อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยาวอายุ 3 – 30 ปีปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากประมาณ 8 – 24 bps ส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีความชันเพิ่มขึ้น โดยส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 2 ปี กับ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 95 bps เทียบกับ 81 bps ณ สิ้นเดือน ก.ค. สาเหตุหลักเป็นผลมาจากการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) มูลค่ารวม 1 แสนล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับพันธบัตรระยะยาว อีกทั้ง ยังเป็นการเพิ่มปริมาณพันธบัตรระยะยาวอายุระหว่าง 4 – 47 ปีในตลาด นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจ ำปีงบประมาณ 2563 โดยให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพิ่มอีก 2.14 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณซึ่งยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับปริมาณพันธบัตร (Bond Supply) ที่จะออกจำหน่ายในตลาด ด้านนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 2.7 พันล้านบาท ขณะที่มียอดซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 4.7 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของเงินลงทุนต่างชาติในเดือนนี้มีสถานะขายสุทธิต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. และพลิกกลับมาเป็นซื้อสุทธิมูลค่าค่อนข้างมากในวันที่ 26 ส.ค. คาดว่าเป็นการกลับเข้าซื้อหลังการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
สำหรับประเด็นต่างประเทศที่ตลาดให้ความสนใจในเดือนนี้ ได้แก่ ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อวันที่ 27-28 ส.ค. โดยนายเจอโรม พาวเวลได้ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งสำคัญเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย (Average Inflation Target) ซึ่งจะเปิดทางให้เงินเฟ้อดีดตัวขึ้นมากกว่าเดิม
เพื่อสนับสนุนตลาดแรงงานและเศรษฐกิจ การประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นระยะเวลานานขึ้น ด้านรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจหรือ Beige Book ที่เปิดเผย
ในช่วงต้นเดือน ก.ย. ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนและความผันผวนเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่าตลาดแรงงานยังคงผันผวน ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวสอดคล้องกับที่นายเจอโรม พาวเวลล์ได้แสดงความเห็นเมื่อไม่นานมานี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเชื่องช้านับตั้งแต่จ านวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เริ่มกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือน มิ.ย. และแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างมาก ส่วนการที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้รวดเร็วเพียงใดขึ้นอยู่กับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และความพยายามของรัฐบาลในการใช้มาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ
ด้านข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันทื่ 5 ส.ค. คณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังต้องระวังความเสี่ยงจากการ
ระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบในปีนี้ก่อนจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 64 ตามที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ กนง. คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต ่ากว่า 2 ปีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ปกติเหมือนในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่สภาพัฒน์ (สศช.) เปิดเผยว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในไตรมาส 2 หดตัวถึง –
12.2% อย่างไรก็ดี สภาพัฒน์คาดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้จะเริ่มฟื้นกลับมาดีขึ้นเมื่อเทียบรายไตรมาสแต่ยังมีโอกาสติดลบอยู่ ส่งผลให้สภาพัฒน์ปรับประมาณการ GDP ทั้งปีลงมาเหลือ -7.5% (กรอบ -7.8 ถึง -7.3%) จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนพ.ค. ว่าจะหดตัวในระดับ -6 ถึง -5%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันไปตลอดทั้งปี 2563 และน่าจะหันไปใช้เครื่องมือนโยบายการเงินอื่นมากขึ้นในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวในกรอบจำกัด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงยาวจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล (Bond Supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน เงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยาวอายุ 3 – 30 ปีปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากประมาณ 8 – 24 bps ส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีความชันเพิ่มขึ้น โดยส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 2 ปี กับ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 95 bps เทียบกับ 81 bps ณ สิ้นเดือน ก.ค. สาเหตุหลักเป็นผลมาจากการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) มูลค่ารวม 1 แสนล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับพันธบัตรระยะยาว อีกทั้ง ยังเป็นการเพิ่มปริมาณพันธบัตรระยะยาวอายุระหว่าง 4 – 47 ปีในตลาด นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจ ำปีงบประมาณ 2563 โดยให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพิ่มอีก 2.14 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณซึ่งยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับปริมาณพันธบัตร (Bond Supply) ที่จะออกจำหน่ายในตลาด ด้านนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 2.7 พันล้านบาท ขณะที่มียอดซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 4.7 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของเงินลงทุนต่างชาติในเดือนนี้มีสถานะขายสุทธิต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. และพลิกกลับมาเป็นซื้อสุทธิมูลค่าค่อนข้างมากในวันที่ 26 ส.ค. คาดว่าเป็นการกลับเข้าซื้อหลังการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
สำหรับประเด็นต่างประเทศที่ตลาดให้ความสนใจในเดือนนี้ ได้แก่ ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อวันที่ 27-28 ส.ค. โดยนายเจอโรม พาวเวลได้ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งสำคัญเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย (Average Inflation Target) ซึ่งจะเปิดทางให้เงินเฟ้อดีดตัวขึ้นมากกว่าเดิม
เพื่อสนับสนุนตลาดแรงงานและเศรษฐกิจ การประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นระยะเวลานานขึ้น ด้านรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจหรือ Beige Book ที่เปิดเผย
ในช่วงต้นเดือน ก.ย. ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนและความผันผวนเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่าตลาดแรงงานยังคงผันผวน ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวสอดคล้องกับที่นายเจอโรม พาวเวลล์ได้แสดงความเห็นเมื่อไม่นานมานี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเชื่องช้านับตั้งแต่จ านวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เริ่มกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือน มิ.ย. และแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างมาก ส่วนการที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้รวดเร็วเพียงใดขึ้นอยู่กับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และความพยายามของรัฐบาลในการใช้มาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ
ด้านข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันทื่ 5 ส.ค. คณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังต้องระวังความเสี่ยงจากการ
ระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบในปีนี้ก่อนจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 64 ตามที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ กนง. คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต ่ากว่า 2 ปีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ปกติเหมือนในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่สภาพัฒน์ (สศช.) เปิดเผยว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในไตรมาส 2 หดตัวถึง –
12.2% อย่างไรก็ดี สภาพัฒน์คาดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้จะเริ่มฟื้นกลับมาดีขึ้นเมื่อเทียบรายไตรมาสแต่ยังมีโอกาสติดลบอยู่ ส่งผลให้สภาพัฒน์ปรับประมาณการ GDP ทั้งปีลงมาเหลือ -7.5% (กรอบ -7.8 ถึง -7.3%) จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนพ.ค. ว่าจะหดตัวในระดับ -6 ถึง -5%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันไปตลอดทั้งปี 2563 และน่าจะหันไปใช้เครื่องมือนโยบายการเงินอื่นมากขึ้นในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวในกรอบจำกัด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงยาวจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล (Bond Supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน เงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน