Economic Update: ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของจีน

Economic Update: ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของจีน

BF Economic Research

ประเทศจีน

คะแนนในเดือนก.ค. อยู่ที่ 20% ปรับลงมาเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 33% เนื่องด้วยการระดมทุนและสินเชื่อใหม่สกุลหยวนปรับตัวลดลง ตลาดค่อนข้างผิดหวังกับตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีก ซึ่งหากพิจารณาในรายธุรกิจก็จะพบว่า มีกลุ่มธุรกิจที่สามารถขยายตัวในเชิงยอดขายได้ดีเช่น Auto, Property เป็นต้น

ณ ขณะนี้การฟื้นตัวของจีนจะกระจุกอยู่ที่ภาคการลงทุนเป็นหลัก หากการบริโภคในประเทศสามารถ Catch Up ได้ก็น่าจะทำให้จีนมีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของจีนจะออกนโยบายกระตุ้นการบริโภคในประเทศในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง  ส่วนการส่งออกในเดือนก.ค. นี้ปิดบวกที่ 7.2%  YoY จากที่ Flat 0.5% ในเดือนก่อน หากภาพการส่งออกของจีนขยายตัวดีต่อเนื่องก็น่าจะส่งผลบวกที่ดีต่อประเทศใน Supply Chain ของจีนด้วย

กิจกรรมภายในประเทศ

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ก.ค. ขยายตัว 8% YoY เท่ากับเดือนก่อน นำโดยผลผลิตรถยนต์ (26.8% vs. 20.4% เดือนก่อน) ขณะที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มือถือ (11.8% vs. 12.6% เดือนก่อน) แผงวงจรไฟฟ้า (9.0% vs. 11.1% เดือนก่อน) และผลผลิตไฟฟ้า (1.9% vs. 6.5% เดือนก่อน) ยังขยายตัวได้ดี
  • ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน ก.ค. ฟื้นตัวขึ้นเป็น -1% YoY จาก -1.8% ในเดือนก่อน โดยยอดขายในกลุ่มร้านอาหารยังหดตัวสูง -11.1% (vs. -15.2%) สะท้อนได้ถึงความกังวลของผู้บริโภคต่อการระบาดของ COVID-19 และยังต้องการรักษาระยะห่างทางสังคม ขณะที่ยอดขายสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ (12.3% vs. -8.2%) และเครื่องมือสื่อสาร (11.3% vs. 18.8%) สามารถขยายตัวดี

เรามองว่ายอดค้าปลีกของจีนจะค่อยๆ Catch Up การฟื้นตัวฝั่งการผลิต ภายหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ออกนโยบายกระตุ้นการบริโภค ในช่วงวันที่ 9 ก.ย.- 8 ต.ค. เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายชนิดอาทิเช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า สินค้าแม่และเด็ก สินค้านำเข้า สินค้าเกษตร เป็นต้น

  • การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) เดือน ก.ค. ฟื้นตัวขึ้นเป็น -6% YoY YTD จาก -3.1% ในเดือนก่อน ยังคงนำโดยการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง 3.4% (vs. 1.9% เดือนก่อน) และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรฟื้นตัวขึ่้นเป็น -1.0% (vs. -2.7% เดือนก่อน) จากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่การลงทุนในภาคการผลิตยังหดตัว -10.2% (vs. -11.7% เดือนก่อน)

การค้าระหว่างประเทศ

  • ยอดส่งออก (Exports) เดือน ก.ค. ขยายตัวต่อเนื่อง 2% YoY จากที่ขยายตัว 0.5% ในเดือนก่อน ส่วนยอดนำเข้า (Imports) พลิกกลับมาหดตัว -1.4% จากที่ขยายตัว 2.7% ในเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ก.ค. เกินดุล USD62.3bn เพิ่มขึ้นจาก USD46.42bn ในเดือนก่อน
  • รายประเทศ ส่งออกไปสหรัฐฯ (5% YoY  vs. 1.4% เดือนก่อน) และ ASEAN (14.0% vs. 1.6%) ขยายตัวแรง ในขณะที่การส่งออกไป EU (-3.4% vs. -5.0%) และญี่ปุ่น (-2.0% vs. -10.5%) ยังคงหดต่อเนื่อง
  • รายสินค้า สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการระบาดของ COVID-19 ยังขยายตัวแข็งแกร่ง (7% YoY vs. 34.5% เดือนก่อน) นำโดยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (35.7% YoY  vs. 16.1% เดือนก่อน) และแผงวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (15.9% vs. 8.4% เดือนก่อน) ที่เร่งตัวตัวขึ้นอย่างมีนัยยะ รวมถึงชิ้นส่วนพลาสติก (90.6% vs. 84.1% เดือนก่อน) ในขณะที่อุปกรณ์การแพทย์ (78.0% vs. 100.0% เดือนก่อน) และผ้าและสิ่งทอ (48.4% vs. 56.7% เดือนก่อน) ชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ยังขยายตัวสูงในระดับสองหลัก
  • การนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ในเชิงปริมาณ ทองแดง (5% YoY  vs. 98.9% เดือนก่อน) แร่เหล็ก (23.8% vs 35.2% เดือนก่อน) น้ำมันดิบ (25.0% vs. 34.4% เดือนก่อน) ชะลอตัวลงจากเมื่อเดือนก่อนส่วนการนำเข้าจากสหรัฐฯ ชะลอตัวลงเป็น 3.6% YoY จากที่ขยายตัว 11.3% ในเดือนก่อน

ทางการสหรัฐฯจะพิจารณาความคืบหน้ารอบครึ่งปีของการตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหรือ Phase-one Deal ว่าจีนสามารถทำตามข้อตกลงในการซื้อสินค้าจากสหรัฐฯหรือไม่ ซึ่งหากพิจารณา จากข้อมูลของ Bloomberg พบว่าในช่วงครึ่งปีแรก จีนได้นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯที่ 3.31 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่ำกว่าที่จีนควรจะซื้อที่ 7.1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ โดยจีนได้นำเข้าสินค้าต่ำกว่าที่ได้ตกลงไว้ทั้งในกลุ่มการผลิต กลุ่มสินค้าเกษตร และกลุ่มพลังงาน

การใช้สินเชื่อและการระดมทุน

  • ยอดระดมทุนรวมสุทธิ (Total Social Financing) เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น RMB1,690.0bn ชะลอตัวลงจาก RMB3,434.2bn ในเดือนก่อน

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดระดมทุนรวมสุทธิคงค้างในระบบ (Outstanding TSF) รักษาระดับที่ 12.9% YoY จาก 12.8% ในเดือนก่อน สะท้อนถึงนโยบายการเงินโดยรวมที่ยังสนับสนุน การปล่อยสินเชื่อ

  • ยอดปล่อยกู้เงินหยวน (New Yuan Loans) ชะลอลงเป็น 1bn จาก RMB1,811.0bn ในเดือนก่อน
  • ยอดออกสินเชื่อนอกภาคธนาคาร (Shadow Banking) ซึ่งได้แก่ Trust loans, Entrusted loans และ Undiscounted Bankers’ Acceptance ได้ชะลอตัวลงและติดลบ 9bn จาก RMB85.4bn ในเดือนก่อน
  • ยอดออกพันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds) ชะลอลงเป็น 9bn จาก RMB745bn ในเดือนก่อน และยอดออกหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bonds) ชะลอลงเป็น RMB238.3bn จาก RMB338.3bn ในเดือนก่อน

การที่ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่สกุลหยวนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องด้วยความต้องการสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือนระยะสั้นปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับช่วง Lockdown ส่วนหนึ่งมาจากการที่ธุรกิจได้ทยอยปิดสินเชื่อระยะสั้นลง และครัวเรือนลดความต้องการใช้สินเชื่อระยะสั้น อย่างไรก็ตามพบว่าสินเชื่อระยะกลางและยาวของภาคธุรกิจยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยที่ภาคครัวเรือนได้มีการขอใช้สินเชื่อระยะยาวเพื่อที่อยู่อาศัยในระดับที่สูงกว่าปีที่แล้ว

ยอดระดมสินเชื่อทั้งระบบที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่ง มากจากการออกสินเชื่อใหม่สกุลหยวนลดลงและ รัฐบาลออกพันธบัตรในปริมาณที่ลดลงคาดว่ารัฐบาลอาจจะต้องกันโควตาในการออกพันธบัตรในช่วงที่เหลือของปีเนื่องด้วย ณ ขณะที่รัฐบาลได้ออกพันธบัตรรัฐบาลพิเศษไปแล้ว RMB 2.27trn หรือคิดเป็น 60.4% ของ โควตารวมที่ RMB3.75 trn

สำหรับทิศทางของนโยบายการเงินในช่วงครึ่งหลังของปีนั้น หากตีความจากรายงานนโยบายการเงินครึ่งปี ที่จัดทำโดย PBoC ได้ระบุว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่ดีขึ้นและมองว่า GDP ของจีนทั้งปีก็ยังอยู่ในแดนบวก โดยที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่เฟ้อมากไปและไม่มีแรงกดดันด้านเงินฝืด

ทำให้เราคาดว่า PBoC ไม่น่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหมือนประเทศอื่นๆ แต่จะมุ่งเน้นการใช้นโยบายเฉพาะส่วน(Targeted Policies) เพื่อให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ Corporate Sectors โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs

สำหรับกลไกทางนโยบายการเงินที่ PBoC นิยมใช้ ได้แก่ 1) ปรับลด RRR,  2) ปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์จีนไปปล่อยกู้ต่อหรือที่เรียกว่า Relending Facility, และ 3) ใช้กลไกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงชนิดใหม่ซึ่งเรียกว่า Loan Prime Rate (LPR) ทดแทนการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งผ่านด้านนโยบายเพื่อให้ไปสะท้อนที่อัตราเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์ชาร์จธุรกิจ  (เนื่องด้วยในอดีต พบว่า อัตราเงินกู้ กลับไม่สอดรับกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับลดลง PBoC จึงปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ให้มีกลไกส่งผ่านจากดอกเบี้ยอ้างอิงไปสู่ดอกเบี้ยเงินกู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น)

พร้อมกันนี้ สำนักงานกลต. ของจีนหรือ The China Security Regulatory Commission, CSRC ได้ผ่อนคลายเกณฑ์สำหรับบริษัทที่จะสามารถออกตราสารหนี้ภาคเอกชนได้ง่ายขึ้น