มุมมองและกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหุ้นไทย

มุมมองและกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหุ้นไทย

ประเด็นเด่น

  • ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงจะยังคงได้รับแรงหนุนจากสภาพคล่องในระบบ
  • ตลาดหุ้นไทย Upside ในช่วงสั้นอาจจะไม่ได้ขึ้นแรง แต่ Downside เองก็มีจำกัดเช่นกัน
  • นับตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนส.ค. 2563 มียอดเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่รวมกัน 3 แสนกว่าบัญชี
  • จำนวนเงินฝากเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ (ส.ค. 2563 = 14.39 ล้านล้านบาท)

มุมมองการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 จนถึงปี 2564 ของกองทุนหุ้นไทย

  • แนวโน้มการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปี ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงจะยังคงได้รับแรงหนุนจากสภาพคล่องในระบบ เนื่องจากยังคงมีความจำเป็นในการมีนโยบายการเงินและการคลังช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระดับ Valuation ที่เพิ่มขึ้นมาเร็วและอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในตลาดหุ้นหลักๆรวมทั้งไทย ทำให้ Upside ในช่วงสั้นอาจจะไม่ได้ขึ้นแรง แต่ Downside เองก็มีจำกัดเช่นกัน ในส่วนปัจจัยสนับสนุนตลาดให้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 นั้น จะเป็นเรื่องความคาดหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังจากที่เริ่มมีการเปิดเมือง พบว่าภาคการบริโภคหรือยอดค้าปลีกส่งสัญญาณการฟื้นตัวได้เร็ว ในขณะที่ภาคการบริการ ยังคงฟื้นตัวช้ากว่ามาก ทั้งนี้ ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยที่ดีนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก Pent Up demand และจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้หลังจากนี้การฟื้นตัวอาจจะชะลอลงได้บ้าง แต่ก็จะสะท้อน Demand ที่แท้จริงมากขึ้น  นอกจากนี้จากนโยบายการเงินโลกที่ผ่อนคลาย และแรงหนุนจากมาตรการสนับสนุนขนาดใหญ่จากทางภาครัฐ  ก็เป็นแรงหนุนที่ยังทำให้หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นได้  ส่วนปัจจัยที่น่าติดตามจำนวนเงินฝากเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ (สค. 2563 = 14.39 ล้านล้านบาท)
  • สิ่งที่ตลาดกำลังจับตามองต่อไปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 จนถึงปี 2564 คือ พัฒนาการของสถานการณ์การแพร่ระบาด วัคซีนโควิด-19 และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจว่าจะช้าเร็วกว่าที่คาดหวังไว้อย่างไร การเมืองไทยที่ร้อนแรงมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยที่กำลังใกล้เข้ามาอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี ส่วนปัจจัยที่น่าตั้งข้อสังเกตุคือ จำนวนเงินฝากทั้งออมทรัพย์และฝากประจำทั้งระบบ เพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ หากเปรียบเทียบจากสิ้นเดือน ธ.ค. 2562 อยู่ที่ 27 ล้านล้านบาท และ ณ สิ้นเดือน ส.ค. 2563 อยู่ที่ 14.39 ล้านล้านบาท ประกอบกับ นับตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนส.ค. 2563 มียอดเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่รวมกัน 3 แสนกว่าบัญชี จึงมีความเป็นไปได้ว่าหากสถานการณ์โควิดดีขึ้น เม็ดเงินดังกล่าวอาจจะกลับเข้ามาในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น อีก ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้อาจจะกระทบกับตลาดในระยะสั้นได้

แนวทางในการปรับพอร์ตลงทุน / กลยุทธ์การลงทุน ของกองหุ้นไทย ในช่วง ครึ่งปีหลังของปี 2563 จนถึงปี 2564

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG)

  • กลยุทธ์ในระยะยาวยังเหมือนเดิมคือ เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูงและต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งนี้ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมทั้งปัญหาขาดสภาพคล่องในหลายๆ ธุรกิจ ทำให้บางบริษัทตัดสินใจงดจ่ายปันผลเพื่อเก็บเงินสดไว้ยามฉุกเฉิน หรือสามารถจ่ายเงินปันผลได้ลดลง เนื่องจากผลการดำเนินงานที่แย่ลง เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • กลยุทธ์ของเราในช่วงนี้คือ หาจังหวะเข้าซื้อลงทุนหุ้นที่ธุรกิจในระยะยาวยังดีอยู่ แต่ได้รับผลกระทบช่วงสั้นจากโควิด-19 และราคาลดลงมาต่ำกว่าราคาพื้นฐาน นอกจากนี้ก็ทยอยขายหุ้นที่ธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก และอาจไม่สามารถกลับมาจ่ายปันผลได้อีกนาน หรือภาพรวมธุรกิจในระยะยาวเปลี่ยนไป

กองทุนเปิดบัวแก้ว (ฺBKA) กองทุนเปิดบัวแก้ว 2 (BKA2) กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล (BKD) และกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP)

  • แนวทางในการบริหารกองทุน BKA /BKA2/BKD/BCAP จะเน้นลงทุนในหุ้น Large cap  ที่เป็น Growth stocks หรือหุ้นที่มีพื้นฐานดีและมีศักยภาพในการเติบโต  จะใช้วิธีผสมผสานทั้ง Top-Down Approach  ที่จะดูแนวโน้มเศรษฐกิจทั้งต่างประเทศและในประเทศ และ  Bottom-Up Approach เพื่อหาดูว่าบริษัทไหนที่มีศักยภาพในการทำกำไรและสร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่องประกอบในการตัดสินใจลงทุน และจะเน้นแสวงหาผลตอบแทนในระยะยาว มากกว่ามุ่งซื้อขายเพื่อทำกำไรในช่วงสั้นๆจนทำให้เสี่ยงมากจนเกินควร  กลยุทธ์ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 เริ่มหาจังหวะเข้าลงทุนในหุ้นที่เริ่มฟื้นตัวจากโควิด-19  ราคาปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าราคาพื้นฐาน  และมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากเริ่มมีการเปิดเมือง

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล (BTP)

  • แนวทางในการบริหารกองทุน BTP จากภาพที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ค่อนข้างกระจัดกระจาย กลยุทธ์การลงทุนของกองทุนจึงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกยังคงเป็นกลยุทธ์หลักของกองทุน โดยเน้นบริษัทที่มีการเติบโตได้ดี ผลการดำเนินงานยังเติบโตต่อเนื่อง กลุ่มที่ 2 กองทุนเฟ้นหาบริษัทที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด-19 แต่คาดว่าบริษัทจะสามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากนี้ไปได้และสามารถฟื้นตัวได้ในระยะถัดไป ดังนั้น กลยุทธ์ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 จะเริ่มจากยังคงน้ำหนักหุ้นกลุ่มเดิมที่เชื่อว่ายังคงมีผลประกอบการที่ดีไว้ ในขณะเดียวกันก็จะหาจังหวะเข้าลงทุนในหุ้นที่เริ่มฟื้นตัวจากโควิด-19  ราคาปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าราคาพื้นฐาน  และมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากเริ่มมีการเปิดเมือง

กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ได้แก่

+ กลุ่มพลังงาน หลังจากหดตัวค่อนข้างรุนแรงในไตรมาสแรกของปี 2563 จากผลกระทบโควิด-19

มุมมองในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2563 

  • ราคาน้ำมันดิบ ยังมีปัจจัยหนุน จากความต้องการใช้น้ำมันฟื้นตัว+ความร่วมมือของ OPEC และผู้ส่งออกอื่นๆในการลดกำลังผลิต ดังนั้นจึงคาดว่า Supply และ Demand น่าจะกลับมาอยู่ในระดับสมดุลอีกครั้ง
  • ค่าการกลั่นฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จากสถานการณ์ โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ทำให้ความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปในภูมิภาคสูงขึ้น
  • ความต้องการก๊าซสูงขึ้น ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการใช้ก๊าซจากภาคไฟฟ้าที่เข้าสู่ช่วง High season
  • ปิโตรเคมีในกลุ่มโอเลฟินส์ดีขึ้นจากความต้องการสูงขึ้นในกลุ่ม Food Packaging และ Medical Products
  • หากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย สายการบินเริ่มกลับมาบินเต็มศักยภาพอีกครั้ง ก็จะเป็นผลดีกับ Demand น้ำมัน

+ กลุ่ม พาณิชย์ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานในไตรมาส 2 ปี 2563 ของผู้ค้าปลีกไทยทั้งด้านรายได้และผลกำไร อีกทั้งยังโดนกดดันจาดการที่ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติและกิจกรรมยามค่ำคืน

มุมมองในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2563 

  • ปัจจัยกดดันคลี่คลายเยอะมากแล้ว ทั้งการยกเลิกเคอร์ฟิว และห้ามขายแอลกอฮอล์ รวมถึงการเดินทางที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นหลังคลายล็อคดาวน์ + อานิสงส์มาตรการกระตุ้นท่องเที่ยว หนุนให้ Same Store Sales Growth (SSSG) หรือ การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม น่าจะเริ่มกลับมาดีขึ้น
  • เริ่มเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าปรับปรุงบ้านและไอที (ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เร่งระบายสต๊อคสินค้า โดยปรับลดราคาลง และ พฤติกรรมที่อยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการซ่อมแซมบ้าน)

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาด ได้แก่

–  สื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA) ในแง่ของผู้ชมของสื่อนอกบ้าน OOH (Out of Home Media).จะได้รับประโยชน์จากการเปิดธีมใหม่เนื่องจากผู้คนจะค่อยๆ ออกไปข้างนอกและกลับไปทำงานที่สำนักงานและที่ทำงานอื่นๆ อย่างไรก็ตามสภาวะทางธุรกิจที่ไม่เอื้ออำนวยกำลังเกิดขึ้นในกิจกรรมการโฆษณา แม้คาดการว่าการฟื้นตัวในวงกว้างจะเริ่มปรากฏในเดือน ก.ค. (การเปิดใหม่หลังโควิด-19 แบบเต็มเฟส)

  • เราไม่คาดหวังว่าจะได้เห็นความต้องการอย่างล้นหลามอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากโควิด-19 เป็นสถานการณ์ที่น่าตกใจทางเศรษฐกิจเจ้าของแบรนด์หลายๆรายได้ปรับลดงบประมาณโฆษณาประจำปีสำหรับปีนี้ลง
  • สำหรับกิจกรรมความบันเทิง (และกิจกรรมกีฬา) คาดว่าเร็วสุดก็น่าจะกลับมาดำเนินการในไตรมาส 4 ปี 2563
  • โรงภาพยนตร์จะเป็นประเภทสุดท้ายที่จะฟื้นตัวเนื่องจากการตระหนักของผู้บริโภคเกี่ยวกับความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับห้องขนาดใหญ่ที่มีเครื่องปรับอากาศจะยังคงมีอยู่และการเข้าฉายยังคงเป็นปัญหา

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC)

  • แนวโน้มการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปี ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงจะยังคงได้รับแรงหนุนจากสภาพคล่องในระบบ  เนื่องจากยังคงมีความจำเป็นในการมีนโยบายการเงินและการคลังช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระดับ Valuation ที่เพิ่มขึ้นมาเร็วและอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในตลาดหุ้นหลักๆรวมทั้งไทย ทำให้ Upside ในช่วงสั้นอาจจะมีจำกัด ปัจจัยสนับสนุนตลาดให้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 นั้น จะเป็นเรื่องความคาดหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังจากที่เริ่มมีการเปิดเมือง พบว่าภาคการบริโภคหรือยอดค้าปลีกส่งสัญญาณการฟื้นตัวได้เร็ว ในขณะที่ภาคการบริการ ยังคงฟื้นตัวช้ากว่ามาก  นอกจากนี้จากนโยบายการเงินโลกที่ผ่อนคลาย และแรงหนุนจากมาตรการสนับสนุนขนาดใหญ่จากทางภาครัฐ  ก็เป็นแรงหนุนที่ยังทำให้หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นได้   ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา  ผลประกอบการของกองทุน Outperform SET เนื่องจาก Sector ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 นั้นได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยกว่าในหลายๆอุตสาหกรรม
  • สิ่งที่ตลาดกำลังจับตามองต่อไปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 จนถึงปี 2564 คือ พัฒนาการของสถานการณ์การแพร่ระบาด และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจว่าจะช้าเร็วกว่าที่คาดหวังไว้อย่างไร รวมทั้งปัจจัยที่กำลังใกล้เข้ามาอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐในช่วงปลายปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กระทบกับตลาดในระยะสั้น
  • ในช่วงครึ่งปีหลัง ถ้ามีความคืบหน้าเกี่ยวกับ Vaccine  และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับปัจจัย 4  อาจจะปรับตัวขึ้นน้อยกว่าในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ในส่วนของผลประกอบการ คาดว่า Bottom out ไปแล้วในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา แต่การฟื้นตัวกลับมานั้นได้นั้นยังต้องใช้เวลาและมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัท
  • กองทุนได้มีการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Health care  เนื่องจากช่วงสั้นได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่เชื่อว่าหากวัคซีนโควิดสำเร็จก็จะกลับมาได้รับปัจจัยบวกได้ในทิศทางตรงกันข้ามกัน เช่น การเก็บค่ารักษาการฉีดวัคซีน และแผนการเปิดรับท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งหนึ่งในแผนดังกล่าวจะมีเรื่อง กลุ่ม Medical and Wellness Tourism ด้วย และในระยะยาวยังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และคาดว่าผลประกอบการจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหากโรคระบาดจบลง นอกจากนี้ทยอยปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Property ที่เน้นแนวราบ เพราะมี Demand ที่ค่อนข้าง Stable และเพิ่มการซื้อหุ้นใน Sector  Food บางตัวที่มีแนวโน้มผลประกอบการดีขึ้นจากการเปิดเมืองและคนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตแบบ New normal และลดน้ำหนักบางตัวที่ราคาปรับขึ้นสูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน