BF Economic Research
- การบริโภคครัวเรือนหดตัว -4.7% YoY (vs. -11.5% เดือนก่อน) โดยการใช้จ่ายครัวเรือนหดตัวน้อยลงในทุกหมวด กล่าวคือ หมวดสินค้าไม่คงทน (-3.2% vs. prev. -6.4%) หมวดสินค้ากึ่งคงทน (-4.4% vs. prev. -7.8%) หมวดสินค้าคงทน (-18.9% vs. prev. -32.0%) และหมวดบริการ (-24.3% vs. prev. -28.6%) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการใช้จ่ายในสินค้าหมวดคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวสูงในระดับสองหลัก สอดคล้องกับเครื่องชี้กำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ สะท้อนจากรายได้เกษตรกร (-1.9% vs. prev. -3.2% เดือนก่อน)
- การลงทุนภาคเอกชนหดตัว -12.1% YoY ปรับดีขึ้นจาก -18.2% เดือนก่อน โดยแม้เครื่องชี้การลงทุนจะหดตัวในวงกว้าง แต่เราเห็นการหดตัวในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเฉพาะยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่เพื่อการลงทุน (-12.6% vs. prev. -34.7%) และการนำเข้าสินค้าทุน (-13.7% vs. prev. -26.8%)
- นักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว -100% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม ซึ่งเป็นผลมาจากการปิดน่านฟ้าและยังคงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว เป็นผลให้รายได้จากการท่องเที่ยว YTD อยู่ที่ 3.3 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ 5.6 แสนล้านบาท
- ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง สะท้อนจากสัดส่วนจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงานในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลที่ -247 ร้อยล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุล 64 ล้านดอลลาร์ฯ เป็นผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัด YTD เกินดุลอยู่ที่ 8.0 พันล้านดอลลาร์ฯ ลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุล 1.78 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ทำให้ทั้งปีเรามองว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยจะอยู่ที่ 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์ฯหรือ 2.5% ของ GDP เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ หรือที่ 6.7% ของ GDP
- มองไปข้างหน้าเราคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะทยอยฟื้นตัวจากการผ่อนคลายล็อคดาวน์ และจะเริ่มเห็นการกลับเข้ามาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศภายหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศผ่อนคลายเฟส 6 ที่ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติ 4 กลุ่มสามารถเข้ามาในประเทศได้
- สำหรับ GDP ไตรมาส 2/2020 นั้นน่าจะหดตัวในอัตราติดลบต่ำสุด โดย Market Consensus มองว่าจะหดตัวที่ -11.1% YoY ก่อนที่จะทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยที่การใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงผลักดันสำคัญ ทั้งนี้รัฐบาล ได้อนุมัติข้อเสนอโครงการที่ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นในรอบแรก ในส่วนของมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 4 แสนล้านบาท (ภายใต้ พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท) อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดอนุมัติไปแล้วราว 10% ของงบประมาณรวม