความสำคัญของการป้องกันเชิงรุกมากขึ้น การตรวจเชิงรุกยังสามารถนำมาปรับใช้กับโรคหลายๆ โรค และเทคโนโลยีจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถขยายการให้บริการไปเป็นการตรวจหาโรคเชิงรุก เป็นจุดเคลื่อนที่ถึงบ้าน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หากโรงพยาบาลได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ได้จริง จะสามารถปลดล็อคอุปสรรคของ คนไข้ที่ต้องการมารักษาระหว่างช่วงโควิดระบาด หรือในช่วงที่การเดินทางข้ามประเทศไม่ได้

โอกาสของ Biotech มาถึง (อีกรอบแล้ว)

หลังจากที่ยุคทองของหุ้น Biotech เกิดขึ้น ในหลายปีที่ผ่านมา เราเชื่อว่า ปี 2020 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่นักลงทุนจะกลับมาสนใจหุ้น biotech อีกครั้ง บริษัท Biotech ได้นำเทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น quantum computer มาผสมผสานกับการวิจัย ค้นคว้า เราจึงเชื่อว่า เทคโนโลยีจะเป็นขับเคลื่อนการแพทย์ในรอบนี้ จนทำให้เกิดการคิดค้นวิธีรักษาใหม่ๆ หรือรักษาโรคยากๆ เพราะเหตุนี้  เงินลงทุนจึงไม่เพียงแต่หลั่งไหลที่ไปหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี แต่ smart money ก็ไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม Biotech อีกครั้ง

ความเป็น Defensive ของหุ้นกลุ่มนี้ น่าจะช่วยพยุงพอร์ตการลงทุนให้ไม่ติดลบเยอะเกินไป

ข้อดีของบริษัท biopharma คือ ถึงแม้เศรษฐกิจถดถอย ก็ไม่ได้ทำให้ความต้องการยาลดลง ทำให้ healthcare มีความเป็น defensive เมื่อเทียบกับดัชนี S&P อีกทั้งระดับราคาของบริษัทที่อยู่ในช่วงต้นของการคิดค้นนวัตกรรมยา ไม่ได้แพงเกินไปทำให้กลุ่มนี้น่าสนใจขึ้นมาอีกครั้ง โดยประเด็นที่จุดประกายความสนใจของตลาดขึ้นมานำโดย บริษัท Gilead Sciences Inc  , Biogen Inc. Alexion Pharmaceuticals หรือ Regeneron ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทที่เห็นชื่ออยู่ตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ แข่งกันที่จะเป็นบริษัทแรกในการคิดค้นยารักษา หรือวัคซีน หรืออย่างเช่น หุ้น BioNTech ที่ราคาขึ้นไปถึง 60% กลางเดือนมีนาคม ตอนที่ประกาศแผนที่จะเริ่มทดลอง วัคซีนในคน

CRISPR (การดัดแปลง ตัดต่อพันธุกรรม) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในการใช้นวัตกรรมในการช่วยตรวจหาโควิด CRISPR ศึกษาว่าในอดีต SARS-CoV2 มีปฏิกิริยากับเซลล์ของมนุษย์อย่างไร และใช้ความรู้เหล่านั้นมาหาวิธีตรวจและรักษาโควิด-19 ซึ่งเป็นการ test ที่ได้ผลลัพธ์ภายใน 40 นาทีโดยการตรวจเพียงน้ำลาย

นอกจากนวัตกรรมสำหรับโควิด-19 ความสำเร็จของบริษัท biotech จะมีก็ต่อเมื่อมีนวัตกรรมยาที่ถูกค้นพบใหม่ๆ ออกมาเช่น บริษัท Champgnon Brands ที่ผลิตยาที่ใช้รักษาอาการโรคซึมเศร้า ขี้กังวล หรือติดแอลกอฮอล์ เนื่องจากเห็นว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นสูงมาก ราคาหุ้นขึ้นไปหกเท่าในหกเดือนที่ผ่านมา ถึงแม้ว่ายาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายก็ตาม

เทคโนโลยีกับการแพทย์จะกลายเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก ตัวอย่างของบริษัทเทคโนโลยีที่ขยายมาทำ Medical technology/Biotech เพื่อสร้างการเติบโตใหม่ๆ เช่น  Quantum computer เป็นอีกแขนงหนึ่งที่บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ เข้าไปลงทุน เช่น Microsoft ที่มีศูนย์ quantum lab ที่ซิดนีย์ ด้วยความเชื่อที่ว่า quantum จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในการรักษาโรค หรือ IBM ที่ใช้ big data มาใช้กับการรักษาโรค บริษัทประสบความสำเร็จในการสร้าง IBM’s Geisinger Health System ที่ตั้งอยู่ที่ รัฐเพนซิวาเนียและนิวเจอซี แต่สามารถให้บริการคนไข้มาแล้วกว่า 3 ล้านคนใน 45 ประเทศ ศูนย์ Geisinger Health System เป็นโรงพยาบาลที่ใช้ Machine Learning และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่มีในการรักษา และที่สร้างให้สามารถให้บริการที่ดีในราคาถูกลง รวมถึง Apple Inc. ที่หันไปสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยเริ่มจาก wearable technology เพื่อเก็บข้อมูลและพัฒนาการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ Fall Detection ใน Apple Watch ที่นาฬิกาจะช่วยโทรติดต่อไปยังบุคคลฉุกเฉินหากผู้สวมใส่ล้มได้

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แน่นอนว่าจะเป็นการเติบโตใหม่ๆ ของการแพทย์และเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การเลือกหุ้น Biotech ต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งและเฉพาะทาง เราจะเลือกที่จะลงทุนเป็นกองทุน โดยเฉพาะกองทุน B-care ที่บริหารโดยกองทุน Wellington ซึ่งมีผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม คัดกรองบริษัทที่ดี ผลการดำเนินงานยังน่าพอใจ ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา (ณ วันที่ 30 เมษายน) กองทุนสร้างผลตอบแทนได้ถึง 11.62% ในขณะที่ตลาด S&P ให้ผลตอบแทนที่เป็นลบ

เลือกจะลงทุนใน Biotech เลือกลงทุนในกองทุน B-Care

B-Care เลือกที่จะลงทุนในสหรัฐอเมริกาเป็นสัดส่วนมากถึง 74% ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมส่วนใหญ่อยู่ที่สหรัฐ แต่กองทุนก็ยังแสวงหาโอกาสการลงทุนในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น ยุโรป และญี่ปุ่น โดยสัดส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรม คือส่วนใหญ่เป็น Medical technology, Biopharma และ Healthcare service คือ แปลว่าครอบคลุมทุกโอกาสการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในอุตสาหกรรม healthcare นี้ได้

กองทุนลงทุนในหุ้นเด่นๆ เช่น Intuitive Surgical เป็นผู้พัฒนาและผลิตทั้งระบบ และตัวหุ่นยนต์ ที่ใช้ผ่าตัดแบบโรบอติก ซึ่งสามารถช่วยลดแผลเป็น ลดระยะเวลาการพักฟื้น สินค้าเด่นคือ หุ่นยนต์ผ่าตัด da Vinci ที่เป็นผู้นำในตลาดโรบอติกมา 20 ปีแล้ว แน่นอนว่ากองทุนได้เพิ่มน้ำหนักในหุ้นตัวนี้หลังเกิดการระบาดโควิด 19 นอกจาก Intuitive Surgical ยังมีบริษัทอื่นๆอีกมาก เช่น Edward Lifesciences ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องลิ้นหัวใจเทียม เป็นการรักษาลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัดเปิดทรวงอก ซึ่งกองทุนก็ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นตัวนี้ด้วย หุ้น biotechnology เด่นในกองทุนนี้ คือ บริษัท PPD (Pharmaceutical Product Development) เป็นบริษัทวิจัย พัฒนายา จึงได้ประโยชน์โดยตรงจากการพัฒนาวัคซีน และยารักษา Covid-19 เมื่อนำมาทดลองกับมนุษย์

Healthcare เคยเป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจด้วยเรื่องราวของโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ แต่เราเชื่อว่าในรอบการลงทุนใหม่นี้ กลุ่ม healthcare กับ เทคโนโลยีจะเป็นสองกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนไปพร้อมกัน healthcare จะได้ไม่ได้เติบโตด้วยเรื่องราวการสร้างโรงพยาบาล หรือจำนวนเตียงอีกต่อไป แต่จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการรักษาแบบใหม่ๆ เช่น Therapeutics ยาแขนงบำบัดโรค และการใช้ AI, quantum, การดัดแปลงพันธุกรรม มาเป็นวิธีวินิจฉัยและรักษา เราจึงเชื่อว่า healthcare จะเป็นธีมการลงทุน ที่มีแต่จะเพิ่มความสำคัญขึ้นหลังโควิด-19 จบสิ้น

Source: Smart Money is racing into the Biotech Boom, Financial morning post May 8,2020. Mckinsey Healthcare Providers: Preparing for the next normal after COVID-19 May 8,2020.

How has Coronavirus Affected Europe’s Biotech Stocks? Carlos De Rojas, 20 April 2020

Ten Themes for the New Decade Covid 19 Legacy and Beyond, Asia Economics View 5 May 2020.