BF Economic Research
ส่งออกไทยในเดือน มิ.ย. 2020 อยู่ที่ 16,444.0 ล้านดอลลาร์ฯ prev 16,278.4 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -23.20% YoY (vs. prev.-22.50% YoY)
ขณะที่การส่งออกหากไม่นับรวมทองจะอยู่ที่ -17.26% YoY (vs. prev.-27.86%YoY) YTD Export Growth เท่ากับ – 7.10% vs.prev.-3.72%
สำหรับมูลค่านำเข้าไทยในเดือน มิ.ย.2020 อยู่ที่ 14,834.0 ล้านดอลลาร์ฯ prev 13,583.8 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -18.10%YoY (vs. prev.-34.40%YoY) YTD Import Growth เท่ากับ -12.6% vs.prev.-11.6%
ดุลการค้าในเดือน มิ.ย.2020 อยู่ที่ 1,610.0 ล้านดอลลาร์ฯ prev 2,694.6 ล้านดอลลาร์ฯ ดุลการค้า YTD ในเดือน มิ.ย. 2020 อยู่ที่ 10,700.6 ล้านดอลลาร์ฯ prev 9,090.6 ล้านดอลลาร์ฯ
ในรายสินค้าการส่งออกสินค้าในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัว -9.9% YoY ในเดือนมิ.ย. และ -2.1% YoY YTD โดยสินค้าที่หดตัวค่อนข้างมากได้แก่
- ข้าว (-25.6% YoY, -14.1% YoY YTD) เนื่องด้วยราคาข้าวไทยแพงเมื่อเทียบกับเวียดนามและอินโดนีเซีย
- ยางพารา (-55.6% YoY, -22.1% YoY YTD) ได้รับแรงกดดันจากออเดอร์รถยนต์ที่หดตัวหนัก
- ผลิตภัณฑ์จากสำปะหลัง (-5.8% YoY, -8.0% YoY YTD) เนื่องด้วย โรงงานบางส่วนหยุดดำเนินการชั่วคราวเนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีโรคใบด่างด้วยเป็นผลให้ราคาตก
- น้ำตาล (-57.1% YoY, -15.4% YoY YTD)
สำหรับสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องได้แก่ สินค้ากลุ่มอาหารเช่น
- อาหารทะเลแช่แข็ง (9.1% YoY, -0.5% YoY YTD) ได้รับอานิสงส์จากที่ประเทศอื่นกักตุนสินค้าในช่วง COVID-19
- ผักผลไม้สด แช่แข็ง แปรรูป (8.8% YoY , 14.0% YoY YTD) จากออเดอร์จีนและฮ่องกงที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดู มะม่วง ทุเรียน มังคุด เงาะ
- ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง (4.6% YoY, 4.6% YoY YTD) ได้รับออเดอร์เพิ่มจากที่โรงงานในบราซิลปิดในช่วงนี้
การส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม หดตัว -25.1% YoY ในเดือนมิ.ย. และ -7.5% YoY YTD สินค้าที่หดตัวมาก
- สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-2% YoY, -20.5% YoY YTD) โดยเป็นการหดตัวแรงในทุกรายการไม่ว่าจะเป็น รถยนต์นั่ง (-29.6% YoY) ปิกอัพ (-49.8%YoY) ชิ้นส่วนรถยนต์ (-52.1% YoY) รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วน (-5.1% YoY) เป็นผลกระทบโดยตรงจาก Covid-19
- เครื่องใช้ไฟฟ้า (-15.2% YoY, -11.2% YoY YTD) เป็นการลดลงทั้งจากเครื่องปรับอากาศและ TV
- อัญมณีและเครื่องประดับ (-81.1% YoY, 39% YoY YTD) ฉุดโดยการส่งออกทองคำที่หดตัว -86% YoY เป็นหลัก
- เม็ดพลาสติกและอื่นๆ (-13.4% YoY, -14.8% YoY YTD)
สินค้าที่ขยายตัวได้แก่
- เครื่องอิเล็กทรอนิกส์โดย Flat ที่ -0.3% YoY, 0.2% YoY YTD โดยในองค์ประกอบพบว่ามีสินค้าย่อยที่ยังขยายตัวเป็นบวกได้แก่ กลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบขยายตัวที่ 6% YoY, 0.8% YoY YTD หนุนโดยยอดสั่งซื้อ HDD (1.4% YoY) และเครื่องคอมพิวเตอร์ (17.9% YoY) จากกระแส WFH ทั่วโลก
- ผลิตภัณฑ์จากยางพาราขยายตัวที่5% YoY ,-0.4% YoY YTD หนุนจากความต้องการถุงมือยางทั่วโลก
ในรายประเทศพบว่า สหรัฐฯ (14.5 % YoY , 2.5% YoY YTD) และจีน (12% YoY, 5.8% YoY YTD) ยังสั่งสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น YoY
Bottom Line
กระทรวงพาณิชย์ให้ความเห็นว่า การส่งออกที่ติดลบหนักนี้เป็นการติดลบหนักที่สุดในรอบ 131 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2009 โดยแรงฉุดหลักเกิดจากยอดออเดอร์ในกลุ่มยานยนต์หดตัวหนัก ขณะที่ยอดส่งออกทองได้ปรับตัวลดลง
กระทรวงพาณิชย์มองว่าการส่งออกในเดือนมิ.ย. น่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และมองเห็นสัญญาณ Bottom Out เนื่องจากหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนและราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยต่อการส่งออก
สำหรับภาพของการส่งออกทั้งปี 2020 นี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่าจะหดตัวในกรอบ -7 ถึง- 8%