กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

Highlight ประจำไตรมาส 4Q2020

1.โกลบอลเฮลธ์แคร์เป็นธุรกิจซึ่งมี Universe ที่ประกอบไปด้วยบริษัทศักยภาพหลายพันบริษัทกระจายตัวอยู่ใน Sub-industries อาทิ Biotechnology, Medical technology, Healthcare services สร้างโอกาสให้กับ Active fund ในการแสวงหาตัวเลือกที่ดีเลิศ และช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน

2.โกลบอลเฮลธ์แคร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ คือจะต้องลงทุนในบริษัทซึ่งเป็นผู้ชนะในการแข่งขันด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ที่อาศัยทักษะและความเชี่ยวชาญพิเศษ จึงจะสามารถอยู่รอดและสร้างรายได้กลับมาอย่างมหาศาล ดังนั้นการลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเป็น Active Fund เท่านั้นที่ช่วยแสวงหาผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วย

ธุรกิจในกลุ่มนี้มีตัวเลือกของการลงทุนที่กว้างขวางหลายพันบริษัทที่กระจายตัวอยู่ใน Sector ย่อยๆอีกกว่า 10 กลุ่ม แต่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่เข้ามาท้าทาย เช่น สิทธิบัตรยาที่หมดอายุลงของบริษัทยาขนาดใหญ่ การคิดค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไปกับกลุ่มยาที่ใช้ในการบำบัด ประเด็นที่เกี่ยวพันกับกฏระเบียบ ด้วยเหตุผลที่ว่านี้จึงเป็นบรรยากาศการลงทุนที่เหมาะกับ Active Fund ที่จะใช้ทักษะในการเลือกหุ้นซึ่งมีราคาที่ไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐานของกิจการ

3.ปัจจุบันมีประชากรบนโลกมีเพียง 8.5% บนโลกที่มีอายุเกินกว่า 65 ปีแต่อีก 25 ปีข้างหน้าตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 17.0% สร้างความต้องการแท้จริงและกระตุ้นการปฎิรูปโครงสร้างด้านการดูแลสุขภาพให้กับประชากร

กราฟ: The population will continue to age; a structural, predictable demographic trend

4. โกลบอลเฮลธ์แคร์เป็น Growth area ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมที่ว่านี้กว่าจะออกสู่ตลาดได้ต้องผ่านการทดลองในห้องแลปที่มักเรียกกันว่า Clinical trial มาอย่างยาวนานจนได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้าสู่ตลาดโลกในแต่ละปีทำรายได้ให้กับบริษัทผู้ผลิตยาไบโอเทคอย่างมหาศาล อาทิ ยาที่ใช้รักษาโรคที่ยังรักษาไม่หาย (Rare disease) การบำบัดโรคบกพร่องที่ติดตัวมาแต่กำเนิดผ่านการบำบัดยีน (Gene therapy) ฯลฯ

ปัจจุบันมียาที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทดลองในสหรัฐฯอีกจำนวนมากและรอจ่อออกสู่ตลาดอีก 7,262 โมเลกุล แบ่งเป็นมะเร็ง 1,813 โมเลกุล ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด 599 โมเลกุล เบาหวาน 475 โมเลกุล เอชไอวี/เอดส์ 159 โมเลกุล ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน 1,120 โมเลกุล โรคติดเชื้อ 1,256 โมเลกุล โรคสุขภาพจิต 511 โมเลกุล โรคประสาทวิทยา 1,329 โมเลกุล จำนวนโมเลกุลยาที่ว่านี้มีมากกว่า 7,262 โมเลกุลนั้นไม่ได้แตกต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อนมากนัก ซึ่งในตอนนั้นมีจำนวน 7,000 โมเลกุล

Source: Adis R&D Insight Database

เมื่อปีที่แล้วองค์การอาหารและยา หรือ FDA ได้อนุมัติให้ใช้ยากับโรคที่ยังรักษาไม่หายจำนวน 48 โมเลกุล (ปีนี้มี 39 โมเลกุล ส่วนใหญ่เป็นโรคร้ายแรงกลุ่มมะเร็ง) แนวโน้มการอนุมัติยาเพื่อใช้รักษาโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดที่ว่านี้เกิดขึ้นทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น จีน ที่เห็นชัดคือ บริษัทวิจัยยาขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้ก้าวเข้าสู่การแข่งขันด้านการวิจัยค้นคว้ายาใหม่ๆจนครองส่วนแบ่งตลาดจากบริษัทยาขนาดใหญ่ด้วยเหตุผลทางเทคโนโลยีที่การวิเคราะห์ระดับยีนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง

กองทุนหลัก Wellington Global Health Care Equity Portfolio มองว่าในที่สุดบริษัทยาขนาดเมกะแคป 20 อันดับแรกที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งมีฐานะทางการเงินดี สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำและถือครองเงินสดส่วนเกินรวมกันกว่า 170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเผชิญกับภาวะทรัพย์สินทางปัญญาหรือที่เรียกว่าสิทธิบัตรยาถือครองหมดอายุลงในอนาคต จะหันกลับมาแสวงหาสิทธิบัตรจากบริษัทวิจัยยาขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แนวโน้มที่ว่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วในปี ค.ศ. 2019 ในปีดังกล่าวมีดีลควบรวมกิจการเกิดขึ้นกว่า 30 ดีล จำนวน 18 ดีลควบรวมหรือประมาณครึ่งหนึ่ง เป็นดีลที่กองทุนหลักมีฐานะถือครองอยู่

กราฟ แสดงบริษัทวิจัยขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เนื่องจากเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมที่แท้จริง (Emerging Biopharmaceutical) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ พอร์ตของกองทุนหลักเน้นหนักด้านลงทุนในกลุ่มผู้คิดค้นนวัตกรรมที่ว่านี้

Source: Adis R&D Insight Database

5. รายได้ของธุรกิจในกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์ไม่ได้เติบโตขึ้นมาจากฟากอุปสงค์ (demand side) เพียงอย่างเดียวแต่เติบโตจากมูลค่าการใช้จ่ายต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย (per head) เพราะฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นของคนวัยก่อนเกษียณทำให้ค่าการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพต่อหัวหลังจากนั้นเพิ่มขึ้น กล่าวคือเป็นความต้องการใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงการรักษาที่ดีขึ้นจากฐานะการเงินที่ดีขึ้นนั่นเอง

นวัตกรรมทางเทคโนโลยียังคงเป็นหัวใจสร้างคลื่นรายได้ลูกใหม่ให้กับหุ้นกลุ่มนี้ต่อไป เพราะ

1. เฮลธ์แคร์กำลังก้าวเข้าสู่วัฏจักรของนวัตกรรมใหม่ (New Innovation Cycle) อันเป็นผลมาจากการศึกษาจีโนมมนุษย์ต่อเนื่องมายาวนานเกินกว่า 20 ปี จีโนมเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติของมนุษย์ ข้อมูลนี้มีประโยชน์ตรงที่นำไปสู่การบำบัดด้วยยีน (Gene therapy) มีการนำยีนไปผลิตโปรตีนรักษาโรคเช่น โรคมะเร็ง บาดแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย  และนำไปสู่วิธีการตรวจ การผลิตวัคซีนใหม่ๆ สำหรับโรคที่ไม่เคยรักษาได้มาก่อน เช่น

1.1 เทคนิคตรวจหามะเร็งระยะแรกจากเลือด (Liquid Biopsy) เทคโนโลยีใหม่ของการพยายามตรวจวินิจฉัยโรคจากตัวอย่างเลือดแทนการตรวจด้วยตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อแบบเก่าเพื่อหาความผิดปกติที่บ่งชึ้ถีงโรคมะเร็ง

1.2 เทคนิคโปรตีโอมิกส์ (Proteomic Technology) เป็นเทคนิคสำคัญต่อการศึกษางานด้านโปรตีนการแสดงออกของโปรตีน การระบุชนิดและขนาดของโปรตีน การค้นหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพผ่านกระบวนการ ionization สามารถวิเคราะห์โดยใช้ตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยๆในระดับเฟมโตโมล ด้วยเทคนิคแมสสเปกโทรเมทรี นำไปสู่การรักษาโรคที่ในอดีตไม่เคยรักษาให้หายได้

1.3 ควอนตัมบำบัด (Quantum treatment) เป็นการใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นความถี่ต่ำ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และปรับอวัยวะให้มีการต่อต้านระบบการทำงานที่ไม่ปกติ

2. นวัตกรรมทางไบโอเทคโนโลยีมีการก้าวกระโดด

2.1 Adoptive T-cell Therapy เป็นการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีอยู่จำนวน 80% ทำหน้าที่สร้างเซลล์เพื่อฆ่าเชื้อโรค ด้วยวิธี Chimeric Antigen Receptor T cell (CAR-T Therapy) เป็นการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดและแบบเซลล์บำบัดที่มีประสิทธิภาพสูงและให้ผลดีมากโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานที่มีอยู่ในขณะนี้  ปัจจุบันการรักษาได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯอเมริกา (FDA) และมีอยู่ 2 ชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้จัดจำหน่าย ได้แก่ Kymriah จาก Novartis และ Yescarta จาก Kite Pharma แต่ราคายาสูงกว่า 15 ล้านบาท

2.2 ยีนบำบัด (Gene Therapy) เป็นการนำยีนปกติอีกชุดหนึ่งใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคที่ยีนผิดปกติทางพันธุกรรมผ่านการปฏิบัติการเพียงครั้งเดียว เช่น การเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง การเพิ่มปริมาณของหลอดเลือดในกล้ามเนื้อ

2.3 การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2019 องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุมัติให้สามารถขายยา Zolgensma (โซลเจนส์มา) ที่ใช้สำหรับรักษาโรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) ซึ่งมีราคาเข็มละกว่า 2 ล้านเหรียญฯ (ราว 68 ล้านบาท)

Source: Cure SMA website (https://www.curesma.org/)

2.4 เทคนิคการตัดแต่งพันธุกรรม  {CRISPR (Clustered Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats)} แพทย์สามารถตัดต่อหน่วยพันธุกรรมที่ต้องการและในตำแหน่งที่จำเพาะเพื่อใช้แก้ไขความผิดปกติทางพันธุกรรม หมายความว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมจะสามารถรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้โดยอาจมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) และมีแนวโน้มว่าอาจจะประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ด้วย รวมไปถึงต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ

กราฟ : Gene Editing, left, Is a potentially disruptive tools. Exploding innovation, right, new ways of treating disease

มุมมองต่อปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุนและสร้างความผันผวนต่อหุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์ ได้แก่

รายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Wellington Global Healthcare Equity Fund

กลยุทธ์ของ Wellington Global Health Care Equity Portfolio

เน้นการเติบโตของเงินลงทุนผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านเฮลธ์แคร์ ด้วยการลงทุนที่หลากหลายทั้งในธุรกิจย่อย (Sub-Sector) มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ลงทุน และภูมิภาคต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Wellington Global Health Care Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน Class S (Accum-USD)

วัตถุประสงค์การลงทุน: แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ทั่วโลก

Investment style: – คัดสรรหุ้นรายตัวแบบ Bottom up ด้วยปัจจัยพื้นฐาน- เน้นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการแข็งแกร่ง

วันจดทะเบียน: October 2003

ประเทศที่จดทะเบียน: ไอร์แลนด์

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI World Healthcare Net

Morningstar Category: Large cap growth

Bloomberg (A): WGHCEPA ID

Fund Size: USD 3.6 billion as of October 2020

NAV: USD 74.75 as of October 2020

Number of equity names: 142 as of October 2020

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล 30 ตุลาคม 2020)

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต