กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INDIAMRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INDIAMRMF)

มุมมองเชิงบวกและลบต่อการลงทุนในหุ้นอินเดียมิดแคป

(+) มหภาคของอินเดียดูดีจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ทุนสำรองดังกล่าวได้ไต่ระดับขึ้นมาสูงสุดที่ 505.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีนี้ (มิ.ย. 2020) หรือเพิ่มขึ้นสัดส่วน 28.7% ภายในระยะเวลา 1 ปี จากเดิมที่ 392.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทุนสำรองดังกล่าวสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก รองเพียงจีน ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย (โดยเพิ่งแซงหน้าซาอุดิอาระเบีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ ในปีที่ผ่านมา) เพราะได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบที่ต่ำ มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงทำให้บัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น

(+/-) ในระยะสั้นตลาดน่าจะพักฐานหลังจากที่ราคาปรับตัวขึ้นมามากจากกลุ่มเฮลธ์แคร์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ราคาลดลงจะเป็นโอกาสให้กลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง

(+/-) แม้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ก็สะท้อนราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นมาแล้ว ในปีถัดไปตลาดมองอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนเติบโตระดับ 20%-25% (ปีบัญชี FY2022) แต่เนื่องจากเป็นผลของฐานกำไรที่ต่ำในปีนี้จากโควิด-19 ดังนั้นหากปรับฐานให้เหมาะสม (Normalized) คงเติบโตได้ 15-19%

(+/-) ตลาดหุ้น มีมูลค่าตลาดเทียบกับขนาดเศรษฐกิจ (Market cap to GDP) ในตอนนี้ที่ 74%-75% กลับมาสู่ระดับปกติหรือใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระยะยาว อนึ่ง ช่วงการระบาดของโควิด-19 รอบแรก มูลค่าตลาดเทียบกับขนาดเศรษฐกิจเคยลดลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 56% ดังกราฟ

(-) ในระยะสั้นระดับมูลค่าหุ้นค่อนข้างแพงไปนิด เมื่อวัดจาก FY 2021 Nifty Trailing P/E ระดับ 22.0 x โดยมีสาเหตุจากผลประกอบการในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ไตรมาสหนึ่งถึงสองส่งผลลบโดยตรงต่อกำไรบริษัท แต่หากมองไปในปีหน้าโดยใช้ FY 2022 Nifty Forward P/E ระดับ 20.6 x ถือว่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระยะยาว

กราฟซ้ายบน แสดงระดับ P/E ปัจจุบัน, กราฟซ้ายล่าง แสดงระดับ P/E อนาคต

กราฟขวาบน แสดงระดับ P/B ปัจจุบัน, กราฟขวาล่าง แสดงระดับ P/B อนาคต

Source: Kotak Asset Management, 3Q2020

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 กองทุนหลักมีการปรับพอร์ตอย่างไร

ภาพรวมกองทุนหลักมีการกระจายการลงทุนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (ทั้งประเภทที่จำเป็นและฟุ่มเฟือย) มีสัดส่วนลงทุนสูงสุดที่ประมาณ 20% กลุ่มสถาบันการเงินมีสัดส่วนลงทุนประมาณ 18.6% กลุ่มเภสัชกรรมประมาณ 11.5% กลุ่มไอที 3.7% แม้กองทุนหลักมีน้ำหนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธนาคารและกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค แต่เริ่มปรับลดน้ำหนักลงเรื่อยๆ จากไตรมาสแรกเพราะหุ้นกลุ่มนี้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโดยตรง และหันกลับมาเพิ่มฐานะการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน กลุ่มวัสดุ กลุ่มอุตสาหกรรม เพราะคาดว่าจะฟื้นตัวเร็วกว่าธุรกิจในกลุ่มอื่น

  • เพิ่มการลงทุนใน: Hindustan Unilever, Larsen & Toubro Infotech, Balkrishna Industries, Alkem Laboratories
  • ลดการลงทุนใน: GlaxoSmithKline Consumer Healthcare, Indusind Bank, Bajaj Finance

การปรับพอร์ตกองทุนหลัก ข้อมูลสิ้นสุดไตรมาส 2 วันที่ 30 มิ.ย. 2020

ตัวอย่างบริษัทที่กองทุนหลักถือครอง

บริษัท Britannia Industries (หลักทรัพย์ถือครองอันดับ 4, สัดส่วนลงทุน 2.8%)

Sector: Consumer Goods

ผู้ผลิตบิสกิตที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่ง ภายใต้จุดแข็ง “Biscuits beat crisis” บริษัทประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ยอดขายเพิ่มขึ้น 26% และกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้น 110% อันเป็นผลจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น 22% และอัตราการทำกำไรขั้นต้น (Operating margin) ที่เพิ่มขึ้น 6.40% บริษัทมีการปรับลดค่าใช้จ่ายโฆษณาลง ผนวกกับการบริหารจัดการที่ดี รวมถึงต้นทุนการผลิตทรงตัว จึงส่งผลให้กำไรดังกล่าวเติบโต กองทุนหลักให้น้ำหนัก High conviction กับบริษัทมาโดยตลอด ขณะที่นักลงทุนในตลาดให้ราคาหุ้นเป้าหมายที่ 4,500 รูปี จากปัจจุบันที่ 3,950 รูปี หรือเพิ่มขึ้น 13.9%

Source: India Equity Research

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทางการอินเดียใช้เครื่องมือทางการเงินและการคลังจัดการกับปัญหานี้อย่างไรบ้าง

  1. ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 90 bps จาก 15% สู่ 4.25%
  2. ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน (Reverse Repo) ลง 90 bps สู่ 00%
  3. สถาบันการเงินพักการชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น สำหรับหนี้ที่กู้มาเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการเป็นระยะเวลา 3 เดือน (ระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค. 2020)
  4. กระทรวงการคลัง ใช้เครื่องมือการคลังมูลค่า 75 ล้านล้านรูปี คิดเป็นสัดส่วน 0.80% ของ GDP ในรูปของเงินช่วยเหลือ และความช่วยเหลือด้านการยังชีพ อาทิ
    • เงินช่วยเหลือ 500 รูปีต่อเดือน ให้กับผู้หญิงอินเดียจำนวน 200 ล้านคน
    • เพิ่มเงินช่วยเหลืออีก 1,000 รูปีต่อเดือน ให้กับผู้ที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญจำนวน 30 ล้านคน
    • เงินช่วยเหลือ 2,000 รูปีต่อปี ให้กับแรงงานจำนวน 50 ล้านคน
    • ความช่วยเหลือด้านการยังชีพ ได้แก่ แจกถังแก๊สทำอาหารฟรี 80 ล้านครัวเรือน

ที่มา: Kotak Asset Management, 3Q2020

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Kotak Funds – India Midcap Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class J ACC

นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลก ที่มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการหรือบริการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์อย่างสูงจากความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี

วันที่จดทะเบียน: 23 พฤษภาคม 2014 (Share class J ACC)

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): NIFTY Midcap 100

Bloomberg code: KIMDCLJ LX Equity

Fund size: 1,406 Million USD

* Source:  https://www.bblam.co.th/application/files/5515/9539/0270/KF_India_Midcap_Fund-Class_J_0720.pdf

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2020)

เกณฑ์มาตรฐาน1 คือ ดัชนี Nifty Free Float Midcap 100 (ซึ่งเป็นเกณฑ์วัดผลการดําเนินงานของกองทุนหลัก) ในสกุลเงินรูปรูปีปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคํานวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คํานวณผลตอบแทน ที่มา: ผลการดำเนินงานกองทุน เดือน ก.ค. 2020, https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/all-mutual-fund-performance