“อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล (Bond supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้”
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ก.ค. แกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 3 ปี ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง +1 ถึง +2 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 3 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -9 bps ถึง +5 bps ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอ้างอิง อายุ 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี และ 50 ปี แม้มีมูลค่ารวมสูงถึง 81,400 ล้านบาท แต่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดี โดยเฉพาะพันธบัตรรุ่นอ้างอิงอายุ 5 ปี ด้านนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อตราสารหนี้ไทยสุทธิต่อเนื่องจากเดือนก่อน หลังจากที่ขายสุทธิ 4 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่เดือน ก.พ. โดยในเดือน ก.ค. มีเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยสุทธิ 1.8 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาวเป็นหลัก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี อยู่ที่ 1.27% (-1 bps MTD) ณ สิ้นเดือน ก.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 0.55% (-11 bps MTD)
ด้านผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลกในเดือนนี้ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ระดับ 0% ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ BOJ ได้ตัดสินใจคงมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนในวงเงินรวม 110 ล้านล้านเยน (1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งรวมถึงโครงการเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยสำหรับบริษัทเอกชน ตลอดจนเข้าซื้อหุ้นกู้ และตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper) หลังจากที่ได้เปิดตัวโครงการดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา
ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ ECB มีมติคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ที่ระดับ 1.35 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการดังกล่าวจนถึงเดือน มิ.ย.2564
ส่วนธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% โดยคณะกรรมการฯ คาดว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวไปจนกว่าจะมั่นใจว่าเศรษฐกิจสามารถต้านทานปัจจัยลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 2 หดตัว 32.9% รุนแรงมากที่สุดในรอบ 73 ปีนับตั้งแต่บันทึกสถิติในปีค.ศ. 1947 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำ GDP หดตัวอย่างมากในไตรมาสที่ 2 เป็นผลมาจากการระบาดของ COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักลง และส่งผลให้ประชาชนหลายสิบล้านคนว่างงานและทำให้อัตราว่างงานเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์
สำหรับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ในประเทศและการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาด แต่ยังต้องระวังความเสี่ยงจากโอกาสเกิดการระบาดระลอกที่ 2 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบในปีนี้ แต่จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปี 2564 ระบบการเงินมีเสถียรภาพแม้ว่าจะเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ สภาพคล่องโดยรวมในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง ส่วนค่าเงินบาทกลับมามีแนวโน้มแข็งค่าซึ่งหากเงินบาทกลับมาแข็งค่าเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี มาตรการการคลังของรัฐบาล รวมทั้งมาตรการการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดคลี่คลาย เอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย และลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ปีนี้ หดตัวที่ -8.5% ลดลงจากประมาณการเดิมเมื่อเดือน ม.ค. ที่คาดว่าจะขยายตัว +2.8% และต่ำกว่าปีก่อนที่ขยายตัว +2.4% ซึ่งถือว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ คาดว่า GDP ไทยจะกลับมาขยายตัวได้ 4-5% ในปี 2564
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันไปตลอดทั้งปี 2563 และน่าจะหันไปใช้เครื่องมือนโยบายการเงินอื่นมากขึ้นในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล (Bond supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรรัฐบาล (Bond switching) วงเงินไม่เกิน 100,000 ล้านบาทในเดือน ส.ค. นี้
Fund Comment
Fund Comment กรกฎาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
“อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล (Bond supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้”
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ก.ค. แกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 3 ปี ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง +1 ถึง +2 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 3 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -9 bps ถึง +5 bps ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอ้างอิง อายุ 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี และ 50 ปี แม้มีมูลค่ารวมสูงถึง 81,400 ล้านบาท แต่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดี โดยเฉพาะพันธบัตรรุ่นอ้างอิงอายุ 5 ปี ด้านนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อตราสารหนี้ไทยสุทธิต่อเนื่องจากเดือนก่อน หลังจากที่ขายสุทธิ 4 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่เดือน ก.พ. โดยในเดือน ก.ค. มีเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยสุทธิ 1.8 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาวเป็นหลัก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี อยู่ที่ 1.27% (-1 bps MTD) ณ สิ้นเดือน ก.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 0.55% (-11 bps MTD)
ด้านผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลกในเดือนนี้ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ระดับ 0% ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ BOJ ได้ตัดสินใจคงมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนในวงเงินรวม 110 ล้านล้านเยน (1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งรวมถึงโครงการเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยสำหรับบริษัทเอกชน ตลอดจนเข้าซื้อหุ้นกู้ และตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper) หลังจากที่ได้เปิดตัวโครงการดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา
ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ ECB มีมติคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ที่ระดับ 1.35 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการดังกล่าวจนถึงเดือน มิ.ย.2564
ส่วนธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% โดยคณะกรรมการฯ คาดว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวไปจนกว่าจะมั่นใจว่าเศรษฐกิจสามารถต้านทานปัจจัยลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 2 หดตัว 32.9% รุนแรงมากที่สุดในรอบ 73 ปีนับตั้งแต่บันทึกสถิติในปีค.ศ. 1947 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำ GDP หดตัวอย่างมากในไตรมาสที่ 2 เป็นผลมาจากการระบาดของ COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักลง และส่งผลให้ประชาชนหลายสิบล้านคนว่างงานและทำให้อัตราว่างงานเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์
สำหรับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ในประเทศและการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาด แต่ยังต้องระวังความเสี่ยงจากโอกาสเกิดการระบาดระลอกที่ 2 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบในปีนี้ แต่จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปี 2564 ระบบการเงินมีเสถียรภาพแม้ว่าจะเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ สภาพคล่องโดยรวมในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง ส่วนค่าเงินบาทกลับมามีแนวโน้มแข็งค่าซึ่งหากเงินบาทกลับมาแข็งค่าเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี มาตรการการคลังของรัฐบาล รวมทั้งมาตรการการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดคลี่คลาย เอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย และลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ปีนี้ หดตัวที่ -8.5% ลดลงจากประมาณการเดิมเมื่อเดือน ม.ค. ที่คาดว่าจะขยายตัว +2.8% และต่ำกว่าปีก่อนที่ขยายตัว +2.4% ซึ่งถือว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ คาดว่า GDP ไทยจะกลับมาขยายตัวได้ 4-5% ในปี 2564
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันไปตลอดทั้งปี 2563 และน่าจะหันไปใช้เครื่องมือนโยบายการเงินอื่นมากขึ้นในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล (Bond supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรรัฐบาล (Bond switching) วงเงินไม่เกิน 100,000 ล้านบาทในเดือน ส.ค. นี้