Highlight
- ดัชนีบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ อาทิ ยอดขายบ้านใน 30 เมืองหลัก ปริมาณการใช้ถ่านหินในการผลิตพลังงาน ระดับการจราจรใน 10 เมืองหลัก กลับมาอยู่ที่ระดับเดียวกันกับก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19
- ความขัดแย้งทางการค้าที่ตึงเครียดต่อเนื่องทำให้บริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดของสหรัฐฯ หันกลับมาจดทะเบียนในตลาดจีนและฮ่องกง เพราะต้องการลดความไม่แน่นอนของตัวเอง ซึ่งส่งผลดีเพราะเกือบทั้งหมดเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพสูงซึ่งจะได้รับประโยชน์จากโครงสร้างระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจจีน
- ระดับราคาหุ้น Valuation ถูกกว่าสหรัฐฯ เมื่อวัดจากอัตราส่วน Price-to-Earnings Ratio สิ้นปี 2563 ตลาดหุ้นจีน A-Shares ปัจจุบันซื้อขายต่ำกว่า (Discount) เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ (ดัชนี S&P 500) ที่ประมาณ -30%
- ในระยะสั้นยังต้องติดตามสัญญาณลดความร้อนแรงของราคาหุ้นจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนรายย่อย
เศรษฐกิจจีนปัจจุบันอยู่ ณ จุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวหลังก้าวข้ามผ่านสถานการณ์ COVID-19 และกำลังจะเร่งเศรษฐกิจด้วยการผลักดันการบริโภคภายในประเทศ คาดการณ์จะแซงหน้าสหรัฐฯ ในฐานะเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2030 หุ้นจีนเป็นตลาดที่มีความเฉพาะตัวเห็นได้จากมีจำนวนบริษัทเทคยูนิคอร์นมากที่สุดของโลก บริษัทเหล่านี้แน่นอนว่ามีศักยภาพในการก้าวเข้าถึงความต้องการของลูกค้าตอบโจทย์การบริโภคในประเทศที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ในการก้าวไปสู่เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก หุ้นจีนจะมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หลายประเทศ ทั้งในประเทศจีน (A-Shares) ฮ่องกง (H-Shares) และประเทศสหรัฐฯ (US-listed) แต่ละตลาดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แทนที่นักลงทุนจะโฟกัสไปยังตลาดเดียว กลยุทธ์การลงทุนแบบ all-in จะช่วยให้แสวงหาโอกาสลงทุนทั้งหมดที่มีในจีนได้
ในอดีตนักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนหุ้นจีนผ่านเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกง ในเวลาเดียวกันบริษัทจีนเริ่มมีการจดทะเบียนในสหรัฐฯ มากขึ้น เป็นการอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนเข้าถึงหุ้นจีน การขยับขยายดังกล่าวได้นำมาสู่การเปิดตลาด A-Shares ซึ่งเป็นตลาดของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศ ผ่านการลงทุนช่องทาง Stock connect โปรแกรม
บริษัทจีนที่จดทะเบียนในฮ่องกงส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจแบบเก่าเช่น สถาบันการเงิน สื่อสาร สาธารณูปโภค (ยกเว้นเทคโนโลยี) ขณะเดียวกันบริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในสหรัฐฯ จะเน้นไปทางธุรกิจประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย สื่อสาร ขณะที่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาด A-Shares มีความคลอบคลุมที่หลากหลายกว่า เป็นเศรษฐกิจใหม่ เช่น ธุรกิจประเภทท่องเที่ยว บันเทิง อุปกรณ์สื่อสาร 5G เฮลธ์แคร์ อุตสาหกรรมออโตเมชัน พลังงานทางเลือก ยานยนต์ ไบโอเทคโนโลยี
ความขัดแย้งทางการค้าที่ตึงเครียดต่อเนื่องทำให้บริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดของสหรัฐฯ หันกลับมาจดทะเบียนในตลาดฮ่องกงเพราะต้องการลดความไม่แน่นอนของตัวเอง ซึ่งส่งผลดีเพราะเกือบทั้งหมดเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพสูงซึ่งจะได้รับประโยชน์จากโครงสร้างระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจจีน ในอีกมุมหนึ่งการที่บริษัทเหล่านี้หันกลับมาจดทะเบียนในบ้านเกิดของตัวเอง ก็อาจได้รับความสนใจจากนักลงทุนในประเทศทั้งรายย่อยและสถาบัน ที่ต้องการขยายกรอบการลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ โดยจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภท ตราสารทุนที่ออกโดยบริษัทจีนได้ทุกตลาด กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีนได้มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited เป็นผู้รับดำเนินการในต่างประเทศ (Outsourced Fund Manager)
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน มีรายละเอียดการลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุน Allianz China A Shares 43.57% และหน่วยลงทุนกองทุน Allianz All China Equity 35.83% ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในบริษัทรายตัว
หน่วยลงทุนกองทุน Allianz China A Shares Equity Fund
ผู้จัดการกองทุน AGI ไม่ได้ปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีนัยจากเมื่อสิ้นไตรมาสที่แล้ว (ไตรมาสที่ 2 ปี 2563) ยังคง Overweight หุ้นในกลุ่มอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม ไอที และ Underweight หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินเนื่องจากธุรกิจในภาคการเงินยังมีรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมกับส่วนแบ่งตลาดของบริการทางการเงินอยู่ ที่เรียกว่า National services โดยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย ณ ต้นไตรมาสที่ 3 หน่วยลงทุน Allianz China A Shares Fund มีสัดส่วนเงินสด/สินทรัพย์สภาพคล่องที่สูงกว่าระดับปกติ กล่าวคือถือครองเงินสดในสัดส่วน 6.0% เพราะกองทุนได้รับความนิยมทำให้มีเงินไหลเข้ากองทุนมากขึ้น ผู้จัดการกองทุนจึงได้ปรับลดสัดส่วนดังกล่าวด้วยการเลือกลงทุนในหุ้นเติบโตที่อยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และไอที
ผลการดำเนินงานรอบล่าสุดระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2563 หน่วยลงทุน Allianz China A Shares Fund ทำผลการดำเนินงานในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯได้ 27.3% สูงกว่าดัชนี MSCI China A Shares Onshore Total Return (Net) in USD ที่ 16.0% ผลการดำเนินงานที่ดีเป็นผลมาจากการคัดเลือกหลักทรัพย์รายตัวในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมตั้งแต่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม ไอที วัสดุก่อสร้าง เฮลธ์แคร์
มุมมองต่อหุ้น Top-5 ที่สร้างผลตอบแทนด้านบวกให้กับหน่วยลงทุน Allianz China A Shares (Positive Contributors) ในไตรมาสล่าสุด (ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หรือระหว่างวันที่ 1 มี.ค. – 30 มิ.ย. 2563)
1) บริษัท Luxshare Precision Industry (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 3.6% สัดส่วนในดัชนี 0.9%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 75.9% ในไตรมาส 2)
Sector: ไอที (Information Technology)
บริษัททำธุรกิจคอนซูเมอร์อิเล็คทรอนิกส์โดยเป็นซัพพลายเออร์ให้กับค่ายบริษัท Apple หากเปรียบเทียบบริษัท Foxconn ซึ่งเป็นบริษัทไต้หวันแล้ว ยังเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดซึ่งผลิตชิ้นส่วนภายในให้มือถือไอโฟน ในจีนบริษัท Luxshare ถือว่าเป็นบริษัท Foxconn สอง เพราะบริษัทสามารถทำในสิ่งที่เหนือกว่าสิ่งที่บริษัท Foxconn ทำได้ เช่นงานในแขนงระบบเครือข่าย 5G นอกจากนี้บริษัทมีโครงสร้างธรรมาภิบาลที่ดี เชื่อว่าในอีก 2-3 ปีจะสามารถสร้างรายได้อย่างก้าวกระโดด
2) บริษัท Shanxi Xinghuacun Fenwi (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 3.4% สัดส่วนในดัชนี 0.2%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 62.3% ในไตรมาส 2)
Sector: สินค้าอุปโภคบริโภคฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary)
ตัวอย่างสินค้า
บริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผลิตสุราขาว ภายใต้ชื่อ ‘Fenwi’ ล่าสุดมีการแลกหุ้นกับบริษัทค้าปลีกแห่งหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน China Resources Group ทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางการจัดจำหน่ายได้อย่างรวดเร็วจากจังหวัดชานซี ไปยังภูมิภาคอื่นในจีน ช่วงครึ่งปีแรก ธุรกิจสุราขาวในจีนมียอดขายค่อนข้างดี ราคาขายปลีกหน้าร้านยังคงอยู่ในระดับทรงตัว ส่วนครึ่งปีหลัง จะเป็นช่วงที่มีอุปสงค์มากที่สุด โดยเฉพาะในไตรมาส 3 จะเป็นไตรมาสที่ขายดี กองทุนหลักถือครองหุ้นตัวนี้ต่อไป และหากเมื่อเทียบกับหน่วยลงทุนของกองทุนคู่แข่ง เช่น UBS China A Shares Opportunities จะเน้นลงทุนหุ้นสุราขาวของบริษัท Kweichow Moutai ซึ่งราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 33.6% ในไตรมาส 2 ต่ำกว่าบริษัท Shanxi Xinghuacun Fenwi กว่า 29% ในระยะเวลาเพียงไตรมาสเดียว
3) บริษัท China Tourism Group Duty Free (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 3.4% สัดส่วนในดัชนี 0.2%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 62.3% ในไตรมาส 2)
Sector: สินค้าอุปโภคบริโภคฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary)
“บริษัทได้รับประโยชน์จากมาตรการล็อคดาวน์ที่ไม่ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อลดการแพร่ระบาดของ COVID-19”
เดิมบริษัทมืชื่อว่า China International Travel แต่เนื่องจากบริษัทขยับมาทำ Duty free Shop Operation เป็นธุรกิจหลักเกือบจะทั้งหมด จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท China Tourism Group Duty Free การที่ราคาหุ้นพุ่งแรงมีสาเหตุมาจากการการกลับมาเปิดพื้นที่ชอปปิงในมณฑลไห่หนานหรือเกาะไหหลำ ซึ่งตรงกับเวลาที่ทางการจีนเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศจีนได้ ซึ่งเดิมทีบริษัทมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเกาหลีใต้ ไทย ไต้หวัน แต่ภายหลังการชัดดาวน์ ทำให้คนจีนไม่สามารถเดินทางออกไปต่างประเทศได้ ชาวจีนที่ชอบท่องเที่ยวจึงเดินทางไปเกาะไหหลำแทน รายได้บริษัทที่มาจากเกาะไหหลำและคิดเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้รวมจึงเติบโตสูง นอกจากนี้ บริษัทได้รับประโยชน์จากการที่ล่าสุดทางการจีนปรับเพิ่มยอดโควต้าให้ชาวจีนสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าที่ไม่เสียภาษี (Duty free) ในประเทศได้มากขึ้น
4) บริษัท Zhejiang Dingli Machine (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 2.1% สัดส่วนในดัชนี 0.1%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 86.2% ในไตรมาส 2)
Sector: อุตสาหกรรม (Industrial)
ตัวอย่างสินค้า
ผลิตรถยกไฟฟ้าสำหรับนั่งร้าน ใช้ในงานก่อสร้างของคนงาน รายใหญ่ที่สุดในจีน มีจุดเด่นตรงที่คนจีนกังวลเรื่องความปลอดภัยจึงมีแนวโน้มว่าทั้งอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัมซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าและกำลังได้รับความนิยม ในห้วงเวลาที่ตลาดไม่มั่นใจต่อการเติบโตราคาหุ้นมักสะท้อนเชิงลบตามมุมมองของตลาด ธุรกิจบริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในครึ่งปีหลังของปี 2563 หากต่างประเทศมีสถานการณ์ที่ดีขึ้น ยอดส่งออกน่าจะก้าวกระโดดส่งผลบวกต่องบการเงินไตรมาส 3
5) บริษัท Hangzhou Tigermed Consulting (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 4% สัดส่วนในดัชนี 0.2%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 62.3% ในไตรมาส 2)
Sector: เฮลธ์แคร์ (Health Care)
ลักษณะธุรกิจ
บริษัททำธุรกิจ Clinical contractor research ให้กับบริษัทเภสัชกรรมที่ทดลองนวัตกรรมยาในประเทศจีน ด้วยการที่ชาวจีนให้ความใส่ใจตระหนักในเรื่องสุขภาพและงบประมาณทางด้านเฮลธ์แคร์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อุปสงค์ต่องานวิจัยยาที่อยู่ในระยะทดลองทางห้องแลป ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทเร่งตัว ในอนาคตบริษัทเตรียมพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาด H-Shares เช่นกัน
มุมมองต่อหุ้น Top-5 ที่สร้างผลตอบแทนด้านลบให้กับหน่วยลงทุน Allianz China A Shares (Negative Contributors) ในไตรมาสล่าสุด (ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หรือระหว่างวันที่ 1 มี.ค. – 30 มิ.ย. 2563)
1) บริษัท Kweichow Moutai (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 0.0% สัดส่วนในดัชนี 4.0%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 33.6% ในไตรมาส 2)
Sector: สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Discretionary)
ตัวอย่างสินค้า
ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าบริษัทเหล้าคู่แข่งอย่างหุ้นของบริษัท Shanxi Xinghuacun Fenwi (กองทุนลงทุนอยู่) และบริษัท Wu Liang Ye (กองทุนไม่ได้ลงทุน) ดังนั้นในเชิงเปรียบเทียบการที่กองทุนไม่ถือบริษัท Kweichow Moutai จึงได้ทำผลตอบแทนได้ดีกว่าแม้จะเป็นบริษัทจะเป็น Top Negative Contributors ก็ตาม
2) บริษัท Yonghui Superstores Co (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 8% สัดส่วนในดัชนี 0.3%, ราคาหุ้นลดลง -6.9% ในไตรมาส 2)
Sector: สินค้าอุปโภคจำเป็น (Consumer Staple)
ทำซูเปอร์มาร์เก็ต ราคาหุ้นบริษัทวิ่งขึ้นช้ากว่าตลาด แต่เนื่องจากสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์ COVID-19 กองทุนจึงถือครองต่อ
3) Citic Securities Co Ltd (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 9% สัดส่วนในดัชนี 1.1%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 9.1% ในไตรมาส 2)
Sector: Financial (สถาบันการเงิน)
เจ้าตลาดในธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในจีนแผ่นดินใหญ่ บริษัทมีเป้าหมายขยายธุรกิจไปยังฮ่องกงและประเทศในกลุ่มอาเซียน ด้วยความผันผวนของตลาด A-Shares ในไตรมาส 2 ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเพียง 9.1% แต่ตั้งแต่เดือนก.ค. เป็นต้นไป ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เริ่มสูงขึ้น ประกอบกับธุรกิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์น่าจะได้รับประโยชน์จากการที่บริษัทจีนในสหรัฐฯ หันกลับมาจดทะเบียนในประเทศมากขึ้น
4) บริษัท Poly Developments And Holdings (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 2.4% สัดส่วนในดัชนี 0.7%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 5.4% ในไตรมาส 2)
Sector: อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate)
แม้ผู้จัดการกองทุนจะไม่ได้ให้น้ำหนักกับกลุ่มอสังหาฯ มากนัก แต่เนื่องจากเป็นบริษัทคุณภาพ สามารถส่งมอบการขายได้ตรงตามเป้าหมาย ผนวกกับเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจที่ทีมขายได้มีแรงจูงใจในการได้รับ Management incentive หากสร้างยอดขายได้ทะลุเป้าหมาย
หน่วยลงทุนกองทุน Allianz All China Equity Fund
ผู้จัดการกองทุน AGI ยังคงให้น้ำหนักกับหุ้นในกลุ่มเดียวกันกับหน่วยลงทุน Allianz China A Shares Equity Fund กล่าวคือ Overweight หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และไอที ในทางตรงกันข้าม Underweight หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน และบริการด้านการสื่อสาร
ผลการดำเนินงานรอบล่าสุดระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2563 หน่วยลงทุน Allianz All China Equity Fund ทำผลการดำเนินงานในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯได้ 26.9% สูงกว่าดัชนี MSCI China A Shares Onshore Total Return (Net) in USD ที่ 15.4% ผลการดำเนินงานที่ดีเป็นผลมาจากการคัดเลือกหลักทรัพย์รายตัวในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม ไอที เฮลธ์แคร์
ตัวอย่างหุ้นที่สร้างผลตอบแทนด้านบวกให้กับหน่วยลงทุน Allianz All China Equity Fund (Positive Contributor) ในไตรมาสล่าสุด (ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หรือระหว่างวันที่ 1 มี.ค. – 30 มิ.ย. 2563)
- บริษัท Meituan Dianping (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 1.9% สัดส่วนในดัชนี 1.0%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 83.6% ในไตรมาส 2)
Sector: บริการด้านการสื่อสาร (Communication Services)
เป็นบริษัทที่ให้บริการจัดส่งอาหารท้องถิ่น แอปพลิเคชันของบริษัทกลายเป็นที่ยอดฮิตของชาวแดนมังกรซึ่งครอบคลุมตั้งแต่สืบค้นร้านอาหาร รีวิวร้านและบริการอื่นๆ แบบครบวงจรแถมยังเป็น Food Delivery ที่ขึ้นอันดับหนึ่งเบียดบริษัทยักษ์ใหญ่จาก Alibaba ไปได้อย่างขาดลอย กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บริษัทระสบความสำเร็จนั่นคือ การทำตัวเองให้เป็นสุดยอดผู้ให้บริการ เจาะกลุ่มเป้าหมายตามพื้นที่ ทำทุกวันให้สดใหม่เสมอและทุ่มสุดตัวไม่กลัวขาดทุน
ตัวอย่างหุ้นที่สร้างผลตอบแทนด้านลบให้กับหน่วยลงทุน Allianz All China Equity Fund (Negative Contributor) ในไตรมาสล่าสุด (ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หรือระหว่างวันที่ 1 มี.ค. – 30 มิ.ย. 2563)
- บริษัท Pinduoduo (สัดส่วนในหน่วยลงทุน 0% สัดส่วนในดัชนี 0.4%, ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 138.2% ในไตรมาส 2)
Sector: Information Technology (อินเทอร์เน็ตและอี-คอมเมิร์ซ)
ราคาหุ้นสูงขึ้นเพราะผู้คนอยู่ที่บ้านและชอปปิงออนไลน์แทนการออกไปนอกบ้าน กองทุน Allianz All China Equity Fund ไม่มีฐานะลงทุนในบริษัทนี้เพราะถือครองในอาลีบาบาและเจดีดอทคอมแทน ทั้ง 2 บริษัทที่ถือครอง 1. มีคุณภาพของทีมจัดการที่ดีกว่า 2. เป็นผู้นำตลาดอี-คอมเมิร์ซ 3. แพลตฟอร์มด้านอี-คอมเมิร์ซมีเป้าหมายเจาะตลาดของคนตามเมืองใหญ่ซึ่งมีกำลังซื้อมากกว่า
- บริษัท Semiconductor Manufacturing
Sector: Information Technology (เซมิคอนดักเตอร์)
กองทุนฯ ไม่ลงทุนเพราะมองว่าพื้นฐานยังไม่แข็งแกร่ง ขณะที่ราคาหุ้นขึ้นมาเกือบ 200% ในเวลาเพียง 2 เดือน กองทุนฯ เลือกลงทุนในบริษัทไต้หวันชื่อ TSMC แทน บริษัทดังกล่าวไม่อยู่ในดัชนี
คำถามที่น่าสนใจสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)
1. หุ้นจีนที่ขึ้นมาในรอบนี้มีความแตกต่างจากตลาดกระทิงในปี 2015 อย่างไร
ระดับมูลค่าปัจจุบันเทรดที่ระดับ 12 Months FW P/E 15 x ทั้งหุ้นจีน Onshore และ Offshore ถือว่าไม่ได้เทรดในระดับที่แพงจนเกินไป กล่าวในอีกนัยหนึ่งระดับมูลค่าปัจจุบันมีความสมเหตุสมผลกับการที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมาในรอบนี้จาก 3 ปัจจัย
ปัจจัยแรก คือ ตัวเลขการส่งออก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ PMI พบว่าฟื้นตัวในไตรมาส 2 ทำให้คาดว่าในไตรมาส 3 ภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตอยู่ในระดับนี้ได้ต่อไป
ปัจจัยที่ 2 คือ สภาพคล่องในระบบ สนับสนุนการลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะในตลาด Onshore A-Shares ทั้งที่เซี่ยงไฮ้และที่เซินเจิ้นพบการหมุนเวียนซื้อขายเปลี่ยนมือของหุ้นในตลาดรายวันและการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนรายย่อยที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี
ปัจจัยที่ 3 คือ ทัศนคติของผู้ลงทุนรายย่อยที่มองบวกต่อตลาดหุ้นในประเทศ เพราะต่างมั่นใจและมีความเห็นตรงกันว่าหากมีความจำเป็น เช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มส่อแววไม่ดี ตลาดกระทิงรอบนี้จะได้รับการสนับสนุนจากนโยบายและเครื่องมือภาครัฐ ที่ผ่านมาในอดีต นักลงทุนรายย่อยชาวจีนแผ่นดินใหญ่มักคุ้นเคยกับการสร้างความมั่งคั่งทางการเงินผ่านการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์เสียเป็นส่วนใหญ่ (ไม่ค่อยลงทุนในหุ้น) แต่ 2 ปีที่ผ่านมาเป็นไปได้ยากที่จะแสวงหากำไรจากตลาดอสังหาริมทรัพย์เพราะอุปสงค์ใน Tire-1 Tier-2 city ทรงตัว ทำให้ในสายตาของนักลงทุนรายย่อยชาวจีนเห็นตรงกันว่าตลาดอสังหาฯไม่น่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนที่ดีในระยะถัดไป รวมถึงต่างรับทราบร่วมกันว่าตลาด Mainland A-Shares ในเชิงโครงสร้างระยะยาวจะตกเป็นเป้าสายตาของการเข้ามาลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติผ่าน Stock connect เพราะว่าเมื่อใดก็ตามที่ราคาหุ้นจีนร่วงลงจะพบว่ามีเงินไหลเข้าผ่านทาง Stock connect อยู่เสมอ ทำให้มั่นใจได้ว่านักลงทุนต่างชาติจะไม่จางหายไปไหนแต่จะใช้จังหวะที่ราคาหุ้นจีนร่วงลง เพื่อเพิ่มฐานะการลงทุนของตนเอง
แม้หุ้นจีน mainland จะได้แรงส่งจากปัจจัย 3 ส่วนข้างต้น สิ่งที่เราควรติดตามใกล้ชิดคือ ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนรายย่อยซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 80% ของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์รายวัน หากผู้ถือหน่วยลงทุนจำได้ในปีค.ศ. 2015 ตลาดหุ้นจีนวิ่งขึ้นและร่วงลงอย่างรวดเร็วโดยมีสาเหตุหลักจากกิจกรรมการซื้อขายหุ้นผ่านบัญชีมาร์จิ้น
กราฟด้านล่าง แสดงยอดการซื้อขายในบัญชีมาร์จิ้นซึ่งเท่ากับ 1.25 ล้านล้านหยวน ณ ปัจจุบัน (คิดเป็นสัดส่วน 10% ของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์รายวัน) ยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2015 ที่ 2.25 ล้านล้านหยวน (คิดเป็นสัดส่วน 18% ของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์รายวัน) เมื่อใดก็ตามที่สัดส่วนดังกล่าวเกินกว่า 15% มีโอกาสที่ทางการจะออกมาตรการเพื่อชะลอความร้อนแรงจนเกินไปของตลาด
ดังนั้น ในมุมมองของ AGI จะเฝ้าจับตาหากทางการส่งสัญญาณลดความร้อนแรงราคาหุ้นจะเกิดขายทำกำไร โดยมองกรณี Base case ต่อไปว่าหุ้นจีนเริ่มจะผันผวน เกิด correction แต่ด้วยพื้นฐานที่สนับสนุนและระดับมูลค่าที่สมเหตุสมผล เมื่อใดก็ตามที่ราคาลดลงมากกว่า เช่นเท่ากับ -10% หรือมากกว่านี้ ก็จะเป็นโอกาสกลับเข้าไปลงทุน
ปัจจัยบวกและลบต่อการลงทุนหุ้นจีน
(+) ระดับราคาหุ้น Valuation ถูกกว่าสหรัฐฯ เมื่อวัดจากอัตราส่วน Price-to-Earnings Ratio สิ้นปี 2563 ตลาดหุ้นจีน A-Shares ปัจจุบันซื้อขายต่ำกว่า (Discount) เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ (ดัชนี S&P 500) ที่ประมาณ -30%
(+) สภาพคล่องมีเพียงพอ การประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ให้แนวทางไว้ว่าสภาพคล่องในระบบการเงินต้องมีเพียงพอ ทำให้ ณ ขณะนี้ TSF (Total Social Financing) ซึ่งเป็นเงินทุนสภาพคล่องที่สนับสนุนภาคธุรกิจของเอกชนโดยตรงในรูปแบบเงินให้กู้ยืม (อาทิ RMB Loans, Foreign Currency loans, Entrusted loans etc.) รวมถึงปริมาณเงินในระบบ (M2) ณ สิ้นเดือนพ.ค. 2563 เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 ที่ระดับ 12.5% และ 11% ปกติแล้วทิศทางราคาหุ้นจีน A-Shares จะเพิ่มขึ้น/ลดลงไปทิศทางเดียวกันกับสภาพคล่องในระบบ ซึ่งพบว่าเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562
(+) ดัชนีบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ อาทิ ยอดขายบ้านใน 30 เมืองหลัก ปริมาณการใช้ถ่านหินในการผลิตพลังงาน ระดับการจราจรใน 10 เมืองหลัก กลับมาอยู่ที่ระดับเดียวกันกับก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 (ดังกราฟ)
(-) แม้หุ้นจีนกลับมาสู่ระดับมูลค่าที่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่ได้ซื้อขายในระดับที่ถูกเหมือนช่วงก่อนหน้า เมื่อวัดจากอัตราส่วน Forward 12 Month P/E Ratio หุ้นจีน A-Shares (MSCI China A Onshore Index) มีอัตราส่วนอยู่ที่ 15.6 x (สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 14.0 x), หุ้นจีนทุกตลาด (MSCI China Index) มีอัตราส่วนอยู่ที่ 16.0 x (สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 12.5 x)
กราฟ: แสดงระดับมูลค่า (Valuation) หุ้นจีนระหว่างปี ค.ศ. 2007-2020
(-) ราคาหุ้นอาจเกิดการขายทำกำไร correction แต่ด้วยพื้นฐานมหภาคที่สนับสนุนและระดับมูลค่าที่สมเหตุสมผล เมื่อใดก็ตามที่ราคาลดลงมากกว่า เช่นเท่ากับ -10% หรือมากกว่านี้ ก็จะเป็นโอกาสกลับเข้าไปลงทุน
กระบวนการลงทุนของ Allianz Global Investor Fund – All China Equity and China A Shares
ดังนั้นหุ้น High Conviction ที่คัดสรรนั้นได้ผ่านกระบวนการของ
- คัดสรรหลักทรัพย์จากปัจจัยสามด้านคือต้องเป็นทั้งหุ้นเติบโต (Growth) หุ้นคุณภาพ (Quality) และหุ้นที่มีระดับมูลค่าเหมาะสม (Valuation) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ลงทุน 40-60 บริษัท
- ทีมงานวิจัยภาคสนาม (Grass roots research) ลงไปสำรวจบริษัทนั้นๆตั้งแต่แหล่งที่มาของรายได้ แหล่งที่มาของต้นทุน ทิศทางอุตสาหกรรม ทั้งจากผู้ประกอบการ ตัวแทนขาย ลูกค้า
- วิเคราะห์ติดตามความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง (Ongoing Basis) ว่าเป็นไปตามแนวทางการลงทุน (Client guideline) ความเสี่ยงจะถูกประเมินทั้งระดับพอร์ตโฟลิโอ ประเทศ อุตสาหกรรม สไตล์ และรายหลักทรัพย์ โดยใช้ตัวชี้วัดมาตรฐานเช่น Tracking Error, Sharpe Ratio, Information Ratio, Volatility และ Portfolio Beta
สัดส่วนการลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2563
สัดส่วนการลงทุนตามประเภทการลงทุน (% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ):
- ตราสารหนี้ 0.48%
- ตราสารทุน 96.38%
- เงินฝาก/บัตรเงินฝาก 0.48%
- อื่นๆ 3.14%
ตราสารที่มีการลงทุน 3 อันดับแรก (% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ):
- Allianz China A-Shares – PTUAC 43.57%
- Allianz Gloabal Investors Fund – Allianz All China EQ – PT 35.83%
- ALIBABA GROUP HOLDINGS 4.17%
ผลการดำเนินงานกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2563
ประวัติการจ่ายปันผลกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน
ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต