BF Economic Research
กิจกรรมเศรษฐกิจในเดือน ส.ค. ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการส่งออก การผลิต และการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวน้อยลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ดังนี้
- นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเป็นศูนย์ต่อเนื่อง (-100% YoY) จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศนับตั้งแต่เดือน เม.ย.
- การส่งออก (ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์) เดือน ส.ค.-20 อยู่ที่20,212.3 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,819.5 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -7.94%YoY (vs. prev.-11.25%YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -14.09%YoY (vs. prev.-14.14%YoY) YTD Export Growth =-7.8% vs.prev.-7.71% สินค้าที่ขยายตัวได้ดีส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จาก WFH เช่นกลุ่มโทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์จากยาง ส่วนคู่ค้ารายประเทศที่ยอดออเดอร์ส่งออกขยายตัวเป็นบวกได้แก่ สหรัฐฯ หนุนโดยสินค้ากลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์จากยาง, และอาหารกระป๋อง
- มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน ส.ค.-20 อยู่ที่ 15,863.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 15,476.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -19.70%YoY (vs. prev.-26.60%YoY) YTD Import Growth =-15.31% vs.prev.-14.7% ดุลการค้า ในเดือน ส.ค.-20 อยู่ที่ 4,349.4 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 3,343.2 ล้านดอลลาร์ฯ
- ดุลการค้า YTD ในเดือน ส.ค.-20 อยู่ที่ 18,393.6 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 14,044.2 ล้านดอลลาร์ฯ
- การบริโภคภาคเอกชนหดตัว -1.1% YoY (vs. -0.1% เดือนก่อน) ตามการหดตัวมากขึ้นการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทน (-1.4% vs. -0.4% เดือนก่อน) และการใช้จ่ายภาคบริการ (-25.6% vs. -23.6% เดือนก่อน) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสินค้าคงทนดีขึ้น (-9.6% vs. -15.7% เดือนก่อน) โดยมีสาเหตุบางส่วนจากการซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีการเปิดตัว ขณะที่รายได้เกษตรกรขยายตัว 9.1% ด้วยแรงหนุนจากทั้งด้านราคาและปริมาณผลผลิต
- การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นที่ -4.6% YoY (vs. -7.5% เดือนก่อน) โดยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าทุน (-9.9% vs. -20.0% เดือนก่อน) และยอดจดทะเบียนรถยนต์สำหรับการลงทุน (-8.9% vs. -16.7% เดือนก่อน)
- รายจ่ายลงทุนของภาครัฐ (ไม่รวมเงินโอน) เติบโตต่อเนื่อง 47% YoY (vs. +50% เดือนก่อน) ตามการเบิกจ่ายงบประมาณที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลกลาง
- ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นมาที่ 3.0 พันล้านดอลลาร์ฯหนุนจากการขนส่งทองคำ ขณะที่ยอดนำเข้าของไทยยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต เป็นผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดดูดี ทั้งนี้เราได้ปรับประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีนี้ที่ 1.26 หมื่นล้านดอลลาร์ฯหรือ 2.2% ของ GDP
มองไปข้างหน้ากองทุนบัวหลวงคาดว่ามาตรการทางรัฐบาลที่ผ่อนคลายเกณฑ์ให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศสามารถเข้ามาท่องเที่ยวผ่าน Special Tourist Visa จะสามารถพลิกรายได้ท่องเที่ยวกลับขึ้นมาบวกได้ในเดือน ต.ค. เป็นต้นไป ขณะที่รัฐบาลได้ทยอยออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศโดยให้สิทธิภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกันเพิ่มขึ้น น่าจะมีส่วนช่วยประคองธุรกิจท่องเที่ยวได้ส่วนหนึ่ง
สำหรับการใช้จ่ายภายในประเทศนั้น ในช่วงเดือนก.ย.ที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้ออกมาตรการ (ภายใต้วงเงินของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.1 ล้านล้านบาท) 1) ช่วยการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ ด้วยการช่วยชดเชยค่าจ้างให้ส่วนหนึ่ง พร้อมทั้ง, 2)ต่อมาตรการค่าน้ำค่าไฟฟรี ,และได้ 3) อนุมัติมาตรการ “คนละครึ่ง” เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย เราคาดว่ารัฐบาลจะทยอยออกมาตรการเพื่อประคองการบริโภคในประเทศออกมาต่อเนื่องไปถึงปีหน้า